ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • บ้านโครงการใหม่
  • บ้านโครงการใหม่
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • "รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)" ชมภาพล่าสุด . . ถ่ายเอง . . ถ่ายจริง คืบหน้าไปถึงไหนแล้ว

    25 ม.ค. 64 131,336
    เราเห็นโครงรถไฟฟ้าสายสีแดงกันมาซักพักใหญ่ๆ แล้ว โครงการนี้เริ่มต้นแบบแผนมาตั้งแต่ปี 2550 และเริ่มก่อสร้างในปี 2556 จนกระทั่งปัจจุบันโครงสร้างของหลายๆ สถานีเริ่มเสร็จไปบ้าง และมีแผนคาดว่าจะเปิดใช้บริการแล้ว โดยมีช่วงลำดับเวลาเปิดบริการดังนี้ค่ะ
    • มีนาคม - มิถุนายน 2564 : เปิดให้ทดลองใช้แบบจำกัดจำนวนผู้โดยสาร
    • กรกฏาคม - ตุลาคม 2564 : เปิดทดลองให้นั่งฟรี! ไม่จำกัดจำนวนผู้โดยสาร
    • พฤศจิกายน 2564 : เปิดบริการเต็มรูปแบบ พร้อมคิดค่าโดยสารตามอัตราปกติ
    โดยกรมการขนส่งทางรางได้เคาะราคาค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต นี้ไว้ที่ เริ่มต้น 14-42 บาท นั่นเองค่ะ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ก็ถือว่าเป็นรูปเป็นร่าง วันนี้ checkraka จะมาอัปเดตล่าสุด พร้อมเผยภาพถ่ายจริงของแต่ละสถานีให้ดูกันค่ะว่า มีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว
    รายละเอียดรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต
    • ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย
    • ระยะทางรวมทั้งหมด 26.3 กิโลเมตร
    • ก่อสร้างเป็นทางยกระดับจากสถานีกลางบางซื่อ ไปถึงสถานีดอนเมือง แล้วลดระดับลงมาเป็นระดับพื้นดินเมื่อพ้นจากสถานีดอนเมือง ไปจนถึงสถานีรังสิต
    • ประกอบไปด้วย 10 สถานีคือ 1. สถานีกลางบางซื่อ 2. สถานีจตุจักร 3. สถานีวัดเสมียนนารี 4. สถานีบางเขน 5. สถานีทุ่งสองห้อง 6. สถานีหลักสี่ 7. สถานีการเคหะ 8. สถานีดอนเมือง 9. สถานีหลักหก 10. สถานีรังสิต
    • เดินทางได้ด้วยความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม.
    • เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 3 สาย คือ MRT สายสีน้ำเงินสถานีบางซื่อ, สายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก), แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ)
    • ในอนาคตจะมีส่วนต่อขยาย สายสีแดงเข้ม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย)
    • คาดว่าจะเปิดให้ใช้บริการ มกราคม 2564

    แผนผังเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง และจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายอื่นๆ
    1. สถานีกลางบางซื่อ

    (ขอบคุณภาพจาก thairath)
    ไฮไลท์ของรถไฟฟ้าสายสีแดงนี้เลยก็คือ "สถานีกลางบางซื่อ"  สถานีนี้ได้รับการสถาปนาให้เป็นสถานีศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรางแห่งใหม่ของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ มีพื้นที่ทั้งหมดกว่า 120 ไร่ สถานีตั้งอยู่บริเวณชุมทางรถไฟสถานีบางซื่อ โดยเป็นจุดเชื่อมรถไฟฟ้าถึง 3 สายด้วยกันคือ สายสีแดงอ่อน ช่วงศาลายา-หัวหมาก, Airport Rail Link ส่วนต่อขยาย ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ และ MRT ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ที่เปิดใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เป็นจุดเชื่อมต่อที่สามารถเดินทางไปขึ้นขนส่งสาธารณะในรูปแบบอื่นได้อีก เช่น สามารถเดินทางไปสถานีขนส่งหมอชิตได้ด้วยค่ะ
    ที่ตั้งและทำเลรอบๆ สถานี
    บรรยากาศรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีกลางบางซื่อ

