ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • รีวิว Toyota Fortuner 2.4 4WD กรุงเทพฯ-นครพนม-มุกดาหาร แค่นี้ก็เกินพอ

    12 มี.ค. 61 29,883
    Toyota Fortuner 2.4 4WD กรุงเทพฯ-นครพนม-มุกดาหาร แค่นี้ก็เกินพอ
    Toyota Fortuner (โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์) รถยนต์อเนกประสงค์ SUV หรือ PPV ที่เราคุ้นเคยที่มีให้เลือก 2 เครื่องยนต์และ 2 ระบบขับเคลื่อน ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะตอบสนองความต้องการใช้งานที่แตกต่างกันไป สำหรับในทริปนี้เป็นเดินทางด้วยรถยนต์ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ 2.4 ลิตร ซิกม่าโฟร์ (Toyota Fortuner 2.4 4WD) ขับเคลื่อน 4 ล้อ กับเส้นทางกรุงเทพฯ - นครพนม - มุกดาหาร 4 วัน 3 คืน ระยะทางโดยรวมแล้วน่าจะไม่เกิน 1,500 กม. แต่เมื่อจบทริปจัดไปกว่า 2,000 กม.! 
    เส้นทางทดสอบ
    เส้นทางที่ใช้ทดสอบหรือจะเรียกว่าขับใช้งานจริงก็ย่อมได้ เริ่มจากถนนวัชรพล จ.กรุงเทพฯ มุ่งหน้าจ.นครพนม และเลยไปถึงจ.มุกดาหาร ตรงด่านพรมแดนมุกดาหาร (สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2) โดยใช้เส้นทางจาก "อากู๋" เนื่องจากไม่เคยขับรถไปเองสักที แต่ต้องขอบคุณ Google Map ที่แม่นมากๆ สามารถเดินทางได้จนถึงจุดหมายปลายและกลับสู่กรุงเทพฯ ได้อย่างปลอดภัย ระยะทางจากกรุงเทพฯ - นครพนมนั้นกว่า 700 กม. และหากไปถึงมุกดาหารก็บวกอีกราวๆ 100 กม. รวมเป็น 800 กม. ตลอดทั้งทริปนี้จนกลับกรุงเทพฯ กว่า 1,600 กม. แต่เมื่อดูระยะทางจริงทะลุไปกว่า 2,000 กม. เลยทีเดียวครับ 
    ข้อมูลทางเทคนิค
    Toyota Fortuner รุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ 16 วาล์ว DOHC VN Turbo Intercooler ขนาด 2,393 ซีซี กำลังสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 3,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 400 นิวตันเมตร ที่ 1,600-2,000 รอบต่อนาที เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ พร้อม Sequential Shift และ Paddle Shift พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซิกมาร์โฟร์ ปรับรูปแบบการขับเคลื่อนได้ 3 แบบ คือ 2H, 4H และ 4L ถังน้ำมันจุได้ 80 ลิตร ช่วงล่างด้านหน้าแบบอิสระปีกนกคู่ พร้อมคอยล์สปริง และเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบโฟร์ลิงค์คอยล์สปริง และเหล็กกันโคลง พร้อมดิสก์เบรก 4 ล้อ (แล้วนะจ๊ะ) แต่พวงมาลัยพาวเวอร์ยังใช้ระบบไฮดรอลิกอยู่ 
    ภายนอกและภายใน
    ภายนอกงดงามตามแบบฉบับโตโยต้าคือ ผสานความโค้งมนเข้ากับเหลี่ยมสันในบางมุมมอง แต่โดยรวมแล้วออกแบบได้หรูหราดุจ SUV ระดับพรีเมี่ยม ด้วยการตกแต่งวัสดุโครเมี่ยมและไฟหน้าที่ดูแพงบ่งบอกฐานะ พร้อมกับกระจังหน้าที่ฉีกสไตล์เดิมๆ ออกไปพอสมควร 
    ไฟหน้าแบบ LED Bi-Beam ที่ถูกปรับแต่งให้ไม่แยงตาชาวบ้านแล้ว ไฟตัดหมอก LED ส่วนไฟท้ายสุดหรูหรา คาดแถบโครเมียมตรงกลางฝากระโปรงท้ายยิ่งดูไฮโซเข้าไปอีกขั้น เหลือเพียงกระจกมองข้างที่เป็นทรงเดียวกับ "รีโว่" เท่านั้นเอง
    สำหรับภายในของฟอร์จูนเนอร์รุ่น 2.4 ลิตร ขับเคลื่อน 4 ล้อนับว่าไม่แตกต่างด้วยโทนหนังสีน้ำตาลเข้มที่ดูสวยหรูหราและน่าจะเปื้อนได้ยากกว่าสีครีมในรุ่น 2.8 ลิตร ขับเคลื่อน 4 ล้อ ชุดคอนโซลหน้า-กลาง และแผงประตูจะดูเรียบหรูและน่าใช้มากขึ้น
    เบาะคู่หน้าปรับไฟฟ้า เบาะตอนที่สอง ปรับและพับอเนกประสงค์แบบ 60:40 ส่วนเบาะแถวสามพับแบบเก็บขึ้นด้านข้างที่บางคนก็แอบบ่นว่าเกะกะบังมุมกระจกมองหลัง แต่บางคนก็บอกว่าวางของได้สะดวกดีเพราะพื้นเรียบ ส่วนในทริปที่ได้ลองสัมผัสเอง รู้สึกว่าเบาะหลังก็ไม่ได้เกะกะมากนัก และมีผลในการมองกระจกมองหลังน้อยมากๆ แต่ว่าการพับเก็บขึ้นและการกางเอาลงนั้นจะลำบากกว่าชาวบ้านเขานิดหน่อยครับ ต้องใช้แรงเยอะนิดนึง และก็มีเสียงของเบาะดังบางจังหวะที่ตกหลุมแรงๆ หรือผ่านถนนที่สะเทือนมากๆ 
     
