ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถมอเตอร์ไซค์ใหม่
  • รถมอเตอร์ไซค์ใหม่
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • หมวกกันน็อคแบบไหนใช้ได้ แบบไหนอาจโดนจับ

    27 ต.ค. 59 41,928

    หมวกกันน็อคแบบไหนใช้ได้ แบบไหนอาจโดนจับ

    "หมวกนิรภัย" หรือที่เรียกติดปากกันว่า"หมวกกันน็อค" มีหลากรูปแบบหลายราคา ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป แต่การขับขี่รถจักรยานยนต์นั้น จำเป็นต้องสวมใส่หมวกกันน็อคทุกครั้งทั้งคนขี่และซ้อนท้าย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหมวกกันน็อคที่เราเสียเงินซื้อมานั้น แบบไหนใช้ได้ แบบไหนถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัย และถูกต้องตามกฏหมายหรือแม้แต่ส่วนของกระจกบังลมหน้าควรจะมีลักษณะอย่างไรถึงจะถูกต้อง มาดูกันว่าหมวกกันน็อคที่เราใช้กันอยู่นั้นถูกต้องครบตามระเบียบของข้อกฏหมายหรือไม่ครับ

    หมวกกันน็อค 

    "หมวกนิรภัย" หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า "หมวกกันน็อค" ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มีรายละเอียดดังนี้
    ม.122 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่ และโดยสารรถจักรยานยนต์ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามวรรคหนึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์มิให้สวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายลักษณะและวิธีการใช้หมวกกันน็อกเพื่อป้องกันอันตรายตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงโทษ ม.148 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ม.122 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 
    *เพิ่มเติม ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยมีผู้โดยสารนั่งซ้อนท้าย หากผู้โดยสารไม่ได้สวมหมวกกันน็อค (มาตรา 122 วรรค 2) ระวางโทษปรับเป็น 2 เท่า (ไม่เกิน 500x2)  กรณีรถจักรยานยนต์รับจ้างก็เข้าข่ายความผิดนี้ หากฝ่าฝืนปรับผู้ขับขี่ไม่เกิน 1,000 บาท  
    ***กฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.รบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522
    ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
    "หมวกนิรภัย" หมายความว่า หมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์
    "หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า" หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง ใน "กรณีที่มีบังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี"
    "หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ" หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปครึ่งวงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอระดับหู ใน  "กรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี"                                    
    ข้อ 2 หมวกนิรภัยให้ใช้ได้ทั้งสามแบบ คือ "หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ และหมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ"
    ในกรณีที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว หมวกนิรภัยแบบใดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว หมวกนิรภัยที่จะใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
    ข้อ 3 ในขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่และคนโดยสารต้องสวมหมวกนิรภัยโดยจะต้องรัดคางด้วยสายรัดคางหรือเข็มขัดรัดคางให้แน่นพอที่จะป้องกันมิให้หมวกนิรภัยหลุดจากศีรษะได้หากเกิดอุบัติเหตุ
    พรบ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2535 โดยมีพระราชกฤษฏีกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้ยานพาหนะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2539
    ม.20 ผู้ผลิตต้องแสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ฝ่าผืน ต้องระวางโทษไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ม.48
    ม.35 ผู้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับมาตรฐาน ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ม.54(2) ม.36 ผู้โฆษณา จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยรู้ว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ฝ่าผืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า

    หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ

    หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ
    สรุปแล้ว ตามหลักกฎหมายข้างต้นก็คือ ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัย (หมวกกันน็อค) และหมวกนิรภัยต้องได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และสามารถใส่หมวกได้ 3 แบบนั่นคือ
    1. หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า
    2. หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ
    3. หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ
    แต่! กระจกบังลมที่ปิดหน้าต้องเป็นวัสดุชนิด "โปร่งใส และ ไม่มีสี"  
    ชัดเจนนะครับว่าการใส่หมวกกันน็อคนั้นมีรายละเอียดที่กำหนดเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ดังนั้นถ้าไม่อยากเสียเวลาถูกจับและปรับล่ะก็ ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการเดินทางนะครับ 

    หนูยังใส่เลยค่ะ แต่จะให้ป๊ะป๋าเปลี่ยนเป็นกระจกใสๆ นะคะ
    อย่างไรก็ตามประเทศไทยเป็นเมืองร้อน (มาก) และแดดแรงสุดๆ บางครั้งการใส่หมวกที่มีกระจกใสปิ๊ง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหน้าได้ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ควรเลือกติดฟิล์มกรองแสง "ชนิดใส" ซึ่งกันความร้อนได้ไม่แพ้แบบเข้มๆ เลยนะครับ อาจเพิ่มเงินอีกสักหน่อย แต่ได้ความมั่นใจ และความปลอดภัยที่มากขึ้นครับ

    ดูที่หมวก... กระจกทึบอาจจะผิดนะครับ...

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    บทความล่าสุดอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)