ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
  • บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • เลือกสมัคร "บัตรเดบิตมีประกัน (Insurance Debit Card)" คุ้มมั้ย?... ถามใจดู

    7 มิ.ย. 61 19,844

    เลือกสมัคร "บัตรเดบิตมีประกัน (Insurance Debit Card)" คุ้มมั้ย?... ถามใจดู

    หลายๆ คนคงทราบกันดีว่า.. ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายในเรื่องของการลดอัตราการใช้เงินสด เพิ่มการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น และบัตรฯ ดังกล่าวที่เราจะมาพูดถึงนั้นไม่ใช่บัตรเครดิต แต่เป็น "บัตรเดบิต" ซึ่งสามารถสมัครได้ง่ายกว่าบัตรเครดิตอย่างแน่นอน และมีการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่การใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตนั้นจะทำการหักเงินออกจากบัญชีที่ผูกกับบัตรทันที และก่อนที่จะสมัครบัตรเดบิตได้นั้น จะต้องทำการเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ก่อน สิทธิพิเศษเพิ่มเติมของบัตรเดบิตที่จะนำมาพูดคุยก็คือ บัตรเดบิตแบบมีประกัน พ่วงด้วยค่ะ สำหรับบางคนอาจคิดว่าไม่จำเป็นสักเท่าไหร่ เพราะบริษัทที่ทำงานอยู่มีประกันให้อยู่แล้ว.. แต่สำหรับคนที่ประกอบอาชีพอิสระ ทำมาค้าขาย ไม่ได้ทำงานประจำก็อาจไม่มีประกันอุบัติเหตุที่ว่านี้ก็ได้ เราจึงทำการรวบรวมบัตรเดบิตแบบมีความคุ้มครองดังกล่าวของทุกธนาคารที่มีอยู่ในไทยมาให้ลองเลือกชมกัน บัตรไหนให้ความคุ้มครองเท่าไหร่ ค่าธรรมเนียมจะแพงมั้ย ไปดูกันเลย ^^
    (สนใจดูบทความเพิ่มเติม : ฉลาดเลือก "บัตรเดบิต" เลือกยังไงดี? แบงค์ไหนดี?)
    ตารางรวม "บัตรเดบิตแบบมีประกันอุบัติเหตุ" ของทุกธนาคารในไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 7 มิ.ย. 61)
    ธนาคาร บัตรเดบิต ความคุ้มครองชีวิต* เบิกค่ารักษาพยาบาล** เงินชดเชย
    รายได้***
    ค่าธรรมเนียม

    กรุงเทพ

    บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท
    ทีพีเอ็น แรบบิท ศิริราช
    วงเงินสูงสุด 200,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง ไม่มี 
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 599 บาท/ปี

    กรุงไทย

    บัตรเดบิตกรุงไทย ช้อปสมาร์ท พาลาเดียม
    วงเงินสูงสุด 500,000 บาท (ในประเทศ) และ
    วงเงินสูงสุด 1,000,000 บาท (ต่างประเทศ)
    วงเงินสูงสุด 20,000 บาท/ครั้ง ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 1,599 บาท/ปี

    บัตรเดบิตกรุงไทย ช้อปสมาร์ท บลูไดมอนด์ เอ็กซ์ตร้า
    วงเงินสูงสุด 200,000 บาท วงเงินสูงสุด 10,000 บาท/ครั้ง วงเงิน 10,000 บาท เมื่อเข้าพักรักษาตัวติดต่อกันมากกว่า 4 วันขึ้นไป
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 999 บาท/ปี

    บัตรเดบิตกรุงไทย ช้อปสมาร์ท เพิร์ล
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 599 บาท/ปี

    บัตรเดบิตกรุงไทย ช้อปสมาร์ท คริสตัล เอ็กซ์ตร้า
    วงเงินสูงสุด 50,000 บาท ไม่มี วงเงินสูงสุด 300 บาท/วัน
    (สูงสุด 365 วัน)
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 399 บาท/ปี

