ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
  • บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • รีวิว Piggipo (พิกกิโปะ) แอปพลิเคชันใหม่สุดเจ๋ง ช่วยจัดการค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต... ให้ง่ายขึ้น

    19 มิ.ย. 61 22,024

    รีวิว Piggipo (พิกกิโปะ) แอปพลิเคชันใหม่สุดเจ๋ง ช่วยจัดการค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต... ให้ง่ายขึ้น

    ถ้าเรามีบัตรเครดิตสัก 1-2 ใบ ก็ยังพอจะจัดการค่าใช้จ่ายได้สบายๆ นะคะ แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีใบที่ 3-4-5 ขึ้นมาแล้วล่ะก็... ชีวิตอาจจะยุ่งเหยิงเพิ่มขึ้นหน่อยๆ เพราะบางทีการที่เรามีบัตรเครดิตเยอะๆ หลายใบ อาจจะทำให้เรางงว่าใช้บัตรใบไหนไปเท่าไหร่แล้วบ้าง หรือไม่ก็อาจจะลืมวันครบกำหนดจ่ายบัตร ซึ่งผลเสียที่ตามมาก็คือ เสียดอกเบี้ย แถมยังเสียประวัติทางการเงินอีกด้วยนะ ปัญหาที่ตามมาจากการมีบัตรเครดิตมากกว่า 2 ใบขึ้นไป สามารถแก้ได้ง่ายๆ ถ้าเรามีตัวช่วยในการจัดการค่าใช้จ่ายของบัตรเครดิต พอดีมีพี่ท่านนึงแนะนำแอปพลิเคชันที่จะช่วยทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น นั่นก็คือ แอปฯ "Piggipo" ออกเสียงภาษาไทยว่า "พิกกิโปะ" หรือ "ปิ๊กกิโปะ" (แล้วแต่จะออกเสียงเลยค่าา) ก็เลยโหลดมา และจะรีวิววิธีการใช้งาน และประโยชน์ที่เราจะได้รับจากแอปฯ นี้ ให้เพื่อนๆ ได้ดูกันด้วยว่าจะเวิร์คและน่าใช้มากน้อยแค่ไหน?
    "Piggipo" (พิกกิโปะ) คืออะไร?
    แอปพลิเคชันที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปหมูน้อยสีเขียว มีแนวความคิดและผลิตโดยกลุ่มคนไทย เปิดตัวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นแอปฯ ที่ช่วยในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเกินตัว สลิปบัตรเครดิตเยอะเกินไปจนล้นกระเป๋า เลือกไม่ถูกว่าจะใช้บัตรใบไหนดี บัตรใบนี้ใช้ไปทั้งหมดเท่าไหร่แล้ว หรือลืมกำหนดวันจ่ายหนี้ แอปฯ นี้ก็จะช่วยทำให้การใช้บัตรเครดิตมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ
    สามารถ Download แอปฯ นี้ได้ที่ไหนบ้าง?
    ปัจจุบันถือว่าแอปฯ นี้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นค่ะ โดยรองรับทั้งระบบ iOS และ Android เพื่อนๆ สามารถเลือกดาวน์โหลดได้ที่ App Store และ Google Play
     
    รีวิวการใช้แอปฯ พิกกิโปะ 
    เพื่อนๆ ดาวน์โหลดแอปฯ กันมาเรียบร้อยแล้วใช่มั้ยคะ? ถ้าพร้อมแล้ว เราไปลุยกันเล้ยย!!!
    1. ขั้นตอนแรก : ลงชื่อเข้าใช้ หรือสร้างบัญชีใหม่
    สำหรับคนที่ยังไม่มีบัญชี (account) ก็ต้องสร้างใหม่กันก่อนค่ะ โดยใช้อีเมลเป็น user name และตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยที่สุดนะคะ หลังจากนั้นก็ log in เข้าไปได้เลย (อย่าลืมอ่านเงื่อนไขต่างๆ ในการใช้แอปฯ กันสักนิดนะคะ ^^)
    2. ขั้นตอนที่สอง : เพิ่มบัตรเครดิตเข้าไปในระบบ
    มาถึงขั้นตอนการ Add บัตรเครดิตเข้าในระบบ โดยกดที่เครื่องหมายบวก (+) แล้วก็เพิ่มบัตรเครดิตทั้งหมดที่เราต้องการจัดการค่าใช้จ่ายลงไปได้เลยค่ะ
    เมื่อกดเครื่องหมายบวก (+) แล้ว จะเข้ามาที่หน้านี้ คือให้เราเลือกว่า จะเพิ่มบัตรเครดิตแบบแรก คือแบบ Manual หรือเลือกแบบที่สอง คือ ทำการ Sync กับแอปฯ บัตรเครดิตของแต่ละสถาบันการเงิน
    แบบที่หนึ่ง : เพิ่มข้อมูลบัตรเครดิตแบบ Manual
     
