ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • ดอกเบี้ยเงินฝาก
  • ดอกเบี้ยเงินฝาก
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • ออมเงินเป็น ชีวิตก็เป๊ะ!

    19 ต.ค. 58 4,969
    ออมเงินเป็น ชีวิตก็เป๊ะ!
    การวางแผนทางการเงินให้ดีนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากที่เราก็ทำได้ เพียงแค่ต้องรู้จักวิธีการบริหารหรือเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละคนก็พอ อยากมีชีวิตที่ลงตัว เป๊ะเวอร์ ลองมาหัดออมเงินให้เป็นด้วยวิธีง่ายๆ ที่วันนี้เรานำมาฝากกันนะคะ
    1. ออมก่อนใช้
    คนส่วนใหญ่คิดว่าเงินออมคือเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายทั้งเดือนแล้ว แต่นั่นคือความคิดที่ผิดค่ะ เพราะวิธีที่ถูกจริงๆ ในการสร้างเงินออมก็คือ เมื่อเราได้เงินเดือนมา ต้องแบ่งเงินส่วนที่จะออมไว้ก่อน (อาจจะนำเอาไปฝากธนาคารไว้เลย) ส่วนเงินที่เหลือจากนั้นค่อยนำเอามาเฉลี่ยใช้จ่ายให้พอในเดือนนั้นๆ
    สูตรง่ายๆ ในการคำนวณว่าอัตราการออมเงินของเราเป็นเท่าไร? :
     อัตราการออมเงิน = (1 - ค่าใช้จ่าย/รายได้) x 100
    ลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ: ถ้าเรามีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 20,000 บาท ถ้าตามสูตรแล้วจะมีอัตราการออมอยู่ที่ [1 - (20,000/30,000)] x 100 = 33% แต่ถ้าอีก 5 ปีต่อมา เรามีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 50,000 บาท และมีรายจ่ายเฉลี่ยเดือนละ 45,000 บาท อัตราการออมของเราก็จะเป็น 10% เท่ากับว่ามีอัตราการออมที่เป็นบวก เพราะมีรายได้เพิ่มขึ้น และทันกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่ถ้าสังเกตดูแล้ว อัตราการออมของเรานั้นลดลงจากเดิม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีเท่าไร และถ้าปล่อยไว้นานๆ แม้ว่าเราจะมีรายได้ดี แต่เงินออมของเราไม่ได้เพิ่มขึ้นตามรายได้เลย 
    2. จัดสรรเงินออม
    เราต้องทำการจัดสรรปันส่วนเงินออมให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยที่ต้องแบ่งเงินออมออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ
     เงินออมรวม = เงินเพื่อใช้จ่าย + เงินออมเพื่อฉุกเฉิน + เงินออมเพื่อลงทุน
    เงินออมเพื่อใช้จ่าย: เป็นเงินที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินของเรา อาจจะเป็นเงินที่สามารถนำมาผ่อนจ่ายหนี้บัตรเครดิต ชำระค่าใช้จ่ายประจำเดือนต่างๆ ซึ่งเงินออมส่วนนี้ควรจะมีจำนวนให้พอกับค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3 เดือนฅ
    เงินออมเพื่อฉุกเฉิน: จะต้องเป็นเงินที่เราเข้าถึงได้ เพื่อสามารถนำออกมาใช้ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน โดยที่เงินกองนี้ควรมีจำนวนเท่ากับค่าใช้จ่ายรายเดือนที่เราใช้ประจำรวมกัน 6 เดือน
    เงินออมเพื่อการลงทุน: เป็นเงินที่จะสามารถนำมาต่อยอดให้กับตัวเราได้ กองนี้จะต้องเป็นเงินเย็น ซึ่งเป็นเงินที่เราจะเอาไปไว้ลงทุนในระยะยาวได้ และต้องไม่ไปยุ่งกับเงินส่วนนี้เลยจนกว่าจะถึงกำหนดปันผล หรือกำหนดขายคืน แต่อย่าลืมว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ
    3. การทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย
    สิ่งสำคัญในการออมเงินคือเราต้องรู้ว่า เงินเข้า - ออกมีอะไรยังไง ค่าอะไรและเท่าไรบ้าง? ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีที่จะทำให้เราสามารถควบคุมได้ เพราะเราจะเห็นว่าแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ หรือแต่ละเดือนนั้นเราฟุ่มเฟือยไปกับอะไร และถ้าเราหยุดฟุ่มเฟือยได้ เราก็จะเปลี่ยนจากเงินที่เรานำไปซื้อนั้นเอากลับไปออมแทน
    4. การวางแผนการใช้เงินรายวัน
    มาถึงวิธีสุดท้ายกันบ้างค่ะ นั่นก็คือ การวางแผนการใช้จ่ายรายวันในแต่ละเดือน เมื่อได้เงินเดือนมา ให้เราหักเงินออม และค่าใช้จ่ายประจำเดือนออก ส่วนเงินที่เหลือคือเงินที่เราจะเอาไว้ใช้จ่ายรายวันนั่นเอง คิดง่ายๆ เลยค่ะ โดยการเอาเงินที่เหลือนั้นมาหารด้วย 30 วันนั่นเอง
    ลองมาดูตัวอย่างกันนะคะ

    เงินเดือน 25,000 บาท/เดือน, เงินออม 10,000 บาท, ค่าเช่า + ค่าน้ำ +ค่าไฟ 5,000 บาท, ค่าโทรศัพท์ 1,000 บาท

    25,000 - (10,000 + 5,000 + 1,000) = 9,000 บาท

    9,000 บาท/30 วัน = เราจะมีเงินใช้โดยประมาณวันละ 300 บาท
    เห็นมั้ยคะ ว่าการออมเงินนั้นไม่ยากเลย เพียงแต่เราต้องตั้งใจสักนิด... ถ้าเราทำตามแผนที่เราวางไว้ได้ อีกไม่กี่ปีเราก็จะสามารถมีเงินออม เงินเก็บ และมีนิสัยการบริหารการเงินที่ดีได้อย่างแน่นอน
    ขอขอบคุณ: ข้อมูลจากธนาคารกรุงศรีฯ, www.klonthaiclub.com, 

    ข่าว-โปรโมชั่นล่าสุดอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)