ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • โทรศัพท์มือถือ
  • โทรศัพท์มือถือ
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • รู้จัก NDID ทางเลือกใหม่ของการทำธุรกรรมออนไลน์ในยุคดิจิทัล ที่ทุกคนควรทราบ

    18 พ.ค. 64 851

    รู้จัก NDID ทางเลือกใหม่ของการทำธุรกรรมออนไลน์ในยุคดิจิทัล ที่ทุกคนควรทราบ

    หลายคนน่าจะเริ่มได้เห็นชื่อ "NDID" กันมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ต้องทำธุรกรรมการเงินอยู่เป็นประจำ หรือผู้ที่กำลังสนใจเปิดบัญชีเงินฝากออนไลน์ 'E-saving Bank' ที่ช่วงนี้หลายธนาคารคิดดอกเบี้ยเงินฝากให้ค่อนข้างสูง ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้น่าจะเป็นสองกลุ่มที่ต้องเห็นชื่อนี้อยู่บ่อยครั้ง เพราะการจะเปิดบัญชีออนไลน์ได้นั้นหนึ่งในเงื่อนไข ที่ธนาคารใส่มาให้ทุกแบงค์เลยก็คือ การต้องยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถเปิดบัญชีออนไลน์ได้เลย
    และยิ่งถ้าหากแผนพัฒนาระบบหน่วยงานราชการเกิดขึ้นจริงได้ ในอนาคตเราก็จะเห็นหน่วยงานราชการหลายแห่งนำระบบ NDID เข้ามาใช้งานกันแพร่หลายขึ้น เพื่อช่วยลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มความสะดวกในการให้บริการด้วย เรียกได้ว่าขยับตัวไปทางไหนเราก็เริ่มเห็นชื่อของ NDID บ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้นเราลองไปทำความรู้จักกับ "NDID" กันสักหน่อยดีกว่าครับว่า ระบบนี้คืออะไร? และทำไมเราต้องพบเจอบ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงความจำเป็นในการใช้งานมีมากแค่ไหน? ตามไปหาคำคอบกันได้ผ่านบทความนี้เลย!

    NDID คืออะไร? และมีที่มาอย่างไร?

    NDID (อ่านว่า เอ็น-ดี-ไอ-ดี) คือ 
    • NDID มีชื่อเต็มคือ National Digital ID เป็นระบบยืนยันหรือตรวจสอบตัวบุคคล เพื่อใช้อ้างอิงตัวตนของผู้ใช้บริการบนโลกดิจิทัล ทำให้สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากออนไลน์ การสมัครขอสินเชื่อออนไลน์ เป็นต้น โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาหรือสำนักงาน เพื่อทำการแสดงตนสำหรับสมัครบริการ เพราะสามารถใช้ข้อมูลของ NDID ให้การอ้างอิงตัวบุคคลแทนได้
    • NDID เป็นชื่อบริษัท National Digital ID Co., Ltd. หรือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด และเนื่องจากชื่อบริษัทเป็นที่รู้จักเป็นการทั่วไป ทางคณะกรรมการจึงเห็นสมควรให้ตั้งชื่อ N-D-I-D (เอ็น ดี ไอ ดี) เป็นชื่อของผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน ในการสื่อสารออกไปวงกว้าง เมื่อผู้ใช้ไปสมัครเปิดบริการ NDID Services ยังผู้ให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตน หรือ Identity Provider (IdP) ก็ให้เป็นอันรู้กันว่ามาสมัครเข้าระบบ NDID (Onboarding NDID with any IdP)
    ที่มาที่ไปของ NDID เป็นอย่างไร?
    NDID เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐฯ และหน่วยงานเอกชน ที่มีความต้องการตรงกัน 2 อย่าง คือ 1. ภาครัฐฯ ต้องการเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชนได้รวกเร็วขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ (Ease of Doing Business) 2. ภาคเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการเงินได้เห็นถึงข้อจำกัดในการยืนยันตัวตนร่วมกันระหว่างธนาคารหรือสถาบันการเงิน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน, ความน่าเชื่อถือ และการสิ้นเปลืองทรัพยากรที่มาจากรูปแบบการทำงานที่ล้าหลัง 
    ด้วยเหตุนี้ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) จึงได้ผลักดันโครงการ "NDID" ขึ้นมาร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ที่นำธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศเข้าร่วมพัฒนาฯ ด้วย จนทำให้สามารถจัดตั้งบริษัทเอกชนที่ชื่อว่า National Digital ID ได้สำเร็จ โดยปล่อยให้รับหน้าที่บริหารจัดการระบบ NDID 

