ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • สินเชื่อเงินสด
  • สินเชื่อเงินสด
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • "รีไฟแนนซ์" ดี-ไม่ดี ยังไง?...มาดูกัน!!

    9 ส.ค. 59 15,791

    "รีไฟแนนซ์" ดี-ไม่ดี ยังไง?...มาดูกัน!!

    การรีไฟแนนซ์ (Refinance) คือการเปลี่ยนเจ้าหนี้ จากผู้ให้สินเชื่อเดิมเพื่อไปขอกู้จากผู้ให้สินเชื่อรายอื่นแทน เหตุผลที่คนส่วนใหญ่มักรีไฟแนนซ์คือ ผู้ให้สินเชื่อรายใหม่เสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า หรือมีเงื่อนไขด้านอื่นๆ ที่จูงใจกว่าที่เดิม เช่น ให้เวลาผ่อนชำระยาวนานกว่า
    สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์ คือ ความคุ้มค่า
    โดยเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงว่าจะช่วยให้เราประหยัดได้มากกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์หรือไม่ เช่น
    • ค่าจดจำนองหลักประกัน
    • ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน
    • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำประกัน
    • ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้เก่า ในกรณีที่ยุติการกู้ก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา
    ตัวอย่างการประมาณการเพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ เพื่อประเมินเบื้องต้น ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์
    ตัวอย่าง นาย ก ได้กู้เงินซื้อบ้านจากธนาคาร A เป็นเงิน 2,200,000 บาท โดยกู้มาแล้ว 2 ปี ขณะที่เงินต้นคงเหลือ 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่จ่ายอยู่เดิมคือ 7% โดยนาย ก กำลังตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์ไปธนาคาร B ซึ่งจะคิดอัตราดอกเบี้ย 3% เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ให้สันนิษฐานว่าหลังจากหมดโปรโมชั่นแล้ว จะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งเท่ากับอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินเดิม) แต่นาย ก ต้องจ่ายค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 3% ของยอดคงค้าง เพราะเพิ่งจะกู้ไม่ถึง 3 ปี
    เมื่อคำนวณแล้ว การรีไฟแนนซ์ตามตัวอย่างนี้จะประหยัดเงินได้ประมาณ 240,000 - 84,000 = 156,000 บาท (ดูรายละเอียดในตารางด้านล่างนี้นะคะ)
    หากพบว่าต้องเสียเวลาในการดำเนินการมาก แต่ช่วยประหยัดเงินได้นิดเดียว การใช้บริการผู้ให้สินเชื่อเดิมก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
    ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้* ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์*
    ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ x จำนวนปีที่ได้โปรโมชั่น
    • อัตราดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = อัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้สถาบันการเงินเดิม - อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินแห่งใหม่ที่จะรีไฟแนนซ์
    • จำนวนปีที่ได้โปรโมชั่น = จำนวนปีที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินเดิม

    จากตัวอย่าง คำนวณได้ดังนี้
    ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ (ประมาณ)
    = 2,000,000 x (7 - 3)/100 x 3 = 240,000 บาท
    ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้แก่หน่วยงานราชการ
    • ค่าจดจำนองหลักประกัน (1% ของวงเงินจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท)
    • ค่าอากรแสตมป์ (0.05% ของวงเงินกู้ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท)

    ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินแห่งใหม่
    • ค่าประเมินหลักประกัน

    ค่าปรับที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินเดิม
    เช่น ถ้าผ่อนส่งยังไม่ครบจำนวนปีที่กำหนดก็จะต้องจ่ายค่าปรับ เช่น 3% จากเงินต้นคงค้าง ทั้งนี้ แต่ละสถาบันการเงินอาจกำหนดค่าใช้จ่าย และค่าปรับไว้แตกต่างกัน เราจึงต้องสอบถาม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

    จากตัวอย่าง คำนวณได้ดังนี้
    • ค่าจดจำนองบ้าน = 20,000 บาท (2,000,000 x 1 / 100)
    • ค่าอากรแสตมป์ = 1,000 บาท (2,000,000 x 0.05 / 100)
    • ค่าประเมินหลักประกัน (ประมาณ = 3,000 บาท
    • ค่าปรับ = 60,000 บาท (2,000,000 x 3 / 100)
    ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ทั้งสิ้นประมาณ = 240,000 บาท ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น = 84,000 บาท
    *การคำนวณข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากสถาบันการเงินแต่ละแห่ง

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    • สินีนาฏ มากทองหลาง
    • สินีนาฏ มากทองหลาง
      MONEY GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สมัครออนไลน์

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)