ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถมอเตอร์ไซค์ใหม่
  • รถมอเตอร์ไซค์ใหม่
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • เจาะลึกฟีเจอร์เด็ดรถ Honda CRF250R ตัวแข่งวิบากตั้งแต่เกิด!

    17 เม.ย. 64 3,061

    เจาะลึกฟีเจอร์เด็ดรถ Honda CRF250R ตัวแข่งวิบากตั้งแต่เกิด!

    Honda CRF250R รถมอเตอร์ไซค์เพื่อใช้ในการแข่งจากโรงงานจักรยานยนต์ฮอนด้า ที่บรรดานักแข่งรถสไตล์ "วิบาก" หรือ "ออฟโรด" ต่างนิยมใช้ ด้วยสเปคที่สุดยอดและสมรรถนะที่แทบไม่ต้องปรับแต่งเพิ่มเติมมากนัก ก็สามารถนำไปสู้ศึกการแข่งขันได้อย่างสบายๆ 

    Honda CRF มีรุ่นอะไรบ้าง?


    Honda CRF250R
    ก่อนอื่นในบรรดารถโมตาดหรือวิบากของ Honda ที่เป็นใส่ยาง ตุ่ม หนาม ในพิกัด 250 ซีซี ที่จำหน่ายอยู่ในประเทศไทยนั้น มี 3 โมเดลคือ CRF250L ราคา 134,600 บาท CRF250Rally ราคา 164,000 บาท และ CRF250Rally H2C ราคา 184,000 บาท ทั้ง 3 รุ่นนี้ผลิตในประเทศไทยและ CRF250R ราคา 275,000 บาท ซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น  ด้วยการออกแบบชิ้นส่วนต่างๆ ใหม่เพิ่มขึ้น จากหลักการเดียวกับสุดยอดโมโตครอสรุ่นพี่อย่าง CRF450R   

    Honda CRF250L

    Honda CRF250 Rally
    สำหรับเครื่องยนต์นั้น CRF รุ่นที่ประกอบในประเทศหรือต่อท้ายด้วย "L" จะใช้เครื่องยนต์พื้นฐานเดียวกันคือ เครื่องยนต์ 249 ซีซี DOHC ความกว้างกระบอกสูบ x ช่วงชัก 76.0 X 55.0 มิลลิเมตร กำลังอัดที่ 10.7 : 1 ระบายความร้อนด้วยน้ำ ระบบหัวฉีด PGM-FI ความจุน้ำมัน 7.8 ลิตร ความสูง 211 มิลลิเมตร น้ำหนัก 143 กิโลกรัม 

    Honda CRF250R

    CRF250R ฝาสูบแบบ Dual Ports 

    ทางด้าน CRF250R มาพร้อมเครื่องยนต์ใหม่พื้นฐานจาก CRF250R แบบ 1 สูบ 4 จังหวะ 249 ซีซี ความกว้างกระบอกสูบ x ช่วงชัก 79 X 50.9 มิลลิเมตร กำลังอัดที่ 13.9 : 1 แต่ปรับปรุงระบบฝาสูบใหม่ ออกแบบ Dual-overhead camshaft, พอร์ตไอเสียคู่และขนาด Oversquare เพิ่มเติม 
    โดยระบบฝากสูบที่ใช้กระเดื่องกดวาล์วแบบ Diamond Alco Coating (DLC) วาล์วสปริงเกลียวของลิ้นและวาล์วไอเสียมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีองศาหรือลิฟต์ที่สูงขึ้น และแคบกว่าตัววาล์วสปริงมีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้เครื่องยนต์มีความสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
    เครื่องยนต์มีมิติ oversquare มากขึ้น และเพิ่มกระบอกสูบ เพิ่มช่องคายไอเสียแบบ Twin exhaust ports หรือมีท่อไอเสียที่ออกจากห้องเผาไหม้ 2 รูนั่นเอง ซึ่งระบบท่อไอเสียนี้ได้รับการออกแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดมีช่องระบายความร้อนคู่ ถังน้ำมันไทเทเนี่ยม โครงสร้างตัวถังอะลูมิเนียมน้ำหนักเบา มอเตอร์สตาร์ทใช้ไฟจาก lithium-iron ความจุน้ำมัน 6.3 ลิตร ความสูง 327 มิลลิเมตร น้ำหนัก 108 กิโลกรัม

    จุดเด่น CRF250R คืออะไร?

    Honda CRF250R ตัวรถใช้โครงสร้างแบบเดียวกับรุ่น CRF450R น้ำหนักเบา ระยะฐานล้อที่สั้นช่วยในการควบคุมรถได้ดีทุกโค้ง ระบบโช๊คจาก Showa ด้านหน้าขนาด 49 มม. นุ่มขึ้นช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้ดี พร้อมกับลวดลายกราฟิกใหม่ และใช้ขนาดล้อหน้า 80/100-21 และหลัง 100/90-19 เป็นมาตรฐาน 
    จะเห็นว่ารุ่นนี้ไม่มีระบบส่องสว่างและเรือนไมล์หรืออุปกรณ์ขับขี่ใดๆ ที่ใช้งานในชีวิตประจำวันเลย และรุ่นนี้เป็นรถที่นำเข้าและถูกระบุว่า "ใช้เพื่อการแข่งขันเท่านั้น" โดยหมายเลขตัวถังและเครื่องยนต์จะระบุเอาไว้ในทะเบียนกลางของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งไม่สามารถนำมาติดตั้งชุดไฟหน้า-ไฟท้าย กระจกข้างเพื่อขับขี่ทั่วไปได้ เพราะไม่สามารถจดทะเบียนได้เช่นกันครับ เกิดมาใช้แข่งเพียงอย่างเดียว 

    เพิ่มเทคนิคให้ตัวแข่งที่หลายคนยังไม่รู้!

