ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • สินเชื่อเงินสด
  • สินเชื่อเงินสด
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • จริงหรือไม่-ใช่หรือมั่ว...ความอินเทรนด์ในยุคนี้ ทำให้เกิดโรค "เสพติดการชอปปิง" จนหลายคนต้องเป็นหนี้

    17 เม.ย. 64 5,597

    จริงหรือไม่-ใช่หรือมั่ว...ความอินเทรนด์ในยุคนี้ ทำให้เกิดโรค "เสพติดการชอปปิง" จนหลายคนต้องเป็นหนี้

    ผลพวงจากวิกฤต COVID-19 ทำให้การซื้อขายออนไลน์ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว เชื่อแน่ว่าตอนนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก ไม่ว่าสินค้านั้นจะเป็นอะไร ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบสั่งได้หมด เผลอแพ็บเดียวของมาส่งหน้าบ้านแล้วจ้า ธุรกิจของยอดขายสินค้าออนไลน์จึงเติบโตอย่างต่อเนื่องเพราะพฤติกรรมการจับจ่ายเปลี่ยนไป ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น แต่การชอปปิงออนไลน์นี้ก็ไม่ได้มีแต่ประโยชน์นะคะ เพราะเหรียญมีสองด้านเสมอ เมื่อการช้อปปิงง่ายและสะดวกมากขึ้น ปัญหาจึงเกิดตามมากับหลายคน นั่นก็คือ ความสุ่มเสี่ยงจากภาวะอาการผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรม "อยากได้ต้องซื้อ" จนอาจทำให้เป็น "โรคเสพติดการชอปปิงชนิดรุนแรง" ซึ่งเมื่อเสพติดแล้ว เงินทองที่เคยมีก็จะหดหายไปเรื่อยๆ จนต้องมีการกู้หนี้ยืมสินเกิดขึ้น เมื่อไม่มีเงินมาใช้หนี้ก็ทำให้หลายคนหาทางออกด้วยวิธีการฆ่าตัวตาย (น่ากลัวมาก)...งั้น!! วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ และหาวิธีหรือแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดหนี้สินจากโรคร้ายนี้กันค่ะ
      "โรคเสพติดการชอปปิง" คืออะไร? มีอาการเป็นยังไง?
    "โรคเสพติดการชอปปิง" หรือ "Shopaholic" (Compulsive Shopping) เป็นภาวะเสพติดการซื้อของ ซึ่งมีอาการเกี่ยวกับการจับจ่ายซื้อของจนทำให้เกิดปัญหาตามมา โดยถือเป็นหนึ่งในปัญหาของกลุ่มพฤติกรรมการเสพติด (Behavioral Addiction) เช่นเดียวกับการเสพติดพนัน-เสพติดอินเทอร์เน็ต จนถึงเสพติดเซ็กซ์ หรือเสพติดการออกกำลังกาย
    อาการของโรคที่เราสามารถสังเกตตัวเองได้ง่ายและชัดเจนที่สุด คือ การมีความอยากซื้อตลอดเวลา ซื้อเกินความจำเป็น และจะรู้สึกดีทุกครั้งเมื่อได้ซื้อของ แต่จะเป็นการรู้สึกดีในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นนะคะ และหลังจากนั้นไม่นานก็จะมีความรู้สึกผิดหลังจากที่ซื้อมาแล้ว เพราะซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ หรือซื้อซ้ำๆ ทั้งๆ ที่มีอยู่แล้วหลายชิ้น จนทำให้เกิดพฤติกรรมหลบซ่อนหรือโกหกปกปิดเวลาซื้อของนั้นๆ และจากสิ้งนี้เองที่เป็นผลทำให้เกิดปัญหาหนี้สินขึ้น
      ใครบ้าง... ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเสพติดการชอปปิง?
    ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุว่า...กลุ่มคนที่เป็นโรคนี้จะพบได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นขึ้นไป และพบได้ทั้งหญิงและชาย ซึ่งสาเหตุนั้นถ้าเกิดจากปัจจัยส่วนบุคคล ก็มักจะทำให้คนๆ นั้นขาดความภาคภูมิใจในตนเอง มีภาวะซึมเศร้า เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว ชอบมีภาวะวิตกกังวล เป็นโรคสมาธิสั้น หรือมีปัญหาในการควบคุมตัวเองหรือยับยั้งชั่งใจ แต่ถ้าเกิดจากปัจจัยด้านสังคมก็จะมาจากพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิต หรือกู้ยืมเงิน จนทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมานั่นเอง
      แนวทางการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคนี้... ต้องทำยังไง?
    "โรคเสพติดการชอปปิง" อันตรายกว่าที่เราคิดเยอะนะคะ เพราะนอกจากจะทำให้ป่วยทางจิตแล้ว ยังทำให้คนที่เป็นโรคนี้มีหนี้สินตามมา ซึ่งหากไม่สามารถใช้หนี้ที่ก่อขึ้นได้แล้ว ก็จะยิ่งเครียดและทำให้คิดสั้นได้นั่นเอง แต่!! ไม่ต้องกลัวและเป็นกังวลมากไปค่ะ เพราะโรคนี้สามารถป้องกันได้ค่ะ ทุกคนสามารถทำได้แน่นอน โดยเริ่มจากการ "ยับยั้งชั่งใจ" เพื่อลดความอยากได้อยากมีด้วยการมีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง ต้องไตร่ตรองก่อนซื้อว่าสิ่งของนั้นๆ มีความจำเป็นจริงๆ มั้ย? ที่สำคัญคือ...อย่าหุนหันพลันแล่นซื้อทันทีทันใด ควรมีเวลาให้ตัวเองได้ตัดสินใจก่อน พร้อมต้องจำกัดสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดความอยากซื้อออกไป เช่น ลบแอปพลิเคชั่นที่เป็นชอปปิงออนไลน์ ไม่กดติดตามร้านค้าออนไลน์ หรือแม้แต่การยกเลิก-ทำลายบัตรเครดิต โดยวิธีนี้จะช่วยเพิ่มความยุ่งยากในการซื้อของให้ตัวเอง
      เมื่อเราเข้าข่ายการเป็น "โรคเสพติดการชอปปิง" ใครช่วยได้?
    โรคนี้เมื่อมองจากชื่อโรคแล้วหลายคนมองว่าเป็นเรื่องตลก ไร้สาระ แต่อย่ามองข้ามนะคะ เพราะโรคนี้มีอยู่จริงและร้ายแรงมาก โดยเกิดจากภาวะอยากซื้ออยากชอป ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกคน และถ้าโรคนี้ได้เกิดขึ้นกับเราแล้วสิ่งที่เราควรทำมากที่สุด และทำเป็นสิ่งแรกๆ นั้นคือ การเข้ารับคำปรึกษาเพื่อบำบัดอาการ แนวทางการรักษาก็มีอยู่หลายแบบ จะมีทั้งการเข้ากลุ่มบำบัด และการทำจิตบำบัดแบบปรับความคิด และพฤติกรรม (CBT) ส่วนในกรณีการรักษาแบบใช้ยานั้นจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ โดยจะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อการบำบัดด้วยวิธีข้างต้นไม่ได้ผล ไม่สามารถควบคุมการเสพติดชอปปิงได้ หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาการควบคุมอารมณ์, ภาวะเศร้า, ภาวะวิตกกังวล แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ก่อนนะคะ
    สุดท้ายนี้...จากข้อมูลทั้งหมดข้างต้น สามารถฟันธงได้ว่า "โรคเสพติดการชอปปิง" เป็นเหตุทำให้เกิดหนี้สินท่วมหัวได้แน่นอน ซึ่งทางทีมงาน CheckRaka อยากให้เพื่อนๆ จำไว้เสมอนะคะว่า ไม่ว่าเราจะทำอะไรเราจะต้องมีสติให้มาก คิดไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน เพราะถ้าเราใช้แค่ความอยากได้ อยากมี อย่างเดียวโดยไม่คิดถึงประโยชน์ และผลเสียที่จะได้รับ ทำพฤติกรรมแบบนี้ซ้ำๆ นานๆ ก็จะทำให้เรามีความเสี่ยงที่จะเป็น "โรคเสพติดการชอปปิง" ได้อย่างง่ายดาย และเมื่อเสพติดเข้าแล้วจะส่งผลอีกมากมายให้กับตัวเรา โดยเฉพาะเงินในกระเป๋า หรือการเป็นหนี้ เป็นสิน จนถึงขั้นล้มละลายตามมาได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นเราควรท่องไว้ให้ขึ้นใจเลยว่า "การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ"
    • สินีนาฏ มากทองหลาง
    • สินีนาฏ มากทองหลาง
      MONEY GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สมัครออนไลน์

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)