    ถ้าเลือกเพิ่มบัตรเครดิตแบบกรอกข้อมูลเอง จะมาที่หน้าเลือกสถาบันการเงินเจ้าของบัตรเครดิตก่อน ซึ่งมีให้เลือกครบทุกสถาบันการเงินเลยค่ะ
    เมื่อกดเลือกสถาบันการเงินเจ้าของบัตรเครดิตแล้ว ต่อไปก็กรอกข้อมูลของบัตรฯ ค่ะ ก็จะมีชื่อ/ ประเภทบัตรเครดิต, วงเงินบัตรเครดิตที่ได้รับ, หมายเลขบัตรเครดิต 4 หลักสุดท้าย, วันตัดรอบบัญชีบัตรเครดิต, วันครบกำหนดชำระ และสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้มีการแจ้งเตือนก่อนถึงวันกำหนดชำระหนี้หรือไม่ (ผู้เขียนเลือกให้มีการแจ้งเตือนก่อน 1 วัน) จากนั้นกดลูกศรด้านบนขวามือค่ะ
    เมื่อทำการกรอกข้อมูลต่างๆ ในขั้นตอนก่อนหน้าแล้ว จะปรากฎหน้าตาแบบนี้ค่ะ นั่นหมายความว่าข้อมูลบัตรได้ทำการเพิ่มเรียบร้อยแล้ว และหากต้องการเพิ่มรายการการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตใบนี้ ก็สามารถกดเครื่องหมายบวก (+) ได้เลย
     
    มาถึงหน้าการบันทึกรายการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ แบบ Manual แอปฯ จะให้เราเลือกหมวดหมู่ของการใช้จ่าย (เมื่อกดเข้าไปจะมีหมวดหมู่ให้เลือกตามภาพด้านขวามือ) สามารถเพิ่มคำอธิบายรายการเพื่อเตือนความจำเกี่ยวกับรายการใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้นค่ะ นอกจากนั้นยังมีสถานที่ โปรโมชั่น รายการเครดิตเงินคืนต่างๆ ที่บัตรใบนี้มี พูดง่ายๆ ว่านอกจากจะช่วยจัดการค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเป็นเหมือนเครื่องมือช่วยเตือนความจำดีๆ นี่เองค่ะ
    แบบที่สอง : เพิ่มข้อมูลบัตรเครดิตแบบ Auto Sync 
    แบบที่สองนี้เป็นแบบใหม่ค่ะ คือหากเราต้องการเพิ่มบัตรเครดิตแบบ Sync กับแอปฯ ของสถาบันการเงินเจ้าของบัตรเครดิตที่เรามีอยู่ แอปฯ ก็จะพาเรามาเลือกสถาบันการเงินเจ้าของบัตรเครดิต (กดที่ Bank ได้เลยค่ะ)
    ผู้เขียนเลือกบัตรเครดิตไทยพาณิชย์ พอกดเลือกแล้ว ระบบจะถามว่าเรามีบัญชี SCB Easy Net หรือไม่? เพราะจะต้องทำการดึงรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต มาที่แอปฯ พิกกิโปะนี้ค่ะ ถ้าเพื่อนๆ คนไหนมีบัญชี SCB Easy Net ก็กด Next ได้เลย แต่ถ้าคนไหนยังไม่มีบัญชีต้องลงทะเบียนสมัครบัญชี SCB Easy Net หรือแอปฯ ของสถาบันการเงินอื่นๆ ที่มีบัตรเครดิตอยู่ค่ะ
    ทำการ Log in โดยใช้ user name และ password เดียวกันกับ แอปฯ ของสถาบันการเงินเจ้าของบัตรเครดิตได้เลยค่ะ จากนั้นกด Connect เพื่อให้ระบบทำการ Sync ข้อมูลมาที่แอปฯ นี้
    เมื่อทำการ Log in แล้ว ระบบจะแจ้งเตือนว่าได้ทำการเชื่อมต่อแล้ว และเรายังสามารถเพิ่มข้อมูลบัตรเครดิตของสถาบันการเงินอื่นๆ ได้อีก ถ้าใครอยากจดรายการใช้จ่ายของทุกบัตรฯ ที่เรามีอยู่ก็ Add ข้อมูลให้ครบทุกบัตรเลยก็ได้ค่ะ
    พอกลับมาดูที่หน้าแรก (Home) หลังจากที่เราเพิ่มบัตรเครดิตลงไปเรียบร้อยแล้ว ระบบจะโชว์รายละเอียดของแต่ละบัตรว่า บัตรแต่ละใบมีปิดยอดวันที่เท่าไหร่ และจำนวนเงินที่เราใช้จ่ายไปแล้วนั้นเป็นเท่าไหร่ของวงเงินบัตรเครดิตทั้งหมด
    3. ขั้นตอนที่สาม : จำกัดวงเงินในการใช้จ่ายในแต่ละเดือน
     
