ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
  • บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • ไขคำตอบ: "บัตรเครดิตหาย" ทำยังไงดี? ต้องรับผิดชอบหนี้แค่ไหน?

    10 มิ.ย. 59 34,656

    ไขคำตอบ: "บัตรเครดิตหาย" ทำยังไงดี? ต้องรับผิดชอบหนี้แค่ไหน?

    คงไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์บัตรเครดิตหาย! เกิดขึ้นกับตัวเองเป็นแน่ เพราะคุณสมบัติของบัตรเครดิตที่สามารถใช้รูดจ่ายค่าสินค้า/บริการ ใช้ซื้อสินค้าออนไลน์ และยังใช้กดเงินสดในยามฉุกเฉินได้อีก ทำให้ผู้ถือบัตรอย่างเราๆ ต้องระมัดระวัง และเก็บรักษาบัตรไว้อย่างดีไม่แพ้กับเงินสด แต่หากวันหนึ่ง...บัตรเครดิตของเราหายขึ้นมาจะต้องทำอย่างไร? แล้วถ้าบัตรฯ ถูกขโมย ถูกแอบอ้างนำไปใช้ เราต้องชดใช้ในหนี้นั้นหรือไม่? วันนี้ CheckRaka.com จะมาไขคำตอบให้ทราบกันค่ะ
    6 ข้อควรปฏิบัติเมื่อบัตรเครดิตหาย
    เมื่อประสบกับเหตุการณ์บัตรเครดิตหาย (หรือยังไม่แน่ใจว่าจะหายหรือไม่ แต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ) ก็อย่ามัวแต่ตกใจจนทำอะไรไม่ถูก หรือนิ่งนอนใจเกินไปนะคะ เพราะเวลาเพียงไม่กี่นาทีอาจทำให้เราสูญเงินไปและกลายเป็นหนี้โดยไม่ได้ก่อได้ ทางที่ดีแล้ว CheckRaka.com ขอแนะนำให้เพื่อนๆ รีบดำเนินการดังนี้โดยเร็วที่สุดจะดีกว่าค่ะ

    1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบัตรหาย

    ลองตั้งสติและตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งค่ะว่า บัตรนั้นหล่นอยู่ในซอกกระเป๋าใบที่ใช้ครั้งล่าสุดหรือไม่ หรือเราไปลืมวางไว้หรือย้ายบัตรเครดิตไปเก็บไว้บนโต๊ะหรือในลิ้นชักไหนหรือเปล่า

    2. โทร.แจ้งอายัดบัตร

    หากแน่ใจว่าบัตรเครดิตไม่อยู่กับเราแล้ว (หรือไม่มีวี่แววว่าจะหาเจอในเวลาอันใกล้) ก็ให้รีบโทร.ไปแจ้งอายัดบัตรเครดิตกับทางธนาคารหรือบริษัทผู้ออกบัตรโดยเร็วที่สุดนะคะ ซึ่งจะมีผลทำให้บัตรของเราถูกระงับการใช้ทันทีหรือหลังจากที่โทร.ไปไม่เกิน 5 นาที เพื่อป้องกันการแอบอ้างนำบัตรไปใช้และเราจะไม่ต้องรับผิด หลังจากที่ได้แจ้งระงับใช้งานแล้วด้วยค่ะ โดยเราสามารถโทร.แจ้งได้ตลอด 24 ชม. และเจ้าหน้าที่อาจสอบถามข้อมูลจากเจ้าของบัตร เช่น รหัสบัตร รายการล่าสุดที่ใช้ รวมทั้งวัน เวลา สถานที่ที่ทำบัตรหายด้วยค่ะ
    โอกาสนี้ ทาง CheckRaka.com ก็ได้รวบรวมเบอร์โทรศัพท์สำหรับแจ้งอายัดบัตรเครดิตมาให้ด้วยนะคะ รวมถึงยังสามารถใช้โทร.แจ้งอายัดบัตรเดบิต (Debit Card) และบัตร ATM ได้ด้วยเช่นกันค่ะ

    3. แจ้งความ

    เมื่ออายัดบัตรฯ ทางโทรศัพท์แล้วก็ควรรีบไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อจะได้ลงบันทึกประจำวันไว้ ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าบัตรเครดิตของเราได้หายไปจริง และเราไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรเครดิตใบนั้นหลังจากที่ได้แจ้งความไว้แล้วค่ะ หรือหากเป็นกรณีที่เราทราบว่าบัตรได้ถูกแอบอ้างนำไปใช้แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและทางธนาคารจะได้ประสานงานกันเพื่อจับตัวคนร้ายได้ทันท่วงทีค่ะ