    ภาพบรรยากาศบริเวณด้านหน้าทางเข้าสถานี ดูใหญ่โตอลังการ

    ลักษณะอาคารเป็นอาคาร 4 ชั้น ภายในมีรวมสถานีรถไฟไว้อยู่มากมายหลายสาย

    เตรียมพร้อมเปิดให้ใช้งานได้ในปี 2564

    เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า MRT สถานีบางซื่อ ในอนาคตคาดว่าน่าจะทำทางที่สามารถเดินเชื่อมกันได้สะดวกๆ

    สถานีนี้ อยู่ใกล้กับศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

    สามารถเดินทางมาหมอชิตได้สะดวก
    สำหรับรายละเอียดความอลังการของสถานีบางซื่อ สามารถเข้าไปดูได้ที่ลิงก์นี้เลยค่ะ "ดูกันชัดๆ "Bangsue Station" อนาคตศูนย์กลางการเดินทาง และอสังหาฯ ของเมืองไทย"
    2. สถานีจตุจักร
    สถานีจตุจักร ตั้งอยู่บริเวณนิคมรถไฟ กม. 11 บริเวณรอบๆ สถานียังอยุ่ในระหว่างก่อสร้าง และยังไม่สามารถสัญจรด้วยรถส่วนตัวได้ อย่างไรก็ตามบริเวณถนนกำแพงเพชร 2 ที่อยู่ขนานกับถนนกำแพงเพชร 6 (ที่ตั้งสถานี) ถือว่าค่อนข้างคึกคัก เพราะมีร้านอาหาร ร้านค้าริมทางอยู่ค่อนข้างเยอะทีเดียวค่ะ
    ที่ตั้งและทำเลรอบๆ สถานี

    แผนที่ตั้งสถานีจตุจักร และสถานที่สำคัญใกล้เคียง
    บรรยากาศรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีจตุจักร

    สถานีจตุจักรในปัจจุบัน มีรั้วกั้น อยู่ในระหว่างก่อสร้าง ความก้าวหน้าประมาณ 70%

    ร้านค้าที่อยู่บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 ที่ขนานกับถนนที่ตั้งของรถไฟฟ้าสถานีจตุจักร

    สถานที่รอบๆ สถานี

    และอยู่ใกล้กับกองบังคับการตำรวจจราจร
    3. สถานีวัดเสมียนนารี
    ถ้าเทียบจาก 2 สถานีแรก สถานีวัดเสมียนนารี ดูจะเป็นรูปเป็นร่างมากกว่า โครงสร้างทุกอย่างเสร็จเกือบหมดแล้ว ความก้าวหน้าปัจจุบันเกือบจะ 100% สถานีค่อนข้างใหญ่ เริ่มต้นสถานีบริเวณหน้าโรงเรียนวัดเสมียน กินระยะทางยาวไปประมาณเกือบๆ 300 เมตร 
    ที่ตั้งและทำเลรอบๆ สถานี

    แผนที่สถานีวัดเสมียนนารี มี 8 ประตู ทางเข้า-ออกทั้งหมด 12 เส้นทาง
    จากประตูที่เห็นเลขซ้ำกัน แบ่งเป็นทางเข้า กับทางออก ประตูทางเข้านั้นจะมีบันไดเลื่อนให้
    ส่วนประตูทางออกจะเป็นบันไดธรรมดา แต่สามารถเดินขึ้นได้เหมือนกัน
    นอกจากนี้ก็ยังมีลิฟท์บริการให้ถึง 4 ตัวเลยทีเดียว
    บรรยากาศรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีวัดเสมียนนารี

    บรรยากาศสถานีจากถนนกำแพงเพชร 6 ที่ตั้งของสถานีวัดเสมียนนารี เห็นแบบนี้เสร็จเกือบ 100% แล้ว

    บริเวณทางขึ้น-ลงสถานี จะมีป้ายแผนที่ของสถานี และสถานีทั้งหมดของสายสีแดง

    โรงเรียนวัดเสมียนอยู่ตรงประตูรถไฟฟ้าที่ 1 ประตูนี้จะเป็นบันไดเลื่อนให้พอดี
    ออกจากโรงเรียนมา ก็สามารถเดินมาขึ้นได้อย่างสะดวกสบาย

    อีกไม่นาน เด็กๆ และคณะอาจารย์จากโรงเรียนวัดเสมียนนารีก็จะได้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงได้อย่างสะดวก