    จากรูปแรกในส่วนบน จะเห็นว่าเรายังไม่ได้กำหนด หรือจำกัดวงเงินที่จะใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ในแต่ละเดือนไว้ค่ะ เพราะฉะนั้น เรามาควบคุมการใช้จ่ายของเราสักหน่อย ด้วยการกดไปที่ช่องว่างสีขาวที่ระบุ 0.00 of 10,000.00 (เนื่องจากผู้เขียนลองเข้าไปกำหนดแล้วจึงปรากฎตามรูป แต่หากใครยังไม่ตั้ง limit ไว้ จะปรากฎ 0.00 of 0.00 ค่ะ) ในส่วนนี้เราสามารถเปลี่ยนตัวเลขได้ว่าในแต่ละเดือนเราจะใช้บัตรให้ไม่เกินเท่าไหร่ แต่ก็อยากให้ลองคำนวณค่าใช้จ่ายกันดีๆ ก่อนกำหนดตัวเลข เพื่อเป็นการบังคับตัวเองไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัวค่ะ
    4. ขั้นตอนที่สี่ : ตรวจสอบรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เราเพิ่มข้อมูลลงไป
    ตอนแรกผู้เขียนได้ทำการเพิ่มบัตรเครดิตด้วยการ Sync ข้อมูลจาก SCB Easy Net ใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่รอสักพักก็สามารถ Sync ได้ค่ะ และปรากฏข้อมูลตามภาพ (แอบมีการเพิ่ม limit ในการใช้บัตรนิดหน่อยค่ะ ^^)
     
    เนื่องจากผู้เขียนใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ค่อนข้างใกล้เคียงกับ limit ที่ตั้งไว้ เจ้าหมูน้อยจึงแสดงอารมณ์ร้องไห้ (T_T) บางทีถ้าเราใช้จ่ายไม่ถึงหรือไม่ใกล้เคียง limit หมูน้อยอาจจะยิ้มร่าเริงก็ได้ค่ะ ถือว่าเป็นแอปฯ ที่มี emoticon น่ารักๆ ที่สื่อให้เห็นอารมณ์ของผู้ใช้งานได้ดีทีเดียว เมื่อกดเข้าไปที่ limit ที่เราตั้งไว้ จะเห็นยอดคงเหลือที่สามารถใช้ได้ในเดือนนี้ และแสดงผลในรูปแบบกราฟ
    เมื่อกดเข้ามาที่บัตรเครดิตใบที่เราใช้จ่าย ก็จะเห็นรายการใช้จ่ายที่แยกออกเป็นแต่ละรายการ (Transaction) ได้ ซึ่งค่อนข้างละเอียดพอสมควร พูดง่ายๆ เหมือนแอปฯ ดึง Statement ของบัตรเครดิตมาแสดงให้เราเห็นชัดๆ เลยค่ะ
     
    หรือจะเลือกแสดงผลเป็นแบบกราฟ (Graph) ก็ได้ แล้วก็จะมีคำอธิบายกราฟเพิ่มเติมว่าแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายหมวดอะไร เท่าไหร่บ้าง ส่วนตัวคิดว่าแสดงรายการแบบ Transaction จะดูง่ายๆ แต่ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน ซึ่งผู้ที่ออกแบบแอปฯ ก็ทำออกมาได้ครอบคลุมทุกมุมมองของผู้ใช้งานทีเดียวค่ะ
    5. ขั้นตอนที่ห้า : ตรวจสอบรายการที่ต้องชำระ หรือค้างชำระของบัตรเครดิต
    นอกจากตรวจสอบรายการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ได้แล้ว ยังสามารถตรวจสอบรายการที่ค้างชำระหรือต้องชำระในรอบบิลถัดไปได้อีกด้วยค่ะ รายละเอียดตามภาพด้านล่างนี้เลยค่ะ