    ชุดเครื่องเสียงฟังเพลินๆ สบายหู มาพร้อมเนวิเกเตอร์ที่ให้ความละเอียดสูง แต่ในการใช้งานต้องตั้งใจค้นหาสถานที่และต้องใส่ชื่อสถานที่นั้นๆ ให้ถูกต้องตามจริง จนบางคร้งอาจค้นหายากเพราะไม่รู้ชื่อเต็มๆ ของสถานที่นั้น สุดท้ายก็ต้องพึ่ง "อากู๋" อีกครั้งหนึ่ง ส่วนระบบแอร์นั้นก็เย็นทั่วถึงทุกที่นั่งพร้อมระบบอัตโนมัติ เบาะหลังก็มีพื้นที่กว้างนั่งได้จริงๆ และสะดวกด้วยประตูท้ายไฟฟ้า
     
    การขับทดสอบ
    โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ 2.4 ลิตร สามารถเปลี่ยนความคิดที่ว่า เครื่องแค่นี้จะวิ่งไหวหรือ? ไปในทันที เพราะจากการลองใช้อัตราเร่งทั้งการออกตัว อัตราเร่งแซงในช่วงความเร็วต่างๆ แล้ว กำลังจากเครื่องยนต์ 2.4 ลิตร 400 นิวตันเมตร นับว่าเกินพอเลยครับ เพราะในชีวิตประจำวันนั้นคงไม่ได้ไปแข่งไต่เขาลงห้วยกับใคร ดังนั้นด้วยกำลังเครื่องยนต์ระดับ 150 แรงม้านี้ มีพลังให้ใช้งานได้อย่างสบายใจมากๆ 
    การเดินทางทางเริ่มต้น ณ เวลา 23.00 น. เริ่มขับในช่วงเวลากลางคืนเพื่อให้ไปสว่างในช่วงที่จะถึงอุทยานแห่งชาติภูพาน เพราะเป็นถนนวิ่งลัดเลาะตามไหล่เขา หากขับในเวลากลางคืนอาจเสี่ยงเกินไป และให้ไปถึงจ.นครพนมก่อนเที่ยงวัน 
    ยามค่ำคืนนั้นระบบไฟหน้า LED ของฟอร์จูนเนอร์สว่างสมคำร่ำลือ (แยงตา) แต่สำหรับคันที่ทดสอบนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขระดับไฟหน้ามาแล้ว โดยดูจากการที่จอดติดท้ายรถเก๋ง ลำแสงไฟหน้าจะไปถึงกระจกมองข้างหรือกระจกมองหลังรถคันด้านหน้า (หากไม่จอดชิดมากๆ) หรือดูจากระยะลำแสงที่ส่องผิวถนนเมื่อรถโล่งๆ จะกดต่ำลงพื้นมากขึ้นกว่าเดิมพอสมควรครับ เพราะเมื่อขับผ่านเส้นทางมืดมากๆ จำเป็นต้องคอยเปิดไฟสูงดูทางเป็นระยะๆ 
    เมื่อมาถึงแถวๆ จ.นครราชสีมาผ่านเข้าสู่จ.มหาสารคามก็เริ่มเห็นแสงสว่าง ซึ่งเป็นถนนที่โล่งมากๆ ขับชิลๆ เพลิน แม้เป็นทางตรงยาวๆ เบาะนั่งของฟอร์จูนเนอร์กลับให้ความสบายตัวไม่รู้สึกเมื่อยล้ามากนัก ด้วยท่านั่งที่ปรับได้จากเบาะคนขับไฟฟ้า 8 ทิศทาง  