    NDID เกี่ยวข้องยังไงกับตัวเรา? ไม่สมัครได้ไหม?

    NDID เกี่ยวข้องยังไงกับตัวเรา? คำตอบคือ เป็น "ทางเลือก" สำหรับใครที่ต้องเครื่องมือเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมการเงินครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤตของเจ้าไวรัสโควิด-19 แบบนี้ ที่ทำให้หลายคนไม่สามารถออกจากบ้าน เพื่อมุ่งหน้าไปยังธนาคารต่าง ๆ ได้สะดวกเหมือนปกติ ดังนั้นการที่เราเลือกใช้ระบบ NDID ก็จะสามารถช่วยลดขั้นตอนการติดต่อธนาคาร ในส่วนของการส่งเอกสารยืนยันตัวตนแบบออฟไลน์ไปได้ ทำให้สามารถเปิดบัญชีออนไลน์ รวมถึงบริการในอนาคตที่จะทยอยเปิดใช้อย่าง การขอสินเชื่อ, การต่อประกัน, การเปิดบัญชีสำหรับเล่นหุ้น ได้รวดเร็วและง่ายขึ้น เพียงแค่มีสมาร์ตโฟน
    ไม่สมัครใช้บริการ NDID ได้ไหม? 
    คำตอบคือ "ได้" ครับ เพราะอย่างที่เกริ่นไป NDID เป็นเพียงตัวเลือกหรือทางเลือกในการให้บริการธุรกรรมการเงินของธนาคารเท่านั้น เรามีสิทธิ์ที่จะเลือกสมัครได้ว่าจะสมัครหรือไม่สมัคร 

    ประโยชน์ของ NDID คืออะไร?

    อย่างที่ได้เกริ่นไปในช่วงต้นแล้วครับ ประโยชน์ของการมีระบบ NDID เข้ามาในประเทศไทย ในด้านของผู้บริโภคหลัก ๆ เลยคือ การเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในการใช้บริการธุรกรรมการเงิน เพราะในโลกดิจิทัลทุกวันนี้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาและเกือบทุกสถานที่ ดังนั้นเราจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไกลเพื่อไปยังธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อยืนยันตัวตน ซึ่งบางครั้งอาจอยู่ไกลจากจุดที่เราอยู่หรือต้องฝ่าอุปสรรคสุดน่าเบื่ออย่างการจราจรในกรุงเทพฯ สามารถเอาเวลาไปทำอย่างอื่นจะดีกว่า และเมื่อยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID เพียงครั้งแรกครั้งเดียว ก็สามารถเข้าถึงบริการธุรกรรมการเงินจากธนาคารได้ทุกธนาคารเลยด้วยนะ จากที่ปกติจะใช้บริการธนาคารไหนก็ต้องไปเดินเอกสารที่ธนาคารนั้น สะดวกขึ้นไหมล่ะ!
    ส่วนในด้านของธนาคาร สถาบันการเงิน หรือหน่วยงานราชการ แน่นอนว่าภาครัฐฯ พยายามผลักดันให้ "ดิจิทัล" เป็น infrastructure ของประเทศไทย ดังนั้นในอนาคตข้างหน้าถ้าหากทำได้สำเร็จ เราก็คงได้เห็นระบบยืนยันตัวตนแบบดิจิทัลอย่าง NDID เข้ามาช่วยให้บริการในภาครัฐมากขึ้น ไม่ต้องมาเซ็นรองรับสำเนาก็แบบเดิม และก็จะสามารถยกระดับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเพิ่มความน่าเชื่อถือที่มากยิ่งขึ้นในสายตานักลงทุนอีกด้วย รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการระบบการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูงยิ่งขึ้นจากเดิม สามารถลดต้นทุนในด้านบุคลากรและทรัพยากรอย่าง "กระดาษ" ลงได้ด้วย

    NDID เป็นระบบออนไลน์ ปลอดภัยแค่ไหน?

