ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
  • บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • รู้หรือไม่? จ่ายภาษีด้วย "บัตรเครดิต MasterCard" ไม่ต้องจ่ายเงินสด แถมได้แต้มสะสม.. หนึ่งเดียวในตลาดที่ได้แบบนี้

    16 ก.ย. 62 14,959

    จ่ายภาษีด้วย "บัตรเครดิต MasterCard" ไม่ต้องจ่ายเงินสด แถมได้แต้มสะสมอีก.. หนึ่งเดียวในตลาดที่ได้แบบนี้

    ฤดูการจ่ายภาษี เวียนกลับมาอีกแล้วค่ะ.. ต้นปีอย่างนี้ก็เป็นเวลาที่พวกเราประชาชนมดงานจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และ 91 เพื่อชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันอีกแล้ว ใครที่ปีที่แล้ววางแผนมาดี ก็อาจจะรอดตัว ไม่ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมกัน แต่ถ้าหากใครที่ต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม สำหรับปีภาษี 2561 วันนี้เราก็มีวิธีการชำระดีๆ มาแบ่งปันกันค่ะ
    (ดูขั้นตอนการยื่นแบบฯ ออนไลน์ ไม่ยากอย่างที่คิด คลิกเลย!)

    (คลิกเพื่อดูภาพขยาย)

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.rd.go.th
    ในปีนี้ กรมสรรพากรเปิดให้มีการชำระภาษีแบบผ่อนรายงวด จำนวน 3 งวดเท่าๆ กัน โดยไม่เสียดอกเบี้ย ดังนี้
    • งวดที่ 1 ต้องชำระภายในวันที่ 9 เมษายน 2562
    • งวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 และ
    • งวดที่ 3 ชำระภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2562 
    สามารถเลือกจ่ายภาษีที่ไหนได้บ้าง?
    วิธีการชำระภาษีก็มีมากมายหลายแบบให้เราเลือก ทั้งการชำระที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่กรมสรรพากรกำหนด (แต่หากท่านเลือกชำระที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในงวดที่ 1 หรือ งวดที่ 2 แล้ว การชำระเงินงวดต่อๆ ไปก็จะต้องชำระที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเท่านั้น ไม่สามารถชำระด้วยวิธีการอื่นๆ ได้แล้วค่ะ) การชำระด้วยเงินสดหรือเช็คผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส ซึ่งจะมีค่าบริการที่แตกต่างกันออกไป
    โดยปกติถ้าเราต้องการชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต เราก็ต้องเสียเวลาเดินทางไปจ่ายกันถึงสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เท่านั้นยังไม่พอ! เพราะการชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เรายังต้องโดนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตประมาณร้อยละ 0.9 อีกด้วย
    แต่ในวันนี้ เราจะมาแนะนำวิธีการชำระภาษีบุคคลธรรมดาง่ายๆ ได้ด้วยบัตรเครดิต ไม่ต้องเสียเวลาไปจ่ายกันถึงสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม นั่นก็คือ การชำระภาษีผ่าน Application "EasyBills" ค่ะ
    การชำระภาษีด้วยบัตรเครดิตผ่าน EasyBills สามารถทำได้ยังไงบ้าง?
    การชำระภาษีผ่าน EasyBills สามารถชำระได้ครั้งละไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้น หากเราแบ่งชำระภาษีเป็น 3 งวด ยอดภาษีที่สามารถชำระผ่าน EasyBills ได้สูงสุด คือ 300,000 บาท โดย EasyBills จะคิดค่าบริการในการชำระ 6 บาทต่อครั้ง ซึ่งในปัจจุบันการชำระภาษีผ่าน EasyBills สามารถใช้ได้เฉพาะบัตรเครดิต MasterCard
    บัตรเครดิต MasterCard ใบไหนบ้าง? ที่สามารถใช้ชำระภาษีได้ และยังได้รับคะแนนสะสม
    บัตร MasterCard ที่ใช้ชำระภาษีและสามารถสะสมแต้มได้ตามปกติ และยังสามารถนับยอดชำระภาษีเป็นยอดใช้จ่ายตามโปรโมชั่นของธนาคารในช่วงนั้นๆ คือ บัตร MasterCard ที่ออกโดย
    • ธนาคารซิตี้แบงก์ (Citi Credit Card)
    • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (Thanachart Credit Card)
    • บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด (Central The 1 Credit Card)
    ได้ทราบเทคนิคดีๆ สำหรับการชำระภาษีกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็สบายใจ ชำระภาษีเพื่อไปพัฒนาประเทศของเรากันได้แล้วนะคะ
    Note: Application EasyBills สามารถดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้! ทั้งบนระบบ iOS และ Android
     

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    • ภาวิณี ภัทรธารวณิชย์ (นักเขียนอิสระ)
    • ภาวิณี ภัทรธารวณิชย์ (นักเขียนอิสระ)
      MONEY GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สมัครออนไลน์

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)