    กดที่คำว่า Future ในวงกลมสีแดง

    จะเข้าสู่หน้านี้ และจะแสดงยอดรวมที่จะต้องชำระในรอบบิลถัดไป

    เมื่อกดเข้ามา จะแสดงรายการใช้จ่ายของบัตรเครดิตแต่ละใบ

    รายละเอียดของบิลบัตรเครดิตจะแสดงให้เราเห็น ทั้งจำนวนเงินขั้นต่ำที่จะต้องชำระ, วันตัดรอบบิล และแสดงวันที่ต้องชำระหนี้เป็นตัวสีแดงให้มองดูเด่นจากรายการอื่นๆ นอกจากนั้นยังสามารถโชว์รายการใช้จ่ายเพื่อตรวจสอบความถูกต้องได้อีกครั้ง
    **มีอะไรใหม่ในแอปพลิเคชัน Piggipo บ้าง? (What's new?)**
    ล่าสุดแอปฯ ก็ได้มีการเพิ่มฟังก์ชันต่างๆ เข้ามา เพื่อการใช้งานที่ดูทันสมัยมากขึ้นค่ะ โดยสิ่งที่มีการเพิ่มเข้ามาเป็น feature ใหม่ๆ มีดังนี้

    "Wallet" กระเป๋าเงินออนไลน์... เพื่อเพิ่มช่องทางการให้บริการการเงินออนไลน์ที่ง่ายและสะดวกมากขึ้น
    สำหรับบางคนที่ยังไม่อยากจะใช้เงินจากบัตรเครดิต ก็เติมเงินเข้า Wallet เพื่อนำไปใช้จ่ายแทนได้ค่ะ

    "Promotion" นำเสนอโปรโมชั่นจากบัตรเครดิตของธนาคารต่างๆ เพื่อให้การเลือกใช้บัตรเครดิตง่ายมากขึ้น
    โดยอาจจะเลือกใช้จากบัตรที่มีโปรโมชั่นที่น่าสนใจ และมีวงเงินคงเหลือเพียงพอต่อการใช้จ่ายค่ะ
    สรุปภาพรวม และประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้งานผ่าน Application "Piggipo"
    ถือว่าเป็นแอปฯ ที่ใช้งานได้ง่าย เพราะดีไซน์ที่น่ารักๆ และเหมาะสำหรับผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัยค่ะ หลังจากที่เราได้ลองใช้งานมาแล้วนั้น ทำให้สามารถสรุปประโยชน์ที่เราจะได้รับจาก App พิกกิโปะ ออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้
     ข้อดีของแอปฯ "Piggipo"
     ทำให้เรามองเห็นภาพรวมของการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตแบบ Real Time ตั้งแต่หน้าแรก โดยแยกออกเป็นบัตรแต่ละใบ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจได้ว่าเราควรใช้บัตรเครดิตใบไหนเพื่อจ่ายครั้งต่อไป เพื่อเป็นการควบคุมการใช้จ่ายให้ตัวเราเอง
     เป็นเหมือนเครื่องมือเตือนความจำว่า เราใช้บัตรไปเท่าไหร่ ค่าอะไร ที่ไหนบ้าง เมื่อได้ทำการบันทึกรายการใช้จ่ายไปแล้ว เราสามารถทิ้ง Slip บัตรเครดิตไป จะได้ไม่ต้องเก็บสลิปจนกระเป๋าตุง
     มีการแสดงวันตัดรอบบิล ที่จะช่วยในการตัดสินใจได้เร็วขึ้นว่าควรจะใช้บัตรเครดิตใบไหนดี ที่มีวันตัดรอบนานที่สุด เพื่อจะได้ยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ออกไปได้
     ป้องกันการลืมวันครบกำหนดชำระ สำหรับคนที่มีบัตรเครดิตหลายใบ และใช้บัตรหลายใบพร้อมกัน เพราะสามารถเข้าไปเช็ควันครบกำหนดชำระได้ที่ Future หรือ Billbox ค่ะ
     หลายคนคงจะกังวลว่าใช้แล้วจะปลอดภัยมั้ย? ซึ่งเพื่อนๆ สามารถมั่นใจได้เลยว่า เป็นแอปพลิเคชันที่มีการเข้าระบบ 128 bit ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับเดียวกันกับธนาคารทั่วโลก โดยที่เราไม่ต้องกรอกเลขบัตรทั้ง 16 หลัก ไม่ต้องระบุตัวเลข CVV หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ และไม่สามารถทำธุรกรรมได้ นอกจากเช็คสถานะการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น
    เอาล่ะค่ะ ใครที่ยังไม่มีแอปฯ นี้ ต้องลองดาวน์โหลดมาใช้กันดูนะคะ เผื่อจะช่วยให้การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น ปัญหาต่างๆ มากมายที่เคยเกิดก็อาจจะลดลงบ้าง หรือถ้าใครยังไม่มั่นใจและต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปอ่านดูได้ที่ www.piggipo.com ส่วนในครั้งต่อไป จะมีบทความอะไรมาฝากนั้น ต้องคอยติดตามกันต่อไปนะคะ ^^

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    • อัจฉราพรรณ สายตรง
    • อัจฉราพรรณ สายตรง
      MONEY GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สมัครออนไลน์

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)