ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • บ้านโครงการใหม่
  • บ้านโครงการใหม่
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • "โซลาร์รูฟท็อป" คืออะไร? ติดแล้วจะประหยัดค่าไฟจริงไหม ?

    14 ม.ค. 64 14,035
    ในต่างประเทศที่มีแสงแดดจัดได้มีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ที่เรียกว่า เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อทดแทนการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบเดิม โดยผลักดันให้มีการนำ Solar Cell มาติดตั้งบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย และบนอาคารต่าง ๆ หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "โซลาร์รูฟท็อป" (Solar Rooftop) เพื่อให้บ้านทุกหลังที่ติดตั้งได้ทำการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองในเวลากลางวัน เป็นการประหยัดไฟฟ้าและลดภาวะโลกร้อนไปด้วย อย่างในประเทศไทยเราที่มีแสงแดดจัดๆ เช่นกันนี้ทำให้เทคโนโลยี "โซลาร์รูฟท็อป" ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ "โซลาร์รูฟท็อป" พร้อมหาคำตอบของความคุ้มค่าในการติดตั้ง และแพ็คเกจการติดตั้งมาฝากกันด้วยค่ะ
    โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คืออะไร ?
    ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ก็คือการนำแผงโซลาร์เซลล์ มาติดตั้งบนหลังคาบ้าน หรือที่พักอาศัยต่างๆ เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วเอามาใช้ภายในบ้านนั่นเองค่ะ

    ตัวอย่างโซลาร์รูฟท็อปที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาบ้าน
    โดยหลักการทำงานก็คือ เมื่อได้รับพลังงานแสงอาทิตย์มาแล้ว จะเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ที่เรียกว่า Inverter แล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นกระแสสลับ (AC) เราก็จะได้พลังงานไฟฟ้าไปใช้งานในบ้านได้ ทั้งหลอดไฟ ตู้เย็น ทีวี พัดลม และถ้ายังมีกระแสไฟฟ้าเหลือก็สามารถนำไปขายให้กับหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนได้อีกด้วย

    ภาพแสดงหลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อป
    การใช้ไฟฟ้าจาก "โซลาร์รูฟท็อป" ในบางประเทศเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
    จากกระแสการตื่นตัวกับสภาวะโลกร้อน และลดภาระจากการใช้เชื้อเพลิง "โซล่าร์รูฟท็อป" จึงได้รับความนิยมจากหลายๆ ประเทศมาอย่างยาวนาน เพราะนอกจากจะเป็นพลังงานที่สามารถนำมาหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่มีวันหมดแล้ว ยังไม่ก่อให้เกิดมลภาวะใดๆ ที่ส่งผลเสียต่อโลกอีกด้วย คราวนี้เราลองมาดูกันค่ะว่า มีประเทศไหนบ้างที่มีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และแต่ละประเทศสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานได้ทั้งหมดเท่าไหร่ ?

    เมืองมาสดาร์ ซิตี้ (Masdar City) ณ กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)
    "มาสดาร์ ซิตี้ (Masdar City)" เมืองพลังงานหมุนเวียนแห่งอนาคต ตั้งอยู่แถบชานกรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) อาคารทั้งหมดในเมืองนี้ใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์รูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคาอาคารเป็นพลังงานไฟฟ้าหลัก เพื่อรองรับการอยู่อาศัยของประชากรราว 40,000 คน และอีก 50,000 คน ที่คาดว่าจะเดินทางเข้าออกเมืองในแต่ละวัน เรียกว่าเป็นเมืองต้นแบบให้กับเมืองอื่นๆ ของโลกเลยค่ะ

    ชุมชนพลังงานแสงอาทิตย์ ณ เมืองไฟร์บวร์ก ประเทศเยอรมนี (source)
    เมืองไฟร์บวร์ก (Freiburg) ประเทศเยอรมนี ได้มีการจัดตั้ง "Solar Settlement" หรือ "ชุมชนพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบ" โดยอาคารทุกหลังมีการติดตั้งแผงโซลาร์รูฟท็อป ไว้บนหลังคาเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้ชุมชนแห่งนี้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 420,000 กิโลวัตต์/ชั่วโมง และคิดเป็นพลังงานที่ส่งออกสูงสุดต่อปีถึง 445 กิโลวัตต์ เมื่อคำนวณแล้วจะเห็นได้ว่าชุมชนแห่งนี้สามารถลดการใช้พลังงาน เมื่อเทียบกับน้ำมันถึง 200,000 ลิตร และลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 500 ตัน

    การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในประเทศญี่ปุ่น (Source)
    ประเทศญี่ปุ่น ประชาชนต่างให้ความร่วมมือในการหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานนิวเคลียร์แบบเดิม ซึ่งผลจากการร่วมมือกันพบว่าสามารถผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 4,000 เมกะวัตต์ เทียบเท่ากับเตาปฏิกรณ์ไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 4 โรง อีกทั้งรัฐบาลยังมีนโยบายในการรับซื้อไฟฟ้าจากบ้านของประชาชนในราคาสูงที่กว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
    "โซลาร์รูฟท็อป" เหมาะกับใคร ใช้อย่างไรให้คุ้มค่า
    ในบ้านเราเอง มีลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ในโซนที่มีความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี จึงเหมาะกับการนำพลังงานแสดงอาทิตย์มาผลิดเป็นไฟฟ้าด้วยเช่นกันค่ะ โดยทางรัฐบาลเองก็มีการผลักดันให้มีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปได้อย่างเสรี และรับซื้อไฟฟ้าจากประชาชนด้วยเช่นกัน

    ขอบคุณภาพจาก tpifoam
    โซลาร์รูฟท็อป เหมาะกับใครบ้าง ?
    ทั้งนี้ เราต้องมาดูการใช้ไฟฟ้าของบ้านเรา หรือหน่วยงานของเราด้วยค่ะ เพราะแต่ละครัวเรือนนั้นจะแตกต่างกันไป ถ้าหากจะให้การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปนั้นคุ้มค่า ต้องเป็นบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่มีการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ Work From Home, โฮมออฟฟิศ, หรือโรงงานขนาดเล็ก ที่มีการใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในเวลากลางวัน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สามารถดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บไฟฟ้ามาใช้ในตอนกลางคืนนั่นเองค่ะ
    ประหยัดค่าไฟจริงหรือ ?
    ทาง กกพ. เขาแนะนำถึงความคุ้มทุนของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปนี้ต้องดูที่พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในแต่ละครัวเรือนเป็นหลัก เปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการและช่วงเวลาในการใช้ไฟฟ้าในบ้านของตนเองก่อน เช่น หากมีใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันมาก ระยะเวลาในการคุ้มทุนย่อมเร็วกว่า ถ้าผลิตไฟใช้เองได้ ก็จะไม่ต้องซื้อไฟฟ้า ก็จะทำให้ประหยัดค่าไฟประมาณ 3.80 บาทต่อหน่วย เหลือถึงขายไฟฟ้าในอัตราไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย อายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 10 ปี
    ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป
    อยากติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป หาได้ที่ไหน ?
    ปัจจุบันเริ่มมีหลายบริษัท หลายหน่วยงานที่รับติดตั้งและจัดจำหน่ายโซลาร์รูฟท็อปที่ได้มาตรฐานมาเลือกมากมายเลยทีเดียวค่ะ เราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของมูลค่าการลงทุนของเราได้เลย วันนี้ Checkraka จะยกตัวอย่างแพ็คเกจมาให้ดูกันด้านล่างนี้ค่ะ
    ตัวอย่างแพ็คเกจ บริษัท เอท โซลาร์ จำกัด ผู้ติดตั้งและจัดจำหน่ายระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ชั้นนำของประเทศไทย
    ตัวอย่างแพ็คเกจเริ่มต้น ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี ของ เอสซีจี โฮม
    ตัวอย่างการติดตั้ง
    การขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานรัฐ
    สำหรับประชาชนทั่วไปที่อยากขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าสามารถเข้าร่วมโครงการ "โซลาร์ ภาคประชาชน" โดยไปลงทะเบียนได้ที่ solar.erc.or.th เดิมทีนั้นมีการรับซื้อในอัตรา 1.68 บาทต่อหน่วย แต่เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมามีการปรับเพิ่มเป็น 2.20 บาทต่อหน่วย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 นี้
    เห็นแบบนี้แล้ว หากท่านใดสนใจอยากจะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาบ้าน คงมั่นใจได้ว่าการติดตั้งจะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน มีบริการติดตั้งให้กับเราตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ตั้งแต่สำรวจพื้นที่ในการติดตั้งไปจนถึงการยื่นเอกสารให้กับหน่วยงานของรัฐ แถมยังมีระยะเวลาในการใช้งานที่ยาวนาน สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาเพียงแค่ 8 ปี เรียกว่าได้ทั้งไฟฟ้าฟรี ได้ทั้งรายได้จากการขายไฟให้กับหน่วยงานของรัฐ แถมยังได้ช่วยรักษาให้โลกใบนี้ของเราให้น่าอยู่ไปอีกนานด้วยค่ะ

    หมายเหตุ
    • การคำนวณปริมาณหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ขั้นต่ำ/ปี ใช้สมมติฐานความเข้มแสงอาทิตย์สูงสุดที่ 4 ชม./วัน
    • สมมติฐานการคำนวณการคืนทุนใน 8 ปี เป็นการคำนวณจากกำลังการผลิตที่ 10 KW
    • สมมติฐานคำนวณการประหยัดไฟฟ้าได้ภายใน 25 ปี คำนวณจากอัตราค่าไฟฟ้า 5 บาท/หน่วย และปรับเพิ่มร้อยละ 5 ต่อปี
    • ปริมาณหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ขั้นต่ำ/ปี และค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้อาจแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ภูมิอากาศ,มุมองศา,การถูกบดบัง, พื้นที่ติดตั้ง

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    บทความล่าสุดอื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)