    ติดกับโรงเรียนเป็นวัดเสมียนนารีชื่อดัง

    วัดค่อนข้างใหญ่ และสวยงามทีเดียว

    ใต้สถานี จะมีที่จอดรถให้อย่างกว้างขวาง

    และมีจุดรับ-ส่งผู้โดยสาร มีแท็กซี่มาจอดรถตั้งแต่ตอนนี้แล้วค่ะ

    สะพานข้ามถนนวิภาวดีมี 2 ที่ คือประตู 5-7 และ 6-8 จากภาพเป็นประตู 6-8 ค่ะ

    ประตูที่ 6 จะลงฝั่งเดียวกับรถไฟฟ้า สามารถไปขึ้นรถไฟต่อได้
    4. สถานีบางเขน
    สถานีบางเขน ตั้งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงพยาบาลวิภาวดี และอยู่ใกล้กับรถไฟไทยสถานีบางเขน บริเวณนี้จะเชื่อมต่อกับถนนงามวงศ์วานด้วย ความก้าวหน้าสถานีนี้ประมาณ 99% แล้ว
    ที่ตั้งและทำเลรอบๆ สถานี

    แผนผังโครงการรถไฟฟ้า และประตูทางเข้า-ออกทั้งหมด ซึ่งจะมีทั้งหมด 8 ประตู มีลิฟท์โดยสารให้ 4 ตัวเหมือนกัน

    บรรยากาศสถานีบางเขน

    เชื่อมต่อกับถนนงามวงศ์วาน ที่อยู่ก่อนถึงสถานี

    ด้านข้างเป็นทางรถไฟไทย ด้านบนมีสะพานลอยข้ามทางรถไฟ แล้วข้ามยาวไปจนถึงอีกฟากของถนนวิภาวดี

    จากตรงนี้มองเห็นโรงพยาบาลวิภาวดีด้วยค่ะ

    บรรยากาศทางสะพานลอยข้ามถนนวิภาวดี

    ใต้สถานีเป็นถนนกำแพงเพชร 6 ค่อนข้างกว้างใหญ่
    จากที่เห็นในภาพนั้นเป็นประตูทางออกที่ 1 ซึ่งจะมีลิฟท์รองรับอยู่ด้วย

    ทางออก 2 อยู่ด้านท้ายสถานี ตรงนี้จะเป็นบันไดเลื่อน

    แถวๆ นี้จะมีร้านอาหารให้ด้วยค่ะ 

    ทางออกประตู 2 เดินลงมาก็เจอเซเว่น อีเลฟเว่น
    5. สถานีทุ่งสองห้อง
    มาถึงสถานีทุ่งสองห้อง ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบางเขน และยังใกล้กับโครงการบ้านเดี่ยว เดอะซิตี้ งามวงศ์วานของ เอพี (ไทยแลนด์) อีกด้วยค่ะ สถานีนี้อัปเดตเกือบ 100% แล้ว
    ที่ตั้งและทำเลรอบๆ สถานี

    แผนผังโครงการ จะเห็นว่าจำนวนประตูทางออกสถานีจะมีเท่ากับสถานีอื่นๆ คือ 8 ประตู 12 ทางเข้า-ออก
    มีลิฟท์ให้ 4 ตัว และทางออกไปทางถนนวิภาวดี ที่เป็นสะพานข้าม จะมีอยู่ 2 ทาง
    บรรยากาศรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีทุ่งสองห้อง

    บรรยากาศของสถานีทุ่งสองห้อง

    มี Family Mart อยู่บริเวณทางออก 2 ที่เป็นบันไดเลื่อน

    อยู่ใกล้กับเดลินิวส์

    ถ่ายจากสะพานลอยธรรมดา มุมนี้มองเห็นประตูทางออกข้ามฝั่งไปถนนวิภาวดี เห็นรางรถไฟด้วย

    เดินกันยาวๆ เลย

    มาถึงฝั่งถนนวิภาวดี ก็จะมีป้ายบอกทางขึ้นไปรถไฟฟ้าแบบนี้ ฝั่งนี้มีบันไดเลื่อนให้ น่าจะเป็นบันไดขึ้นอย่างเดียว
    เหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอสทั่วไป
    6. สถานีหลักสี่
    สถานีหลักสี่ ตั้งอยู่บริเวณแยกหลักสี่ ใกล้กับวัดหลักสี่ และไอทีสแควร์ ย่านนี้ค่อนข้างมีความเป็นชุมชน และมีสถานที่ราชการอยู่กระจัดกระจายในบริเวณนี้ สถานีนี้ก้าวหน้าไป 98% แล้ว
    ที่ตั้งและทำเลรอบๆ สถานี