    กรุงศรี

    บัตรกรุงศรี เดบิต OPD
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง
    และค่ารักษาพยาบาลแบบ OPD สูงสุด 1,000 บาท/ครั้ง
    ไม่มี
    • ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า
    • ออกบัตรทดแทน 150 บาท/บัตร
    • รายปี 3,999 บาท/ปี

    บัตรกรุงศรี เดบิต พร้อม
    วงเงินสูงสุด 300,000 บาท  วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง ไม่มี 
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 150 บาท/บัตร
    • รายปี 599 บาท/ปี

    กสิกรไทย

    บัตรเดบิต K-Max Plus
    วงเงินสูงสุด 200,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง วงเงินสูงสุด 300 บาท/วัน
    (สูงสุด 30 วัน)
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 150 บาท/บัตร
    • รายปี 650 บาท/ปี

    บัตรเดบิต K-Max Plus DUCATI
    วงเงินสูงสุด 200,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง วงเงินสูงสุด 300 บาท/วัน
    (สูงสุด 30 วัน)
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 250 บาท/บัตร
    • รายปี 650 บาท/ปี

    เกียรตินาคิน

    บัตรเดบิต KK Maxi Card
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท ไม่มี ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 299 บาท/ปี

    บัตรเดบิต KK Trust Card
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 599 บาท/ปี

    บัตรเดบิต KK Protect Card
    วงเงินสูงสุด 250,000 บาท วงเงินสูงสุด 10,000 บาท/ครั้ง วงเงินสูงสุด 400 บาท/วัน
    (สูงสุด 50 วัน)
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 999 บาท/ปี

    ซีไอเอ็มบี ไทย

    บัตรเดบิต ซีไอเอ็มบี ไทย
    เจ็บไม่ต้องจ่าย
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 10,000 บาท/ครั้ง ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 529 บาท/ปี

    ไทยพาณิชย์

    บัตรเดบิต เอส สมาร์ท พลัส
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 599 บาท/ปี

    บัตรเดบิต เอส สมาร์ทเอ็กซ์ตร้า พลัส
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง  กรณีรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) สูงสุด 30 วัน/ครั้ง และ 90 วัน/ปี
    • อันมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ วันละ 500 บาท ทั้งแบบผู้ป่วยปกติและผู้ป่วยหนัก
    • อันมีสาเหตุจากการเจ็บป่วย วันละ 500 บาท ทั้งแบบผู้ป่วยปกติและผู้ป่วยหนัก
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 999 บาท/ปี

    บัตรเดบิต เอส สมาร์ท ซูเปอร์ พลัส
    วงเงินสูงสุด 300,000 บาท วงเงินสูงสุด 10,000 บาท/ครั้ง กรณีรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) สูงสุด 30 วัน/ครั้ง และ 90 วัน/ปี อันมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ
    • แบบผู้ป่วยปกติ วันละ 1,000 บาท
    • แบบผู้ป่วยหนัก วันละ 2,000 บาท
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 1,599 บาท/ปี

    บัตรเอ็กซ์ตร้า เดบิต พลัส
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง วงเงินสูงสุด 500 บาท/ วัน
    (สูงสุด 30 วัน/ครั้ง และ 90 วัน/ปี)
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 999 บาท/ปี

    บัตรซูเปอร์เดบิต พลัส
    วงเงินสูงสุด 300,000 บาท วงเงินสูงสุด 10,000 บาท/ครั้ง กรณีรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) สูงสุด 30 วัน/ครั้ง และ 90 วัน/ปี อันมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ
    • แบบผู้ป่วยปกติ วันละ 1,000 บาท
    • แบบผู้ป่วยหนัก วันละ 2,000 บาท
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 1,599 บาท/ปี

    บัตรเดบิต พลัส
     วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 599 บาท/ปี

    บัตรเดบิต SCB Minions Plus
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 799 บาท/ปี

