ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • คอนโดใหม่
  • คอนโดใหม่
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • "5 ขั้นตอน" ปล่อยเช่าคอนโดรายวันผ่าน Airbnb ให้ไม่ผิดกฎหมาย

    22 พ.ค. 62 60,329

    "5 ขั้นตอน" ปล่อยเช่าคอนโดรายวันผ่าน Airbnb ให้ไม่ผิดกฎหมาย

    หลายๆ คอนโดในเมืองไทยออกกฎไม่ให้มีการปล่อยเช่าคอนโดแบบ "รายวัน" หรือแบบ "รายสัปดาห์" กันมากขึ้น ด้วยเหตุผลว่าผิดกฎหมาย พรบ. โรงแรม วันนี้ CheckRaka.com พามาดูกันครับว่า ถ้าเรามีคอนโดแต่ยังปล่อยเช่า "รายเดือน" ไม่ได้ แต่ก็ยังอยากปล่อยเช่าให้มีรายได้เข้ามาดีกว่าปล่อยไว้เฉยๆ โดยอยากจะปล่อยเช่าแบบ "รายวัน" หรือ "รายสัปดาห์" แทน เราจะทำอย่างไร และแบบไหนที่จะไม่ผิดกฎหมาย

    ผิดกฎหมายอะไรบ้าง ... แล้วผิดจริงหรือ ?

    คอนโดส่วนใหญ่จะบอกว่าการปล่อยเช่าคอนโดรายวัน หรือรายสัปดาห์ ผิดกฎหมายโรงแรมบ้าง หรือผิดกฎหมายคอนโดบ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ถูกต้องบ้าง ไม่ถูกต้องบ้าง เรามาดูกฎหมายกันรายตัวเลยครับ
     กฎหมาย เนื้อหา  สิ่งที่ห้ามหรือเงื่อนไขที่ต้องทำ 
    • พ.ร.บ. โรงแรม พ.ศ.2547 (มาตราที่ 4 และ 15)

    • ข้อ 1 กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551
    คำว่า "โรงแรม" หมายถึงสถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ เพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือคนอื่นโดยมีค่าตอบแทน แต่มีข้อยกเว้น ต่อไปนี้ที่ถือว่าไม่เป็น "โรงแรม" คือ
    (ก) การปล่อยเช่าแบบคิดค่าบริการเป็นรายเดือน (มาตรา 4 พรบ. โรงแรม)
    (ข) สถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกัน หรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 4 ห้อง และมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกิน 20 คน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดแล้ว (ข้อ 1 กฎกระทรวง)
    • ห้ามทำกิจการโรงแรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตโรงแรม 

    • ถ้าไม่มีใบอนุญาตโรงแรม จะทำได้ก็ต่อเมื่อถ้ามีห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง และมีจำนวนผู้พักไม่เกิน 20 คน และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดแล้ว (รัฐมนตรีตามกฎตัวนี้คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)
    • พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (มาตรา 38)
    เจ้าบ้าน เจ้าของบ้าน หรือ ผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้น
    • ถ้ามีผู้พัก (Guests) เป็นชาวต่างชาติ เราในฐานะเจ้าของห้อง (Airbnb Host) จะต้องแจ้งเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองภายใน 24 ชม นับแต่เวลาเข้าพัก

    • กฎหมายตัวนี้ไม่มีข้อห้ามเรื่องการปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์
    • พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (มาตรา 8) 
    เจ้าของโรงเรือนที่ปล่อยเช่าทรัพย์สินจะต้องเสียภาษีโรงเรือน 12.5% ของจำนวนเงินที่ห้องชุดนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่มีสิทธิประเมิน "จำนวนเงินรายปี" นี้ได้ว่าควรเป็นเท่าใดตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 8 นี้
    • เจ้าของห้อง (Airbnb Host) รายวันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนเป็นจำนวนเท่ากับ 12.5% ของจำนวนเงินที่ห้องชุดนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ

    • กฎหมายตัวนี้ไม่มีข้อห้ามเรื่องการปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์
    • ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5) (ก)
    ผู้ให้เช่าทรัพย์สิน (รวมถึงคอนโด) ทุกกรณีทั้งแบบรายวัน และรายเดือน มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5) (ก)
    • เจ้าของห้อง (Airbnb Host) จะต้องยื่นแสดงรายได้ และเสียภาษีเงินได้เนื่องจากเป็นเงินได้ที่ได้จากการให้เช่าห้องคอนโด
    • กฎหมายตัวนี้ไม่มีข้อห้ามเรื่องการปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์
    • พ.ร.บ. อาคารชุด (มาตรา 32 และ 33)
    นิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่จัดการ และดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ตามข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด และตามมติของเจ้าของร่วม ซึ่งตาม พรบ นี้ข้อบังคับอาจรวมถึงกฎเกณฑ์ในการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล (เช่นปล่อยเช่าห้อง) และทรัพย์ส่วนกลางได้ 
    • กฎหมายตัวนี้ไม่มีข้อห้ามเรื่องการปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์

    • แต่เจ้าของร่วมสามารถเรียกประชุม และมีมติแก้ไข หรือใส่ใน "ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด" ได้ว่าห้ามมีการปล่อยเช่าแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ เจ้าของห้อง (Airbnb Host) จะไม่สามารถปล่อยเช่าห้องแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์ได้
    โดยสรุปเลยก็คือ ในบ้านเรายังมีความสับสนกันมากว่าการปล่อยเช่าคอนโดรายวัน หรือรายสัปดาห์ผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งถ้าเรามานั่งอ่านตัวกฎหมายทั้งหมดข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่ามีกฎหมายตัวเดียวที่ "ห้าม" คือ พ.ร.บ. โรงแรม แต่ตัว พ.ร.บ. โรงแรมเองก็มีข้อยกเว้น คือถ้าปล่อยเช่าห้องคอนโดไม่ถึง 4 ห้องในตึกเดียวกัน และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดแล้ว (กฎกระทรวง พ.ศ. 2551) ก็จะไม่ถือว่าผิดกฎหมายโรงแรมแต่อย่างใด เพราะถือว่าไม่ได้เป็นการประกอบกิจการโรงแรม แต่ตรงนี้คือความไม่ชัดเจนของกฎหมายไทยเรา กล่าวคือ ถ้าเรามีห้องชุดไม่ถึง 4 ห้อง และอยากปล่อยเช่ารายวันโดยไม่ถือว่าผิดกฎหมายโรงแรม เราต้อง "แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด" แต่ประเด็นคือ ปัจจุบัน กระทรวงหมาดไทยเราไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ออกมาว่าต้องแจ้งยังไง ใช้เอกสารอะไร และขั้นตอนเป็นยังไง ทำให้ตรงนี้เกิด "สูญญากาศ" อยู่ และดังนั้น ถ้าตราบใดที่กระบวนการแจ้งตรงนี้ไม่มีความชัดเจน เจ้าของห้องคอนโดปล่อยเช่าไม่รู้จะแจ้งยังไง หรือแบบไหน การปล่อยเช่าห้องคอนโดแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์ก็ยังผิดกฎหมายตามมาตรา 4 พ.ร.บ. โรงแรมอยู่ต่อไป ไม่ว่าเราจะมีห้องพักมาก หรือน้อยกว่า 4 ห้องก็ตาม 
    5 ขั้นตอน ปล่อยเช่าคอนโดรายวัน หรือรายสัปดาห์ ให้ไม่ผิดกฎหมาย
    ที่นี้มาถึงคำถามง่ายๆ ครับ ถ้าเรา (บุคคลธรรมดาไม่ใช่นิติบุคคล) มีห้องคอนโด แล้วอยากปล่อยเช่าแบบรายวัน หรือสัปดาห์ เราจะทำยังไง หรือต้องทำอะไรบ้าง ที่จะไม่ให้ผิดกฎหมาย หรือผิดกฎเกณฑ์ของคอนโด เรามาไล่ Checklist กันเป็นข้อๆ เลยครับ
