ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • ไขข้อข้องใจรถยนต์ SUV, Crossover, PPV และ MPV แตกต่างกันอย่างไร?

    25 ก.ค. 60 83,870

    ไขข้อข้องใจรถยนต์ SUV, Crossover, PPV และ MPV แตกต่างกันอย่างไร?

    รถยนต์ประเภท SUV, PPV แล MPV แตกต่างกันอย่างไร? เป็นคำถามที่หลายคนคงสงสัย เพราะเดี๋ยวนี้มีคำเรียกประเภทรถต่างๆ มากมาย ถ้ามองในภาพรวมก็ล้วนแล้วแต่เป็นรถที่ให้ความคุ้มค่าทั้งประโยชน์ใช้สอย รองรับสมาชิคครอบครัวได้หลากหลายคน แต่ในความเป็นจริงแล้วก็มีจุดที่แตกต่างกันระหว่างรถยนต์ทั้ง 3 ประเภทนี้ค่อนข้างชัดเจน 
    รถยนต์อเนกประสงค์หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการโดยทั่วไปว่า SUV หรือ MPV นั้นนับเป็นรถยนต์ประเภทที่ให้อรรถประโยชน์ที่หลากหลายรูปแบบ เช่น ขนาดตัวรถยาวลักษณะคล้ายรถเก๋งกึ่งแวนท้ายตัดหรือ 5 ประตู ภายในโปร่งกว้างขวาง ปรับเปลี่ยนรูปแบบของเบาะนั่งตอนหลังได้หลากหลาย ส่วน SUV ก็มักจะยกสูงรถลักษณะท้ายตัดหรือ 5 ประตูและสมบุกสมบัน เป็นต้น สำหรับรถประเภท PPV ก็มีความใกล้เคียงกับรถ SUV อีกเช่นกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ควรเรียกรถรุ่นไหนว่า "SUV" หรือ "PPV" แล้วรถแบบได้บ้างที่เรียกว่า "MPV" มาหาคำตอบกันเลยครับ
    SUV (Sport Utility Vehicle) - รถอเนกประสงค์แบบสปอร์ตยกสูง
    SUV (Sport Utility Vehicle) - Sport = สมรรถนะสูง(แบบรถสปอร์ต), Utility = สารพัดประโยชน์, Vehicle = พาหนะ หมายความว่ารถอเนกประสงค์สารพัดประโยชน์ที่มีสมรรถนะสูง เช่น Porsche Cayanne, Volvo XC90 และ Mercedes-benz GLE เป็นต้น รวมถึงรถยนต์ค่ายญี่ปุ่น เช่น Nissan X-Trail, Honda CR-V, Toyota Land cruiser, Nissan patrol เป็นต้น นอกจากนี้ยังเรียกรวมรถรุ่นต่างๆ ว่า SUV ดังนี้ Chevrolet Trailblazer, Toyota Fortuner, Mitsubishi Pajero Sport, Ford Everest และ Isuzu MU-X ซึ่งรถยนต์ประเภทนี้มักเน้นใช้งานในรูปแบบที่สมบุกสมบัน บุกป่าลุยโคลน และมักมีระบบขับเคลื่อนให้เลือกทั้ง 2 และ 4 ล้อ 
    Crossover - รถเก๋งแฮตช์แบ็ค 5 ประตูยกสูงพร้อมลุย
    นอกจากนี้อาจแบ่งย่อยได้อีกเป็นประเภท Crossover ที่จัดอยู่ในรถยนต์นั่งที่ถูกปรับปรุงให้ยกสูงขึ้น สามารถขับขี่ผ่านอุปสรรคต่างๆ ดีกว่ารถเก๋งทั่วไปอีกนิดหน่อย เรียกว่า รถเก๋งที่ยกสูงขึ้นเพื่อเอาไว้ลุยในระดับหนึ่งก็ว่าได้ เช่น Mazda CX-3, Mercedes-Benz GLA, MG3 Xross และ Honda BR-V เป็นต้น 
       