    แผนผังสถานีหลักสี่ มีประตูทางเข้า-ออก 8 ประตู 12 ทาง ลิฟท์ 4 ตัว
    และทางข้ามถนนวิภาวดี 2 ทาง เหมือนกับสถานีอื่นๆ
    บรรยากาศรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีหลักสี่

    บรรยากาศสถานีหลักสี่

    อยู่ใกล้กับวัดหลักสี่ และไอที สแควร์

    วัดหลักสี่ 

    ประตูทางออกที่ 1 เชื่อมกับไอที สแควร์

    บรรยากาศทางเข้าไอที สแควร์ ยังไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะว่าจะมีทางที่เชื่อมต่อกับสถานีและตัวห้างฯ เลยไหม

    Foodland หลักสี่
    7. สถานีการเคหะ
    ต่อไปเป็นสถานีการเคหะ ตั้งอยู่บริเวณแฟลตการเคหะ บริเวณนี้จะค่อนข้างคึกคัก เพราะว่าอยู่ติดกับที่อยู่อาศัย และอยู่ใกล้ร้านเจ้เล้งอีกด้วย สถานีนี้ก็สร้างเสร็จไปประมาณ 98% 
    ที่ตั้งและทำเลรอบๆ สถานี

    แผนที่ตั้งสถานีการเคหะมีทางเข้า-ออก 8 ประตู 12 ทาง ลิฟท์ 4 ตัว และทางข้ามถนนวิภาวดี 2 ทาง
    บรรยากาศรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีการเคหะ

    บรรยากาศรถไฟฟ้าสถานีการเคหะ

    แฟลตการเคหะ อยู่ใกล้กับประตูทางออก 1 และ 2 บริเวณใต้สถานีเป็นถนนกว้างขวาง

    มีป้ายบอกประตูทางออก และสถานีทั้งหมดของสายสีแดง

    มีพื้นที่สำหรับจอดรถ ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์

    สถานีนี้ ยังสร้างทางข้ามถนนวิภาวดีไม่เสร็จค่ะ
    8. สถานีดอนเมือง
    สถานีดอนเมือง ตั้งอยู่ใกล้กับสนามบินดอนเมือง ซึ่งสำหรับใครที่อยากจะหลีกเลี่ยงรถติดตอนมาสนามบิน ก็สามารถใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดงสายนี้ได้ แต่อาจจะเดินเยอะหน่อย เพราะสถานีใหญ่มากๆ เลยค่ะ
    ที่ตั้งและทำเลรอบๆ สถานี

    แผนผังสถานีดอนเมือง กินพื้นที่ความยาวถึงเกือบ 600 เมตรเลย
    สำหรับประตูทางเข้า-ออก อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้จากป้าย เนื่องจากยังสร้างไม่เสร็จค่ะ
    บรรยากาศรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีดอนเมือง

    บรรยากาศสถานีดอนเมือง

    ทางข้ามถนนวิภาวดี ยังอยู่ในระหว่างก่อสร้าง ซึ่งอาจจะมีทางเชื่อมกับสนามบินด้วย

    ใต้สถานีมีที่จอดรถให้ทั้งจักรยานยนต์ และรถยนต์ 
    จากภาพ ด้านขวามือที่เห็นเป็นเต๊นท์ นั่นคือตลาดใหม่ดอนเมือง คึกคักมากค่ะ

    นอกจากนี้ยังมีจุดจอดรถสาธารณะรับ-ส่ง ทั้งรถสองแถว และวินมอเตอร์ไซค์

    มีที่นั่งรอให้ด้วย

    อยู่ใกล้สนามบินดอนเมืองมากเลยค่ะ

    ใกล้กับโรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
    9. สถานีหลักหก
    สถานีหลักหก ค่อนข้างอยู่นอกเมือง เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยสะดวกเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว และต้องเดินทางเข้าเมือง สำหรับสถานที่รอบๆ สถานี ส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนประชาชนทั่วไป และมีห้องพักให้เช่ารายเดือน รายวัน ตัวสถานีเขียนป้ายไว้ว่า สถานีหลักหก (ม.รังสิต) ซึ่งสามารถเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยรังสิตได้ ในระยะทางอีกประมาร 1.8 กม. คาดว่าในอนาคตจะมีรถโดยสารมารองรับบริเวณนี้เพิ่มเติมค่ะ
    ที่ตั้งและทำเลรอบๆ สถานี