    เมื่อขับไปอีกราวๆ 2-3 ชม. เข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์ก็เริ่มใกล้ถึงจุดที่คิดว่าน่าจะลำบากในการขับขี่ขึ้นเขาในช่วงภูพาน โดยก่อนไปนั้นได้อ่านรีวิวเส้นทาง หลายคนก็บอกว่าทางขึ้นเขาจะลำบาก อันตรายและต้องระมัดระวังอย่างดี แต่เมื่อถึงช่วงเทือกเขาภูพาน และผ่านเส้นทางคดเคี้ยวไปมาและทางชันต่างๆ แล้ว สำหรับฟอร์จูนเนอร์นั้น สบายๆ เลยครับ ควบคุมก็ง่าย อัตราเร่งก็ดี ระยะเบรกหรือน้ำหนักในการใช้เบรกก็นุ่มสบายเท้า ออกแรงไม่มากนักก็สามารถชะลอหรือหยุดรถในยามคับขันได้อย่างมั่นใจ อาจมีในบางจังหวะที่ต้องหักเลี้ยวโค้งมากๆ ตัวรถมีอาการโคลงบ้าง ซึ่งต้องลดความเร็วลงอีกเพื่อให้ขับผ่านไปได้อย่างนุ่มนวลและปลอดภัย เพราะแม้ว่าระบบช่วงล่างและเบรกจะดีแค่ไหน แต่รถที่รูปทรงสูงๆ และล้อโตใส่ยาง All-terrain ย่อมมีขีดจำกัดครับ ผลคือ ถ้าเข้าโค้งแรงเกินไป หน้าดื้อเล็กน้อย ต้องลองใส่ระบบ 4H เพิ่มเข้าไป จึงควบคุมได้ดีมากขึ้นและไม่มีเสียงร้องของยางมากนัก
    ในการขับรถระยะทางยาวๆ หลายร้อยกม. แทบจะไม่มีโอกาสใช้ระบบซิกมาร์โฟร์เลย จะมีก็เพียงช่วงผ่านไหล่เขาภูพานที่ตั้งใจทดลองระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เมื่อเข้าโค้งต่างๆ เท่านั้น เพราะถนนต่างๆ ส่วนมากค่อนข้างดี เป็นถนนคอนกรีตส่วนใหญ่ อาจมีบางช่วงที่เป็นหลุมบ่อหรือผิวถนนชำรุดอยู่ ซึ่งนับเป็นข้อดีของการใช้รถยนต์อเนกประสงค์คันโตอย่างฟอร์จูนเนอร์ เพราะสามารถรูดผ่านผิวทางพังๆ ได้อย่างนุ่มนวล
    ขับกันต่อ แวะพักปั๊มบ้าง จนเข้าสู่จ.สกลนคร ผ่านอ.หนองหารด้วยถนนนิตโย เตรียมพร้อมเข้าจ.นครพนม สักการะพระธาตุชื่อดัง ด้วยความเพลิดเพลินบวกกับทำความเร็วพอสมควรราวๆ 110 - 120 กม./ชม. สักพักใหญ่ก็ถึงจุดหมายแห่งแรกแล้วคือ จ.นครพนม
      