    MG3 Xross
    PPV (Pick up Passenger Vehicle) - รถอเนกประสงค์พื้นฐานรถปิคอัพ ชื่อเฉพาะในไทย
    PPV (Pick up Passenger Vehicle) จากการเรียกตามนิยามของกรมสรรพสามิตคือ รถอเนกประสงค์ที่มีการดัดแปลงมาจากรถปิคอัพหรือรถที่ใช้ chassis แบบเดียวกับรถปิคอัพเป็นหลักนั่นเอง 
    สำหรับ PVV เรียกได้ว่าเป็นชื่อที่มีเฉพาะในไทยเท่านั้น เป็นการนำรถกระบะรุ่นที่มีทั้งขับเคลื่อน 2 ล้อและ 4 ล้อ หรือรุ่นยกสูง มาดัดแปลงกลายเป็นรถยนต์โดยสาร ซึ่งมีความแตกต่างจากรถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อให้เป็นรถประเภทนี้โดยเฉพาะ และมีเพียงในประเทศไทยเท่านั้น โดยเกิดจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตให้สามารถจดทะเบียนรถดัดแปลงนี้เป็นแบบรถยนต์นั่งได้ และเรียกรถประเภทนี้ว่า "รถกระบะดัดแปลง" หรือ "PPV" (Pick-up Passenger Vehicle)  
    ความเป็นมาของรถยนต์ PPV ในอดีต ก่อนที่รถ PPV คันแรกจะกำเนิดออกมาคือ Toyota Sport Rider ช่วงปี 1997-1998 ประเทศไทยมีรถกระบะต่อเติมตัวถังขายรุ่นแรก โดยบริษัทรถยนต์ที่ชื่อ เอ็มเอ็มซี สิทธิผล จำกัด Pajero (SJ) โดยใช้รถกระบะ Mitsubishi L200 เป็นพื้นฐาน ทั้ง Chassis, Transmission, Suspension, Engine และต่อเติมตัวถังเป็น Pajero 

    Pajero 1990
    ภาพจาก www.pinterest.com
    ปี 1993 ค่ายอีซูซุก็ผลิตรถกระบะดัดแปลง พร้อมจดทะเบียนแบบรถเก๋งได้นั่นคือรถ Isuzu Cameo นับเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับการผลิตรถกระบะเพื่อการพาณิชย์สู่การใช้งานทั่วไปมากยิ่งขึ้น

    Isuzu Cameo
    ภาพจาก phitsanulok.homecar4rent.com
    จุดเริ่มต้นของคำว่า PPV คือปี 1998 กับการเปิดตัว Toyota Sport rider หลังประกาศสรรพสามิตไม่กี่เดือน โดยใช้พื้นฐานจากรถกระบะ Hilux Tiger ทำให้ผู้ผลิตอื่นๆ เริ่มทำ PPV สู่ตลาดด้วย เช่น Isuzu Vega, Mitsubishi G-Wagon (2001) และ Ford Everest (2003)  