    ขึ้นชื่อว่า 'ออนไลน์' หลายคนน่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับข้อมูลของตนเองว่าจะปลอดภัยแค่ไหน? และยิ่งถ้าหากมีหน่วยงานรัฐฯ เข้ามาเกี่ยวข้องก็ยิ่งกังวลใจใช่ไหมล่ะครับ มาครับผมอธิบายหลักการออกแบบของระบบ NDID ให้ฟังว่าเขามีความปลอดภัยและได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลอยู่นะ
    สำหรับหลักการออกแบบระบบ NDID จะเป็นแบบ Data Security and Privacy by Design เป็นการออกแบบระบบบริการที่มีความปลอดภัยสูงด้วยการเข้ารหัสในการรับส่งข้อมูล และตัวระบบจะไม่มีการรวมข้อมุลไปยังศูนย์เก็บข้อมูล ซึ่งทำให้ตัวข้อมูลจะยังคงอยู่กับหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลและให้บริการลูกค้าเท่านั้น ตัวระบบถูกออกแบบภายใต้แนวคิด Decentralized ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Blockchain 
    ที่มีผู้ดูแลระบบคือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด (NDID) และจะไม่สามารถเห็นข้อมูลใดๆ ของลูกค้าได้ด้วยเช่นกัน แล้ว NDID ไว้ใจได้แค่ไหน? บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด (NDID) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเลกทรอนิกส์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทไปรษณีย์ไทย รวม ๆ แล้วมีบริษัทที่ร่วมทุนมากกว่า 60 บริษัท เลยทีเดียว
    ดังนั้นแต่ละบริษัทก็จะมีบทบาทการกำกับด้วย จึงทำให้มั่นใจได้ว่าหน่วยงานที่กำกับและบริษัทเหล่านั้น ต้องปฏิบัติตามกฏหมายและกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นอนครับ หากเปรียบเทียบวิธีการของ NDID Ecosystem กับวิธีการในปัจจุบันที่ใช้กระดาษมาเซ็นเอกสารสำเนาในการสมัครบริการต่างๆ ด้านความปลอดภัยจะเห็นได้ชัดว่า มีความปลอดภัยต่อข้อมูลมากกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญ และสะดวก ประหยัดเวลาไปได้เยอะ

    สรุป

    NDID ก็เป็นอีกหนึ่งบริการออนไลน์ ที่ส่วนตัวผมมองว่า เป็นทางเลือกที่มีประโยชน์พอสมควรนะครับ ทั้งแง่ของผู้บริโภคหรือลูกค้าอย่างเรา ที่ไม่จำเป็นต้องไปยืนยันตัวตนแบบเดิม ๆ เพื่อใช้บริการธุรกรรมการเงินให้วุ่นวาย หงุดหงิด และเสียเวลา เพราะการยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID เพียงครั้งเดียว เราก็สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการยืนยันตัวตนได้ทุกธนาคารเลย ส่วนในแง่ของผู้ให้บริการก็เป็นยกระดับความน่าเชื่อถือและบริการด้วยเทคโนโลยี ลดการใช้ทรัพยากรลงได้ด้วย ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยเพิ่มข้อมูล และการตัดสินใจใช้บริการ NDID ที่กำลังเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ให้กับทุกคนได้บ้างนะครับ

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    • วินระพี นาคสวัสดิ์
    • วินระพี นาคสวัสดิ์
      MOBILE GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)