ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • บ้านโครงการใหม่
  • บ้านโครงการใหม่
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • เคล็ดลับ การใช้แอร์ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมวิธีล้างและบำรุงรักษาแอร์

    4 มี.ค. 64 37,139
    พอถึงหน้าร้อนแล้วเราก็ต้องเปิดแอร์กันมากขึ้น พอรู้ตัวอีกที่ค่าไฟก็อาจจะขึ้นบานโดยไม่รู้ตัว วันนี้เราเลยเอาเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ในการเปิดแอร์ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เปลืองค่าไฟจนเกินไป และเป็นการยืดอายุการใช้งานของแอร์ให้นานยิ่งขึ้ได้ด้วย นอกจากนี้จะมาแนะนำวิธีการล้างแอร์มาฝากกันด้วยค่ะ ซึ่งการทำความสะอาดเครื่องแอร์นั้นให้ประโยชน์มากมาย อาทิ ลดฝุ่นละออง กำจัดเชื้อโรค และทำให้แอร์เย็นเร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ เราไปดูกันเลย
    ข้อแนะนำการใช้แอร์ให้มีประสิทธิภาพ
    1. ควรหมั่นทำความสะอาดที่กรองอากาศ หรือล้างเครื่องปรับอากาศอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความเย็น ในส่วนของการล้างแอร์ ถ้าต้องการผู้เชี่ยวชาญในการล้างทั้งคอยล์เย็น และคอยล์ร้อน สามารถเรียกช่างได้จากแอปฯ เรียกแอร์ต่างๆ ดูได้จาก "เช็คราคา 5 แอปฯ ล้างแอร์ บ้าน + คอนโด เรียกช่างมาได้ทุกที่ มีอะไรบ้าง มาดูกัน"
    2. ไม่ควรตั้งอุณหภูมิให้ต่ำมากจนเกินไปเนื่องจากจะทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้า โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมและประหยัดพลังงานคืออุณหภูมิที่มีความเย็นประมาณ 26 - 27 องศาเซลเซียส
    3. ควรเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า และขนาดที่ใช้ต้องเหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงการปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมและถูกวิธีจะสามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง
    4. การใช้งานเครื่องปรับอากาศแต่ละครั้ง ควรปิดประตู และหน้าต่างให้สนิท เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศร้อนชื้นจากภายนอกเข้ามาภายในห้อง เพราะจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น
    5. เปิดเครื่องปรับอากาศเฉพาะเท่าที่จำเป็น จริงอยู่ว่าอากาศร้อนก็ต้องเปิดแอร์ แต่การเปิดใช้นานๆ ติดต่อกันก็อาจจะทำให้เครื่องเสื่อมประสิทธิภาพไวขึ้น เราสามารถใช้ฟังก์ชั่นตั้งเวลาเปิด-ปิด ตามความเหมาะสม และเลือกเปิดพัดลมสลับๆ ไปบ้างก็ได้ค่ะ
    ขั้นตอนการล้างและบำรุงรักษาแอร์
    นอกจากข้อแนะนำการใช้เบื้องต้นข้างบนแล้ว เรายังมีข้อแนะนำเล็กๆ น้อยๆ จาก "คู่มือการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมแรงงาน)" ในการล้าง และบำรุงรักษาแอร์ดังนี้ (ขั้นตอนที่ 1 พวกเราท่านๆ อาจจะพอทำเองไหว แต่ขั้นตอนที่ 2 และ 3 อาจต้องอาศัยช่างมืออาชีพที่ชำนาญ และมีอุปกรณ์ครบมือทำให้)
    1. การล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ
    ก่อนเริ่มขั้นตอนที่ 1 นี้ อย่าลืมปิดสวิตซ์ หรือเบรคเกอร์ตัดวงจรของระบบไฟฟ้าก่อนนะคะ เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง และทุกๆ คนในบ้านของท่านค่ะ
    ถอดแผ่นกรองอากาศออกจากชุดคอยล์เย็น
    ใช้เครื่องดูดฝุ่น หรือใช้ลมเป่าทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ
    แผ่นกรองอากาศบางรุ่นสามารถทำความสะอาดได้โดยการใช้นํ้าชะล้างให้สะอาด
    จากนั้นนำแผ่นกรองอากาศไปผึ่งหรือตากแดดให้แห้ง
    2. การล้างทำความสะอาดชุดคอยล์ร้อน (Condensing Unit)
    คำว่าชุดคอยล์ร้อนนี้อาจฟังดูเทคนิคไปนิด แต่ถ้าบอกเป็นภาษาพูดแบบง่ายๆ ว่า ก็คือตัวที่ชาวบ้านมักเรียกกันทั่วไปว่า "คอมแอร์" หรือ "คอมเพรสเซอร์" ที่มีรูปร่างหน้าตาแบบครบชุดตั้งอยู่นอกบ้านตามรูปข้างล่างนี้