    Toyota Sport rider
    ภาพจาก 
    huperoptikcorp.com
       
    Mitsubishi G-wagon
    ภาพจาก 
    l200stradaclub.com 
    MPV  (Multi Purpose Vehicle) - รถแวน 5 ประตูอเนกประสงค์ 6 - 11 ที่นั่งความสูงใกล้เคียงรถเก๋ง 
    สำหรับรถยนต์ประเภท MPV  (Multi Purpose Vehicle) เป็นรถยนต์ที่มีข้อได้เปรียบในเรื่องความจุของผู้โดยสารที่มากกว่าประเภท SUV บางรุ่น สามารถนั่งได้ถึง 11 ที่นั่งอย่างสบายๆ รถ MPV มักมีพื้นฐานคล้ายๆ รถแวนคือ ลำตัวยาว ท้ายตัด ฝากระโปรงท้ายเป็นแบบตัดตรงเหมือนรถตู้ และด้านหน้ารถมีส่วนยื่นออกไปมากกว่ารถตู้ ภายในมีความอเนกประสงค์ด้วยเบาะที่ปรับเปลี่ยนได้มากและมีพื้นที่กว้างขวาง หลังคาสูงโปร่งเพื่อรองรับผู้โดยสารได้อย่างดี 
    รถยนต์ MPV มีขนาดที่นั่งตั้งแต่ 6 ไปจนถึง 11 ที่นั่ง ขึ้นกับขนาดตัวรถ หากมีขนาดเล็กเรียกว่า Mini MPV ขนาดกลางๆ ใหญ่ขึ้นมากก็เรียกว่า Compact MPV หรือ MPV และขนาดใหญ่มากๆ เรียกว่า Large MPV หรือส่วนมากก็ใช้แค่ MPV เพราะรูปร่างเหมือนกัน และอีกสิ่งที่รถประเภท MPV ให้มากกว่ารถประเภท SUV นั่นคือ ความนุ่มนวลของระบบช่วงล่าง ซึ่งส่วนมากเป็นแบบอิสระทั้ง 4 ล้อ การทรงตัวที่ดีเนื่องจากส่วนใหญ่ความสูงของรถประเภทนี้ไม่มากนัก ความสูงเกือบเท่ารถเก๋งในบางรุ่น และนิยมใช้ประตูแบบสไลด์ ดังนั้น หากใครที่ชอบรถอเนกประสงค์ สมรรถนะการทรงตัวดี ให้ความนุ่มนวลก็ไม่ควรมองข้ามรถ MPV ตัวอย่างรถ MPV เช่น Toyota Wish/Alphard/Avanza/Innova/Sienta, Honda Stream/Odyssey/Mobilio, Suzuki Ertiga, KIA Grand carnival, Hyundai H1 และ Volkswagen Multivan เป็นต้น 
    สรุป SUV คือ ใช้เรียกรถอเนกประสงค์ ยกสูง ไม่ว่าจะใช้เครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลหรือไฮบริด รูปทรงแบบท้ายตัด 5 ประตู มีทั้งขับเคลื่อน 2 หรือ 4 ล้อ พื้นฐานจะเป็นรถเก๋งหรือรถปิคอัพก็ได้ ขอให้เข้าข่ายนี้จะเรียกรวมๆ ว่าเป็น SUV โดยเฉพาะต่างประเทศใช้เรียกรถประเภทนี้ว่า SUV มาตั้งแต่ดั้งเดิม 
    PPV จริงๆ คือ SUV ในคำเรียกที่ทั่วโลกเข้าใจกัน เรียกได้ว่า เป็นคำเรียกเฉพาะในประเทศไทย โดยเป็นคำนิยามที่มาจากรมสรรพสามิตที่ให้เรียกรถประเภท "กระบะดัดแปลง" ที่อยู่ในโครงการปรับโครงสร้างภาษีของกรมสรรพสามิตนั่นเอง นอกจากนี้ค่ายรถยนต์ชั้นนำต่างๆ ก็มักจะเรียกรถยนต์ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดัดแปลงจากปิคอัพรวมอยู่ในคำว่า "SUV" หากเรียกรถยนต์กระบะดัดแปลงว่า PPV ก็ดูไม่ผิดนัก หรือจะเรียก SUV ก็ได้เพราะมันคือรถประเภทเดียวกัน
    MPV คือ รถยนต์ที่ให้ความนุ่มนวล อาจมีที่นั่งตั้งแต่ 6 - 11 ที่นั่ง รูปทรงคล้ายรถแวน ไม่สูงมากนัก ช่วงหน้ารถมักยาวและส่วนท้ายที่ตัดเหมือนรถ 5 ประตู และนิยมใช้ประตูด้านข้างแบบสไลด์ 
    ความแตกต่างของรถยนต์ทั้ง 3 ประเภท อาจดูต่างกันเพียงแค่รูปทรงตัวถัง แต่ประโยชน์ในด้านการใช้งานนั้นอเนกประสงค์เหมือนกัน และส่วนใหญ่ SUV ที่เป็นรถกระบะดัดแปลง (PPV) มักนั่งสบายไม่เท่ากับ SUV ที่ผลิตบนพื้นฐานโมโนค็อก แต่ได้เปรียบตรงเครื่องยนต์ที่มักเป็นดีเซลเทอร์โบให้ความแรงและประหยัด แชสซีส์ที่ทนทาน แข็งแกร่ง และดูแลรักษาง่ายกว่า 

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    • สินธนุ จำปีศรี
    • สินธนุ จำปีศรี
      Car GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)