ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • ดอกเบี้ยเงินฝาก
  • ดอกเบี้ยเงินฝาก
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • ขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 700 บาทต่อวัน คุณเห็นด้วยหรือไม่?

    11 ก.ย. 60 1,367
    ขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 700 บาทต่อวัน คุณเห็นด้วยหรือไม่?
    จากกรณีที่ นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ออกมาเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561 เป็น 700 บาทต่อวัน เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงเท่ากันทั้งประเทศ โดยมีการอ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้องที่เสนอต่อรัฐบาล ว่า ที่ผ่านมาเคยเสนอในวันแรงงานแห่งชาติปี 2560 และในปี 2561 มีสาระหลักๆ 3 ข้อ คือ
    1. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน เนื่องจากที่ผ่านมาลูกจ้างยังคงได้รับค่าจ้างที่ไม่พอต่อการดำรงชีพ ทำให้คนงานไม่มีเงินเพียงพอที่จะสร้างคุณค่าให้ชีวิตที่ ยากจน เป็นหนี้ ซึ่งก็จะส่งผลต่อการบริโภคและภาคการผลิตและอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับตัวเลขมากกว่าความเป็นจริงทางสังคม แท้จริงแล้วประมาณร้อยละ 60 ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า GDP มาจากคนงานและชนชั้นล่าง
    2.ให้กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และต้องเท่ากันทั้งประเทศ
    3. กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี อย่างไรก็ตามปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานยังคงพยายามที่จะดำเนินการปรับค่าจ้างตามกรอบความคิดเดิม คือปล่อยค่าจ้างลอยตัวในแต่ละจังหวัดให้ดำเนินการได้เอง และเพิ่มสูตรการคิดให้ซับซ้อนมากขึ้นซึ่งในอนาคตค่าจ้างอาจมีถึง 77 ราคา ไม่เกิดผลดีต่อระบบโครงสร้างค่าจ้าง และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จะเป็นการตอกย้ำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคมมากขึ้น
    ซึ่งจากข้อเรียงร้องข้างต้น ก็ได้รับเสียงคัดค้านจากภาคเอกชนหลายกระแส ทั้งจาก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) หรือจากปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง
    นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ในส่วนของเอกชนมองว่าในอัตราดังกล่าวไม่สามารถเป็นไปได้ เนื่องจากในอัตรา 700 บาทต่อวันถือเป็นค่าแรงที่เกินในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้หากมีการปรับขึ้นเชื่อว่าในภาคการค้า บริการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงแรม ค้าขาย จะได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงนอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามมองว่าภาครัฐจะดูแลค่าจ้างแรงงานอย่างเหมาะสม และคณะกรรมการไตรภาคีจะพิจารณาปัจจัยประกอบทั้งค่าครองชีพ พื้นที่ที่ปรับเพิ่มอย่างรอบคอบ เนื่องจากแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัดมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน
    ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวว่า การเรียกร้องขอปรับค่าจ้างมากถึง 700 บาท เป็นไปไม่ได้ การปรับค่าจ้างจะต้องอยู่บนความเป็นจริง ต้องพิจารณาสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การพิจารณาค่าจ้างเป็นระบบไตรภาคี มีอนุกรรมการค่าจ้างแต่ละจังหวัดรวบรวมข้อมูล ปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจ ซึ่งระบบไตรภาคีมีกฎหมายกำหนดไว้จะให้ยกเลิกไปใช้วิธีอื่นไม่ได้
    ในปีที่ผ่านมากลุ่มผู้ใช้แรงงานเรียกร้องปรับขึ้น 360 บาท แต่สภาพเศรษฐกิจช่วงนั้นยังไม่ดีจึงปรับมากไม่ได้ ครั้งแรกคาดว่าน่าจะปรับขึ้นได้ถึง 320 บาท แต่เมื่อนำข้อมูลการปรับค่าจ้างและปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจมาเข้าสูตรคำนวณ สามารถปรับขึ้นได้ 5-10 บาท ใน 69 จังหวัด ค่าจ้างจาก 300 บาทขยับไปเป็น 305, 308 และ 310 บาท ส่วนอีก 8 จังหวัด ไม่ปรับขึ้น ยังคงที่ 300 บาท เพราะสูตรกำหนดให้ปรับขึ้นไม่ถึง 1 บาท แต่ในปีนี้เศรษฐกิจโตขึ้นจึงจะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำแน่นอน และอาจจะปรับขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา แต่จะไม่ใช้การปรับขึ้นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ เพราะแต่ละจังหวัดมีสภาพเศรษฐกิจ มีปัจจัยต้นทุนแตกต่างกัน ค่าจ้างจึงต้องแตกต่างกัน
    ทั้งนี้ นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน คสรท. กล่าวว่า ตัวเลข 600-700 บาท ที่พูดออกไป เป็นเพียงการยกเอาผลการสำรวจของ คสรท. เมื่อปี 2554 ซึ่งผลสำรวจค่าจ้างที่เพียงพอในปีนั้นอยู่ที่ 560 บาท แต่ผ่านมาแล้วหลายปี ด้วยอัตราเงินเฟ้อและทุกอย่างเปลี่ยนไปจึงทำให้ค่าจ้างที่คน 1 คน จะสามารถเลี้ยงดูคนในครอบครัวได้อีก 2 คน จะต้องอยู่ที่ 600-700 บาท เป็นการเปรียบเทียบว่าปัจจุบันต้องอัตรานี้ถึงจะอยู่ได้ เป็นเพียงตัวเลขตามการคำนวณ เป็นสูตรคิด จะได้แค่ไหนก็ต้องมาคุยกันในเวทีที่หลากหลายครอบคลุม ไม่ใช่แค่ไตรภาคี เพราะสุดท้ายลูกจ้างก็แพ้เสียงรัฐกับนายจ้าง 
    ขอบคุณที่มาข่าว : www.morning-news.bectero.com และ www.mthai.com

    ข่าว-โปรโมชั่นล่าสุดอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)