    ทางออกคร่าวๆ ของสถานีหลักหก (เส้นสีฟ้าในภาพคือ ทางรถไฟชานเมืองธรรมดา ช่วงสถานีนี้จะอยู่ในระดับพื้นที่เท่ากัน)

    อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยรังสิตประมาณ 1.8 กม.
    สำหรับสถานที่อื่นๆ อาจจะต้องเดินทางด้วยรถโดยสารอีกต่อนึง
    บรรยากาศรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีหลักหก

    สถานีมีความใหญ่โต คร่อมถนนกำแพงเพชร 4 เลน และคร่อมทางรถไฟ ตัวสถานีอยู่ด้านบน
    แต่รางรถไฟฟ้าจะอยู่ระดับเดียวกับถนนค่ะ ถ้ามาจากสถานีดอนเมือง รถไฟก็จะไหลลงมาอยู่ระดับพื้นดิน
    ทำให้ขบวนรถจะขนานไปกับทางรถไฟชานเมืองธรรมดานั่นเองค่ะ

    สามารถเข้า-ออกสถานี ได้จากทั้งฝั่งซ้าย ฝั่งขวา และเลนกลาง
    ถ้าใครจะขึ้นที่สถานีนี้ ต้องขึ้นไปซื้อตั๋วด้านบน แล้วค่อยลงมารอรถด้านล่าง อารมณ์เดียวกับ BRT เลยค่ะ

    ถนนกำแพงเพชร 6 ช่วงนี้จะเริ่มไม่ขนานกับถนนวิภาวดีแล้วค่ะ

    ป้ายสถานีหลักหก (ม.รังสิต) ใต้สถานีมีที่จอดรถ

    ใหญ่โตมากจริงๆ

    เห็นแบบนี้ สถานีนี้สร้างเสร็จ 100% แล้วค่ะ
    10. สถานีรังสิต
    มาถึงสถานีสุดท้ายกันแล้วค่ะ สถานีรังสิต โดยสถานีนี้จะเป็นรถไฟฟ้าแบบลอยฟ้าอีกครั้งนึง สถานที่รอบๆ เป็นพื้นที่โล่งๆ เราจึงสามารถนำภาพถ่ายมุมสูงมาฝากกันได้ค่ะ ตัวสถานีมีรั้วกั้น ยังไม่สามารถเข้าไปได้ แต่ความคืบหน้าของสถานีนั้น 100% แล้วค่ะ
    ที่ตั้งและทำเลรอบๆ สถานี
    บรรยากาศรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีรังสิต

    บรรยากาศสถานีรังสิต จากสถานีหลักหกที่อยู่ระดับเดียวกับพื้นถนน
    ถ้ามาสถานีรังสิต ก็จะเป็นทางสโลปขึ้นบนฟ้าอีกครั้ง ผ่านถนนรังสิต-ปทุมธานี

    จะเห็นว่าพื้นที่บริเวณรอบๆ สถานีเป็นบ้านเรือนประชาชน และยังมีพื้นที่เปล่าอยู่
    ในอนาคตอาจจะมีบริษัทอสังหาริมทรัพย์มาลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยก็เป็นได้

    อีกไม่เกิน 10 ปี ถ้ารถไฟฟ้าได้เปิดใช้งาน ก็อาจจะมีการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เจริญขึ้นตามๆ ไปด้วย

    บริเวณประตูทางขึ้น-ลงสถานี ครอบคลุมทั้งสองฝั่งถนน ใต้สถานีอาจจะทำเป็นที่จอดรถ หรือพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ได้

    ทางรถไฟยังทอดยาวไปอีก สำหรับสถานีส่วนต่อขยายในอนาคตค่ะ
    • พชรธรณ์ ถิ่นสอน
    • พชรธรณ์ ถิ่นสอน
      PROPERTY GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)