ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • ดอกเบี้ยเงินฝาก
  • ดอกเบี้ยเงินฝาก
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • ธ.ก.ส. เดินหน้าโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิต ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60

    29 ก.ย. 59 5,436
    ธ.ก.ส. เดินหน้าโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิต ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2559/60
    ธ.ก.ส. ร่วมกับรัฐบาล เดินหน้าโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิต ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 เปิดให้เกษตรกรแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการได้จนถึง 31 ต.ค. 59 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินเกษตรกร ลดต้นทุน เพิ่มผลการผลิต คุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และพัฒนาประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
    ระยะเวลาโครงการ
    วันนี้ - 31 ต.ค. 59 (ยกเว้นภาคใต้ ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 59)
    วัตถุประสงค์
    • เพื่อช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
    • ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
    • กระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับฐานราก
    คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์
    • เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการเพาะปลูก 2559/60 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร
    • รับสิทธิ์ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสม
    ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ์
    • เกษตรกรแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการ
    • คณะกรรมการบริหารโครงการพิจารณา
      - ประชุมประชาคมหมู่บ้านรับรองเป็นผู้ปลูกข้าว
      - ตรวจสอบข้อมูลผู้ปลูกข้าว โดยคณะกรรมการบริหารโครงการระดับอำเภอ
      - ธ.ก.ส. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเกษตรกรรายคน
    • เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือ โดยได้รับโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ต่อราย
    มาตราการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 ผ่านระบบ ธ.ก.ส. 
    1. แบ่งเบาภาระหนี้สินของเกษตรกร ผ่านโครงการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย
      - สำหรับเกษตรกรรายย่อยลูกค้า ธ.ก.ส. ที่มีหนี้เงินกู้ก่อน 1 มิถุนายน 2559 ต้นเงินรายละไม่เกิน 5 แสนบาท
      - พักชำระหนี้ต้นเงินเป็นระยะเวลา 2 ปี และลดดอกเบี้ย 3% (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 - 30 มิถุนายน 2561)
      - เกษตรกรที่เข้าร่วมดครงการมีสิทธิกู้เงินเพื่อฟื้นฟู หรือพัฒนาอาชีพของตนเองได้ตามศักยภาพ
    2. ลดต้นทุน เพิ่มผลการผลิต ผ่านโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต
      - สำหรับเกษตรกรที่ปลูกข้าวปี 2559/60 โดยแสดงความประสงค์ต่อคณะกรรมดารบริหารโครงการฯ ระดับหมูบ้าน/แขวง/เทศบาล
      - เกษตรกรจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ต่อราย โดยโอนผ่านบัญชีเงินฝากของ ธ.ก.ส. (1 ครัวเรือน 1 สิทธิ์)
    3. คุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ผ่านโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2559
      - คุ้มครองกรณีเกิดภัยธรรมชาติ 7 ประเภท ได้แก่ อุทกภัย ฝนทิ้งช่วง ลมพายุ อากาศนาว ลูกเห็บ และอัคคีภัย รวมทั้งภัยจากศัตรูพืชและโรคระบาด
      - วงเงินคุ้มครอง 1,111 บาทต่อไร่ (กรณีภัยจากศัตรูพืช และโรคระบาด วงเงินคุ้มครอง 555 บาทต่อไร่)
      - อัตราค่าเบี้ยประกัน ไร่ละ 100 บาท (รัฐบาลอุดหนุน 60 บาท เกษตรกรชำระไร่ละ 40 บาท)
      - สำหรับเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ค่าเบี้ยประกันภัย ธ.ก.ส. จะอุดหนุนให้ตามสัดส่วนของเงินกู้
    4. พัฒนาประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ผ่านโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อย
      - อบรมพัฒนายกระดับประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อย เพื่อเพิ่มรายได้ และการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม
      - สนับสนุนให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ดูแล ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาหนี้สินในครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-555-0555 หรือ www.baac.or.th

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    ข่าว-โปรโมชั่นล่าสุดอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)