    เมื่อมาถึงก็ตรงไปวัดพระธาตุพนมเพื่อกราบสักการะขอพรให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง โดยในช่วงที่ไปนั้นเป็นเทศกาลงานพระธาตุพนมประจำปีพอดี จึงมีผู้คนมากมายทั้งไทย - ลาว ข้าวของวางขายกันเต็มพื้นที่ และบางจุดก็มีเรียกเก็บค่าที่จอดรถ แนะนำให้นำไปจอดในโรงเรียนพระธาตุพนม เพราะรายได้จากค่าจอดรถเอาไปพัฒนาโรงเรียนต่อไป 

    พระธาตุพนม
    หลังจากนั้นตระเวนไหว้พระธาตุอีก 3 - 4 แห่งเท่าที่จะสามารถไปได้เช่น พระธาตุมรุกขนคร พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน และพระธาตุเรณู  

    พระธาตุประสิทธิ์

    รัชกาลที่ 9 เคยเสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดพระธาตุประสิทธิ์

    พระธาตุท่าอุเทน

    ได้จอดถ่ายคู่กับพระธาตุท่าอุเทน

    พระธาตุเรณู
    หลังจากไหว้พระอิ่มบุญแล้วก็ท่องราตรีชมบรรยากาศในเมืองบริเวณหอนาฬิกาและถนนคนเดินที่อยู่ใกล้ๆ กัน มีของหลากหลายชนิดคล้ายๆ ถนนคนเดินในแต่ละจังหวัดทั่วๆ ไป
    ในวันถัดไป เดินทางมุ่งสู่จ.มุกดาหาร อีก 100 กว่ากม. ที่ด่านพรมแดนมุกดาหารเพื่อข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 ไปฝั่งลาวด้วยรถบัส สู่เมืองสะหวันนะเขต เพื่อไปสักการะพระธาตุโพน ซึ่งนับเป็นพระธาตุที่อยู่คู่กับพระธาตุพนมของไทยเรา

    เข้าสู่จังหวัดมุกดาหาร

    เมืองที่จะเดินทางไปคือ "สะหวันนะเขต"

    จอดรถที่หน้าด่านได้ฟรีและเจ้าหน้าที่บอกว่าปลอดภัยชัวร์...

    รถบัสที่จะพาข้ามสะพานไทย-ลาว 2 

    ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร

    เวลาในการเดินรถใน 1 วัน 

    ต้องแย่งๆ กันหน่อยเพราะคนเยอะมากๆ

    เบียดกันเล็กน้อย แต่ใช้เวลาไม่นานก็ถึงอีกฝั่งแล้ว

    ถึงฝั่งชายแดนลาวแล้ว และเราก็ต้องจ้างรถท้องถิ่นในการพาไปพระธาตุโพนด้วยราคา 1,800 บาท (ต่อรองราคาได้นะครับ) 