    หน้าตาคอยล์ร้อนก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ (Condensing Unit)
    การล้างทำความสะอาดชุดคอยล์ร้อน (Condensing Unit) มีวิธีการ และขั้นตอนโดยย่อดังต่อไปนี้

    ถอดโครงคอยล์ร้อนออกทั้งหมด และยกมอเตอร์พัดลมคอยล์ร้อนออกมาทำความสะอาด

    ใช้ผ้าใบปิดคลุมมอเตอร์คอมเพรสเซอร์และชิ้นส่วนที่เป็นชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มิดชิด บางครั้งอาจใช้ผ้าใบปิดผนังป้องกันสิ่งสกปรกขณะใช้นํ้าฉีดล้างทำความสะอาด
    ล้างทำความสะอาดแผง และครีบคอยล์ร้อนด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง
    ใช้แปรงลวดปัดทำความสะอาดสิ่งสกปรกตามร่องฟินให้สะอาด
    บีบ หรือเทนํ้ายาล้างฟินคอยล์ ใส่แผงคอยล์ร้อนให้ทั่ว และล้างทำความสะอาดแผง และครีบคอยล์ร้อนด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูงอีกครั้ง
    ใช้หวีแต่งฟินคอยล์ที่ล้มให้ตั้งฉากกับท่อคอยล์ร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนให้กับเครื่องปรับอากาศ
    ทำความสะอาดโครงและชิ้นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศโดยการล้างให้สะอาดแล้วใช้โบลว์เวอร์เป่าซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้น้ำแห้ง จากนั้นประกอบชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศกลับคืนดังเดิม
    3. การล้างทำความสะอาดตัวแอร์ และชุดคอยล์เย็น (Evaporating Unit)
    ตัวเครื่องปรับอากาศพร้อมชุดคอยล์เย็นนี้โดยรวมๆ ก็คือ ตัวเครื่องปรับอากาศที่ตั้ง Indoor อยู่บนพื้น หรือเพดานห้องของท่านนั่นแหละค่ะ หน้าตาโดยรวมแบบครบชุดก็ประมาณนี้

    คอยล์เย็นก็จะหน้าตาแบบนี้ หรือตัวแอร์ที่เราคุ้นหน้าคุุ้นตากันนี่เอง (Evaporating Unit)
    การล้างทำความสะอาดชุดคอยล์เย็น (Evaporating Unit) มีวิธีการและขั้นตอนดังต่อไปนี้
    ก่อนเริ่มทำงานจะต้องนำผ้าใบหนังคลุมพื้นที่บริเวณห้องด้านล่างเพื่อป้องกันนํ้าที่เกิดจากการล้างฉีดแผงคอยล์เย็นที่อาจจะหกเลอะเทอะพื้นห้องทำให้เสียหายได้
    ถอดโครงคอยล์เย็นออก และถอดมอเตอร์พัดลมคอยล์เย็น
    ถอดถาดรองน้ำทิ้งลงมาเพื่อล้างทำความสะอาดภายในให้สะอาด
    ใช้ผ้าใบห่อปิดชุดคอยล์เย็นกันนํ้ากระเด็น หกเลอะเทอะขณะใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงฉีดล้างทำความสะอาดแผงคอยล์เย็น
    ล้างทำความสะอาดแผงครีบคอยล์เย็นด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง
    ใช้แปรงลวดปัดทำความสะอาดตามร่องฟินให้สะอาดแล้วล้างทำความสะอาดอีกครั้ง
    ใช้โบลว์เวอร์เป่าซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้น้ำแห้ง
    ใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงอัดฉีดท่อน้ำให้สะอาด หรือใช้โบล์วเวอร์เป่าก็ได้เช่นกัน
    ทำความสะอาดถาดน้ำทิ้งและพัดลมคอยล์เย็นรวมทั้งโครงของเครื่องปรับอากาศให้สะอาด
    ตรวจเช็คจุดต่อสายไฟฟ้าภายในระบบและขันยึดสกรูสายไฟฟ้าให้แน่น
    จากนั้นประกอบอุปกรณ์ชุดคอยล์เย็นกลับคืนดังเดิม ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยและทำการเดินเครื่องปรับอากาศ เพื่อทดสอบการทำงาน

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    บทความล่าสุดอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)