    สำหรับ CRF250R คันนี้เป็นรถแข่ง ในส่วนอุปกรณ์เดิมๆ ติดรถ CRF250R นั้นก็นับว่าเยอะและครบถ้วนแล้ว แต่สำหรับการแข่งขันนั้น อาจต้องมีเพิ่มเติมกันบ้าง อย่างรถคันนี้เป็นของนักแข่งระดับประเทศไทยรายการ FMSCT Thailand Supercross "แซ้งค์-กฤษดา จำรูญจารีต" เบอร์17 ของทีม Honda IRC DID เตชะมาครอสเซอร์กิต อนันต์ยนต์ ที่เพิ่มอุปกรณ์เพื่อช่วยในการขับขี่ที่ดีขึ้น 
    อุปกรณ์ที่ติดรถจากโรงงานเดิมๆ  นั้น ก็นับว่าพอใช้ลงแข่งได้แล้ว เช่น การ์ดมือ, การ์ดโช๊คอัพหน้า, การ์ดดิสก์หน้า-หลัง เป็นต้น    

    ที่เห็นเป็นตุ่มๆ คือ ที่ติดตั้งชุดโหลดหน้า 
    เริ่มที่การ์ดของโช๊คอัพหน้าติดตั้งชุดบล็อคความสูงให้ต่ำลง เพื่อให้ชดเชยอาการ "หน้ายก" เมื่อเริ่มออกตัว" เพื่อไม่ให้หน้ายกสูงเกินไปทำให้ควบคุมรถยากขึ้น และเมื่อรถจั้มเนินแรกก็จะปลดล็อคเองอัตโนมัติ ต่อกันที่ชุดสลิงกันแป้นเบรคดึงกลับเกินระดับที่กำหนด มีไว้ช่วยดึงแป้นเบรคให้เข้าที่เดิมหากเกิดการกระแทก เพื่อให้ตำแหน่งวางเท้าในกลับที่เดิมเป็นการช่วยป้องกันการต้อง "ควานหา" แป้นเบรคว่าหายไปไหนหนอ? 

    สลิงดึงแป้นเบรคให้กลับตำแหน่งเดิม

    สวิตช์เลือกโหลดการขับขี่
    ถัดมาบนแฮนด์บาร์ฝั่งซ้ายมีสวิตช์เลือกโหมดการขับขี่คือ Sport, Normal และ Gravel เป็นต้น (ชื่อเรียกแต่ละโหมดอาจเปลี่ยนแปลงได้) เพื่อปรับแต่งกำลังเครื่องยนต์ โดยในการแข่งขันมักจะมีสภาพเส้นทางแตกต่างกันในระหว่างการแข่งขันรายการเดียวกัน ดังนั้น นักแข่งจะต้องวางแผนในการใช้โหมดให้ถูกต้อง เช่น หากต้องการนำขึ้นหน้าก็ใช้โหมด "Sport" ยิงยาว ๆ จนเมื่อนำห่างแล้วก็อาจปรับเป็น "Normal" เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนจัดเกินไปอาจ "ฮิตและน็อค" ก่อนเข้าเส้นได้

    ท่อ YOSHIMURA ของเทพต้องมี! 

    ปลายท่อคู่แบบคาร์บอน

    มีท่อออกจากฝาสูบคู่นะจ๊ะรุ่นนี้

    สายหัวเทียนอาจไม่เดิมแล้วล่ะ
    มาถึงการปรับแต่งสมรรถนะเครื่องยนต์เริ่มที่ชุดท่อสวยเก๋ แต่มีประสิทธิภาพสูงจาก "YASHIMURA" ของแต่งคู่บุญฮอนด้าแบบท่อคู่ พร้อมปล่อยแบบคาร์บอน ทั้งสวยทั้งแรง  
    สำหรับยางใช้หน้า-หลังคนละแบบ ด้านหน้าเป็นยางตุ่มแบบเรียงแถวไม่เท่ากัน เพื่อให้สามารถเจาะผิวถนนที่เป็นโคลนทรายหรือดินให้ควบคุมทิศทางได้ดี และยางหลังแบบตุ่มกลางเรียงแถวเพื่อใช้ในการ "ตะกุย" ไปข้างหน้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบของการใช้ยางนั้นจะปรับเปลี่ยนตามสภาพการแข่งขัน
    ใครชอบ CRF250R อาจต้องสั่งซื้อเฉพาะนำไปใช้ในการแข่งขันเท่านั้นนะครับ ส่วนถ้าอยากขี่เท่ๆ บนท้องถนนต้องไปที่ตระกูล CRF250L หรือข้ามไป CRF 1000L Africa Twin ในราคา 5 แสนกว่าบาท บิดมันติดมือแน่นอนครับ
    • สินธนุ จำปีศรี
    • สินธนุ จำปีศรี
      Motorbike GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)