    4. ติดต่อขอทำบัตรใหม่

    เราควรติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือบริษัทผู้ออกบัตรเครดิต เพื่อขอทำบัตรเครดิตใบใหม่ โดยควรเปลี่ยนรหัสส่วนตัวของบัตรใบใหม่ไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรหัสเดิม และควรปกปิดตัวเลข 3 หลักด้านหลังทันทีที่ได้รับบัตรมาด้วยนะคะ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิจฉาชีพโจรกรรมข้อมูลบัตรแอบอ้างไปใช้นั่นเอง (แต่สำหรับใครที่ยังไม่ต้องการใช้บัตรเครดิตในทันที ก็อาจข้ามข้อนี้ไปก่อนก็ได้ค่ะ)

    5. รวบรวมหลักฐานเพื่อแสดงตัวตน

    สิ่งที่จะยืนยันว่าเราไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรเครดิตใบนั้นจริงๆ ได้แก่ พยาน หลักฐานจากกล้องวงจรปิดของร้านค้า/สถานที่ต่างๆ และหากใครเดินทางไปยังต่างประเทศก็อาจใช้ Passport ที่มีบันทึกวัน-เวลา การเข้า-ออกประเทศมายืนยันว่า ณ เวลานั้นเราอยู่ที่ไหน เราทำอะไร กับใคร เป็นต้น นอกจากนี้ บางคนอาจเคยทำสำเนาหรือถ่ายรูปลายเซ็นหลังบัตรเครดิตของตัวเองเอาไว้ ตรงนี้ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานเปรียบเทียบได้ว่าลายเซ็นของเรากับผู้แอบอ้างใช้บัตรเครดิตนั้นเป็นคนละคนกัน ซึ่งเราอาจรวบรวมไว้ก่อนเบื้องต้น หากเกิดกรณีถูกแอบอ้างนำบัตรไปใช้ เราจะได้นำหลักฐานนี้ส่งให้เจ้าหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วค่ะ

    6. ตรวจสอบใบแจ้งหนี้

    เราควรตรวจสอบใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตเป็นประจำ เพื่อสรุปยอดการใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยเฉพาะในกรณีที่บัตรเครดิตหาย เจ้าของบัตรควรตรวจสอบให้ดีเป็นพิเศษว่ามีใครแอบอ้างนำบัตรเครดิตของเราไปใช้ ทำให้มียอดเงินเรียกเก็บเพิ่มนอกเหนือจากที่เราใช้ไปหรือไม่ หากมีก็ควรติดต่อกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน กรอกแบบฟอร์มทักท้วงการใช้บัตรเครดิต ปฏิเสธการใช้ในยอดดังกล่าว พร้อมกับนำหลักฐานไปแสดงว่าเราไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรเครดิตรายการนั้น แล้วขอคำแนะนำเพื่อจัดการปัญหา "หนี้ที่ไม่ได้ก่อ" ที่เกิดขึ้นต่อไปค่ะ
    มียอดหนี้บัตรเครดิตทั้งๆ ที่ไม่ใช้ ใครต้องรับผิดชอบ?
    คงเป็นประเด็นที่คาใจไม่น้อยที่ว่า "บัตรหาย/บัตรถูกแอบอ้างไปใช้ แล้วยังต้องจ่ายหนี้ที่ไม่มีส่วนรู้เห็นอีกหรือ!!" ลองมาดูกันค่ะว่า เมื่อเจอกับสถานการณ์แบบนี้จะรับมืออย่างไร? และเราต้องชดใช้หนี้นั้นหรือไม่? โดยเราสามารถแบ่งประเภทหนี้บัตรเครดิตที่เกิดขึ้นจากมิจฉาชีพได้เป็น 3 กรณี ดังนี้ค่ะ

    1. กรณีถูกขโมยบัตรเครดิต

    ใครที่รู้ตัวเร็วว่าบัตรเครดิตถูกขโมยไปก็อาจโทร.แจ้งอายัดบัตรได้ทัน ทำให้เราไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ใดๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากแจ้งแล้วทันที (หรือภายในเวลา 5 นาทีตามเงื่อนไขที่กำหนด) แต่หากโชคร้ายถูกขโมยบัตรเครดิตไปแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ก็เป็นโอกาสให้เหล่ามิจฉาชีพสวมรอยนำบัตรไปใช้ ซึ่งตรงนี้เราก็ต้องรีบแจ้งอายัดบัตรทันทีที่รู้ตัว แจ้งความ และหากมีรายการที่มิจฉาชีพนำบัตรไปใช้เกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องกรอกแบบฟอร์มทักท้วงการใช้บัตรยื่นให้แก่เจ้าหน้าที่ธนาคาร/บริษัทผู้ออกบัตรฯ ด้วย จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจและทางธนาคาร/บริษัทผู้ออกบัตรฯ จะตรวจสอบและตามจับตัวคนร้ายมาดำเนินคดีต่อไป 
    หากตามจับตัวคนร้ายไม่ได้ และเราไม่สามารถไกล่เกลี่ยยอดหนี้ที่ธนาคาร/บริษัทผู้ออกบัตรฯ เรียกเก็บได้ ผู้ใช้บัตรเครดิตบางรายอาจถูกฟ้องร้องให้ต้องชำระหนี้ดังกล่าว ตรงนี้ก็อย่าเพิ่งตระหนกกันไปนะคะ ถ้าเรามีหลักฐานชัดเจนว่าเราไม่ได้ใช้บัตรเครดิตในรายการดังกล่าว เช่น มีหลักฐานจากกล้องวงจรปิดว่าเราไม่ได้เป็นผู้รูดบัตรในร้านค้าแห่งนั้น ช่วงเวลานั้นเราอยู่ต่างประเทศ หรือลายเซ็นในเซลล์สลิปไม่ตรงกับลายเซ็นหลังบัตรเครดิตที่เราเคยเซ็นไว้ ก็สามารถนำหลักฐานต่างๆ นี้ไปยื่นต่อศาลเพื่อพิสูจน์ว่าเราไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรจริงๆ และศาลอาจตัดสินให้เราไม่ต้องชดใช้ในหนี้นั้นได้ค่ะ