    บัตรเดบิต SCB Minions Super Plus
    วงเงินสูงสุด 400,000 บาท วงเงินสูงสุด 20,000 บาท/ครั้ง  ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 1,599 บาท/ปี

    ธนชาต

    บัตรเดบิตชัวร์
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 299 - 549 บาท/ปี

    ยูโอบี

    บัตรเดบิต ยูโอบี ดีไฟน์
    วงเงินสูงสุด 500,000 บาท  วงเงินสูงสุด 30,000 บาท/ครั้ง ไม่มี
    • ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า
    • รายปี 1,699 บาท/ปี


    บัตรเดบิต ยูโอบี วีแคร์
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 10,000 บาท/ครั้ง  ไม่มี
    • ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า
    • รายปี 699 บาท/ปี


    บัตรเดบิต ยูโอบี วีแคร์ เอ็กซ์ตร้า
    วงเงินสูงสุด 500,000 บาท  วงเงินสูงสุด 30,000 บาท/ครั้ง ไม่มี 
    • ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า
    • รายปี 1,599 บาท/ปี


    บัตรเดบิต ยูโอบี วีแคร์ อันลิมิต
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท วงเงินสูงสุด 10,000 บาท ไม่มี
    • ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า
    • รายปี 799 บาท/ปี


    บัตรเดบิต ยูโอบีวีแคร์
    เอ็กซ์ตร้า อันลิมิต
    วงเงินสูงสุด 500,000 บาท  วงเงินสูงสุด 30,000 บาท ไม่มี 
    • ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า
    • รายปี 1,699 บาท/ปี

    แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

    บัตร LH Bank Premium
    วงเงินสูงสุด 300,000 บาท  วงเงินสูงสุด 10,000 บาท/ครั้ง ไม่มี 
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 600 บาท/ปี

    ออมสิน

    บัตรออมสิน เดบิต แอคซิเดนท์
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท ไม่มี ไม่มี 
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 400 บาท/ปี

    บัตรออมสิน เดบิต สมาร์ท แคร์
    วงเงินสูงสุด 100,000 บาท  วงเงินสูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง วงเงินสูงสุด 500 บาท/วัน
    (สูงสุด 7 วัน/ปี)
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 599 บาท/ปี