    เอ๊ะ ปั๊มของไทยมาไกลถึงนี่เลย

    รับเงินเราปุ๊ปเติมน้ำมันปั๊ป

    มีรถหน้าไม่คุ้นเยอะมาก

    ดูเหมือนจะเจอเรื่อยๆ 

    ถนนค่อนข้างเป็นแบบในภาพตลอดทาง บางช่วงก็เป็นหลุมบ่อ

    ถึงแล้ว วัดเจติยาราม พระธาตุโพน

    ภายในบริเวณวัด

    พระธาตุโพนตั้งอยู่โดดเด่น

    ก่อนสักการะหากเป็นสุภาพสตรีจำเป็นต้องยืมผ้าถุงนุ่งก่อนเข้าบริเวณพระธาตุ และให้บริการ "ฟรี"

    บทสวดขอพรพระธาตุที่ "อ่านยากจริงๆ "

    ชุดธูปเทียนเพื่อบูชา แบบไหว้ขอพรธรรดา แต่หากจะบนบานจะมีอีกชุดใหญ่อีกแบบหนึ่ง

    ชาวบ้านทยอยมาเรื่อยๆ 

    เมื่อไหว้ขอพรเสร็จเดินทางกลับด่านสะหวันนะเขต

    ถนนจะมีสภาพอย่างที่เห็น ค่อนข้างจะสมบุกสมบัน

    กลับถึงท่ารถบริเวณด่านสะหวันนะเขตก็ซื้อตั๋วรถบัสเดินทางข้ามแม่น้ำโขงกลับสู่แผ่นดินไทย

    ขากลับชิลๆ ไม่ค่อยแน่นมากเท่าไหร่ 

    ป้ายต้อนรับกลับสู่ฝั่งประเทศไทยหลังจากข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 

    ขับชมบรรยากาศในเมืองมุกดาหาร แวะหาร้านกินข้าวก่อนกลับ จ.นครพนม

    มาตามลายแทงร้านดัง ลงเอยที่ร้านนี้

    แวะช้อปของฝากร้าน (ที่เขาว่า) ดัง รสชาติพอได้

    แวะเติมน้ำมันก่อนขับยาวๆ 

    ระหว่างทางแวะถ่ายรูปก่อนกลับ
    จบทริปการเดินทางที่แสนประทับใจได้ทั้งอิ่มบุญ และได้พักผ่อน และสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนในจังหวัดต่างๆ ที่ได้ไปและยิ่งไปกว่านั้นได้สักการะพระธาตุอันศักดิ์ศิกธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวนครพนม และพระธาตุโพน สปป.ลาว 
    ความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา
    Toyota Fortuner 2.4 4WD รถยนต์อเนกประสงค์ที่มาพร้อมความสะดวกสบายทั้งการขับขี่ทางไกลและผู้โดยสาร สมรรถนะเครื่องยนต์ดีเซล 2.4 ลิตร เทอร์โบ 150 แรงม้า กับแรงบิด 400 นิวตันเมตร พารถ SUV/PPV ไซส์โตขนาดนี้ไปได้อย่างทันใจไม่เป็นปัญหา ให้อัตราเร่งที่ดี การแรงแซงที่ทันใจ และให้ความนุ่มนวลตลอดการเดินทาง นอกจากนี้ยังมีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซิคม่าโฟร์ ที่ช่วยให้ขับได้ปลอดภัยมากขึ้น เมื่อเขาโค้งหรือเจอสภาพถนนเปียกลื่น นับว่าจบในคันเดียวเที่ยวคุ้มค่า และประหยัดน้ำมันอีกด้วย โดยการเดินทางครั้งนี้ใช้น้ำมันไป-กลับตลอดทริป ด้วยระยะทางกว่า 2,000 กิโลเมตร ไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น เหลือเงินเที่ยวได้อีกเพียบ สำหรับค่าตัวในรุ่น 2.4 ลิตร ซิคม่าร์โฟร์ ราคา 1,419,000 บาทเท่านั้น 
    • สินธนุ จำปีศรี
    • สินธนุ จำปีศรี
      Car GURU Thailand

    รีวิวล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)