    2. กรณีถูกคัดลอกข้อมูลบัตรเครดิต

    เหล่ามิจฉาชีพสามารถคัดลอกข้อมูลบัตรเครดิตของเราได้ ทั้งจากเครื่อง Skimmer ที่ติดอยู่ตามตู้ ATM และเครื่อง Skimmer แบบพกพา รวมทั้งการแอบถ่ายข้อมูลตัวเลขหน้าและหลังบัตรเครดิต แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ ซึ่งในกรณีนี้เจ้าของบัตรเครดิตจะไม่มีทางรู้ตัวก่อนเลย เพราะบัตรเครดิตนั้นจะยังอยู่กับตัว ไม่ได้หายไปไหน ดังนั้น ทันทีที่ทราบว่ามีคนแอบใช้บัตรเครดิตของเรา (หากสมัครบริการ SMS แจ้งเตือนการใช้จ่ายไว้ก็จะรู้ตัวได้เร็วกว่า) ก็ให้รีบโทร.แจ้งอายัดบัตรเครดิต พร้อมแจ้งให้ทางธนาคาร/บริษัทผู้ออกบัตรเครดิตทราบว่า บัตรเครดิตของเราถูกลักลอบนำไปใช้และขอให้รีบตรวจสอบโดยด่วน หลังจากนั้นเราก็ต้องแจ้งความ กรอกแบบฟอร์มทักท้วงการใช้บัตร แล้วให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและบริษัทผู้ออกบัตรเครดิตตรวจสอบและตามจับตัวคนร้ายมาดำเนินคดีต่อไปเช่นเดียวกัน
    หลังจากที่ได้ตรวจสอบแล้ว โดยส่วนใหญ่ผู้ใช้งานบัตรเครดิตอย่างเราก็จะไม่ต้องรับผิดชอบกับหนี้สินที่เกิดขึ้นค่ะ เพียงแต่ต้องรวบรวมหลักฐานให้ชัดเจน และปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำแก่เรานะคะ

    3. กรณีถูกปลอมแปลงเอกสารสมัครบัตรเครดิต

    ทั้งๆ ที่ไม่เคยสมัครบัตรเครดิตดังกล่าว แต่ชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ในใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตที่ส่งมาถึงบ้าน กลับเป็นข้อมูลของเราทุกประการ ดังนี้เราควรรีบติดต่ออายัดบัตร แล้วไปแจ้งความทันที พร้อมนำเอกสารทั้งหมดที่ได้รับไปด้วย ซึ่งกรณีนี้เรามีหน้าที่ต้องยืนยันกับทางเจ้าหน้าที่ว่าเราไม่ใช่ผู้สมัครบัตรดังกล่าว รวมถึงพิสูจน์ว่าเอกสารการสมัครบัตรฯ นั้นเป็นเอกสารปลอม ลายเซ็นที่เซ็นไปนั้นไม่ใช่ของเรา และผู้ใช้บัตรตามรายการดังกล่าวก็เป็นคนละคนกับเราด้วยค่ะ
    ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกปลอมแปลงเอกสารนั้นจะไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้บัตรเครดิตที่เกิดขึ้น เพราะถือได้ว่าเป็นความประมาทของทางธนาคาร/บริษัทผู้ออกบัตรเครดิต ที่ไม่ตรวจสอบให้ดีก่อน และอนุมัติบัตรเครดิตไปให้แก่มิจฉาชีพรายนั้นค่ะ
    แม้ว่าบัตรเครดิตจะช่วยอำนวยความสะดวก ให้การใช้จ่ายของเราง่ายขึ้นสักเพียงใด แต่ผู้ใช้บัตรเครดิตก็ควรมีความระมัดระวังและรอบคอบในการใช้บัตรเครดิตอยู่เสมอ เพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บัตรฯ และทันทีที่รู้ตัวว่าบัตรเครดิตของเราถูกโจรกรรมไป (หรือมีความเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม) ก็ควรรีบโทร.แจ้งอายัดบัตร แจ้งความ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบโดยด่วน พร้อมทั้งขอคำปรึกษาเพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สมัครออนไลน์

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)