    บัตรออมสิน วีซ่า เดบิต สมาร์ท ไลฟ์
    วงเงินสูงสุด 500,000 บาท วงเงินสูงสุด 20,000 บาท/ครั้ง ไม่มี
    • แรกเข้าและออกบัตรทดแทน 100 บาท/บัตร
    • รายปี 999 บาท/ปี 
    หมายเหตุ
    • *ความคุ้มครองชีวิต หมายถึง ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตุ ซึ่งประกอบไปด้วย
      - อุบัติเหตุทั่วไป
      -การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
      - การถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย
    • **การเบิกค่ารักษาค่าพยาบาล ต้องเป็นการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติเหตุทั่วไป รวมถึงการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ และการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย โดยเป็นวงเงินในการเบิกต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
    • ***เงินชดเชยรายได้ (รายวัน) จะได้รับในกรณีที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (IPD) หรือผู้ป่วยนอก (OPD) เท่านั้น ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร
    • เงื่อนไขในการสมัครบัตรเดบิต หรือรับบริการความคุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร และเงื่อนไขของบริษัทประกันที่ร่วมกับแต่ละธนาคารเจ้าของบัตรเดบิตนั้นๆ โปรดศึกษาและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจสมัครทุกครั้ง
    สรุปความคุ้มค่า คุ้มราคาของ "บัตรเดบิตแบบมีประกันอุบัติเหตุ"
    ข้อเด่น
    • มีวงเงินคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นความคุ้มครองที่รับประกันโดยบริษัทประกันชั้นนำและเชื่อถือได้
    • หากกรณีเกิดอุบัติเหตุ ก็สามารถเข้าทำการรักษาได้ที่โรงพยาบาลคู่สัญญาในเครือข่ายที่ค่อนข้างครอบคลุม โดยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายภายในวงเงินที่ได้รับการรับประกันจากบัตรเดบิตแต่ละประเภท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
    • และหากจำเป็นต้องสำรองเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน ก็สามารถนำใบเสร็จรับเงินและเอกสารตามเงื่อนไขที่กำหนด ไปเบิกค่ารักษาพยาบาลคืนได้ภายใน 7 วันทำการหลังจากบริษัทฯ ได้รับเอกสารครบถ้วน
    • บางบัตรเดบิตมีค่าชดเชยรายได้กรณีที่เราต้องทำการ admit ที่โรงพยาบาล ทำให้ไม่ต้องสูญเสียรายได้ไปฟรีๆ หากไม่ได้ทำงานในวันนั้นๆ
    • จะได้รับความคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก
    ข้อด้อย
    • มีราคาค่าธรรมเนียมรายปีที่แพงกว่าบัตรเดบิตธรรมดา ซึ่งในบางครั้งผู้ถือบัตรอาจมองว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีรวมกับค่าเบี้ยประกันไปในตัว
    • เงื่อนไขในการรับประกันของบางธนาคาร อาจทำให้ผู้ถือบัตรสับสนหรือไม่เข้าใจในสิทธิความคุ้มครอง ว่าเป็นเพียงความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่รวมการเจ็บป่วยทั่วไป อาจเป็นเพราะพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ธนาคารบางคนไม่อธิบายให้ผู้ถือบัตรเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนสมัครบัตรเดบิตแบบพ่วงประกัน
    • การเลือกเคลมประกันอุบัติเหตุต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สามารถเคลมได้ทั้งหมดของประกันที่มี จึงขอแนะนำให้สมัครบัตรเดบิตแบบมีประกันในกรณีที่ไม่เคยทำประกันอุบัติเหตุเลย ยกตัวอย่างเช่น
      - ในกรณีที่ นางสาว ก. มีประกันสุขภาพของบูพา ซึ่งมีความคุ้มครองอุบัติเหตุรวมอยู่ นางสาว ก. ก็ไม่จำเป็นต้องสมัครบัตรเดบิตแบบมีประกันอุบัติเหตุ เพราะถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น นางสาว ก. สามารถเลือกใช้สิทธิ์ได้เพียง 1 สิทธิ์เท่านั้น
    • ความคุ้มครองเป็นแบบปีต่อปี และการเก็บค่าเบี้ยประกันจะเก็บรวมกับค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเดบิตโดยหักเงินจากบัญชีที่ผูกกับบัตรอัตโนมัติ ถ้าหากเงินในบัญชีคงเหลือไม่เพียงพอกับค่าธรรมเนียม และเมื่อไม่มีการหักค่าธรรมเนียมรายปี อาจทำให้เสียสิทธิความคุ้มครองไปแบบที่เราไม่รู้ตัว

    อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เราไม่คาดฝันและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ถ้าหากมีความคุ้มครองไว้ ก็ช่วยเพิ่มความอุ่นใจไปอีกเปราะหนึ่งได้ สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่เคยมีความรู้สึกไม่ดี ในบางครั้งที่เจ้าหน้าที่ธนาคารเสนอบัตรเดบิตแบบมีประกันอุบัติเหตุมาให้ ก็อยากแนะนำให้ลองฟังสิทธิประโยชน์ในเรื่องของความคุ้มครองต่างๆ ของบัตรดูก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำดี อย่าเพิ่งด่วนปฏิเสธไปเสียทันทีค่ะ ถ้าชอบบทความของเราก็ช่วยกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันต่อไปด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้า สำหรับวันนี้... สวัสดีค่ะ ^^ 

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    • อัจฉราพรรณ สายตรง
    • อัจฉราพรรณ สายตรง
      MONEY GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สมัครออนไลน์

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)