    1. ขั้นแรกเลยครับ เช็คข้อบังคับอาคารชุดคอนโดเรา และมติเจ้าของร่วมคอนโดว่ามีข้อห้ามไม่ให้ปล่อยเช่าคอนโดแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์หรือไม่ ถ้าไม่มีข้อห้าม เราเดินหน้าต่อข้อ 2 เลยครับ แต่ถ้ามีข้อห้าม ก็ควรทำตาม และหยุดปล่อยเช่าแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์ทันทีครับ (หมายเหตุ การติดป้ายห้ามปล่อยเช่ารายวันในลิฟท์คอนโดอย่างที่ทำกันบ่อยๆ ไม่ได้หมายความว่าข้อห้ามนั้นจะอยู่ในข้อบังคับ หรือเป็นมติจากเจ้าของร่วมนะครับ) 
    2. อย่าปล่อยเช่าเกิน 4 ห้องต่อ 1 ชื่อเจ้าของ และลองติดต่อกระทรวงมหาดไทยว่าถ้าเราต้องการทำเรื่องแจ้งตามข้อ 1 ของกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 เพื่อให้เข้าข้อยกเว้นว่าไม่เป็น "โรงแรม" เราต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วก็ทำตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทยนั้น
    3. ข้อบังคับนิติบุคคลคอนโดส่วนใหญ่กำหนดว่าห้ามให้บุคคลภายนอก (ที่มิใช่เจ้าของห้องชุด) เข้ามาใช้พื้นที่ส่วนกลาง ดังนั้น ผู้เช่าจึงควรไม่ให้คนเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์เข้าใช้พื่นที่ส่วนกลาง ถ้าคนเช่าผิดตรงนี้ เจ้าของห้องคอนโดที่ปล่อยเช่าก็ต้องรับผิดชอบ
    4. คนให้เช่าจะมีรายได้จากการปล่อยเช่าแบบรายวัน หรือรายสัปดาห์ ซึ่งรายได้นี้หากไม่ได้ Declare ให้กรมสรรพากร ก็ถือว่าเป็นการเลี่ยงภาษี และผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงควรนำรายได้นี้เข้าระบบ และเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา และเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องด้วย
    5. หากคนเข้าพักเป็นคนต่างชาติ เจ้าของห้องต้องแจ้งกองตรวจคนเข้าเมืองภายใน 24 ชั่วโมงนับจากเวลาเข้าพักด้วย
    ข้อแนะนำที่จะทำให้ทุกฝ่าย win-win
    ต้องยอมรับว่าปัญหาการปล่อยห้องเช่า หรือคอนโดผ่าน Airbnb มีทั้งข้อดี (เช่น เป็นรายได้พิเศษให้เจ้าของห้อง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม) และข้อไม่ดี (เช่น ความปลอดภัยสำหรับคนอื่นในคอนโด ความไม่แฟร์ในการใช้ทรัพย์ส่วนกลาง) และถึงแม้ผู้ให้เช่าจะสามารถปล่อยเช่าแบบถูกกฎหมาย แต่ก็ต้องยอมรับว่าสังคมการอยู่คอนโดมิเนียมเป็นสังคมของการอยู่ร่วมกัน การปล่อยเช่ารายวันในอาคารแบบนี้ อาจมีผลกระทบกับคนอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกบ้านคนที่อยู่อาศัยจริงในคอนโดนั้น ซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการปล่อยเช่านี้เลย หลายๆ ประเทศเห็นข้อดี และข้อเสียตรงนี้ จึงพยามที่จะออกกฎหมายมารองรับ เพราะเริ่มตระหนักว่าการที่จะห้าม (Ban) การปล่อยเช่ารายวัน หรือสัปดาห์ตรงๆ อาจไม่เป็นประโยชน์เท่ากับการดีไซน์กฎเกณฑ์ให้สามารถทำได้ภายในกรอบที่กำหนดในลักษณะที่จะก่อให้เกิดเป็นประโยชน์แบบ Win-Win กับทุกฝ่าย เรามาดูกันครับว่า เราจะทำอะไรได้บ้างในเรื่องนี้
    ผลกระทบต่อลูกบ้าน
    ที่ไม่ได้ปล่อยเช่า
     ข้อเสนอแนะหรือหนทางลดปัญหา หากมีการให้ปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์
    ความสกปรก หรือความเสียหายต่อส่วนกลาง
    • ให้มีการเก็บเงินประกัน (Deposit) จากเจ้าของห้องที่ปล่อยเช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์เพื่อเก็บไว้เป็นเงินประกันสำหรับซ่อมแซมทรัพย์ส่วนกลาง เหมือนเวลาที่นิติบุคคลเรียกเก็บเงินประกันจากเจ้าของห้องที่จ้างผู้รับเหมาเข้ามาปรับปรุง หรือซ่อมแซมห้องชุด

    • นิติบุคคลอาคารชุดออกกฎห้ามผู้เข้าพักรายวัน หรือรายสัปดาห์ใช้พื้นที่ส่วนกลางที่ไม่ใช่ทางเข้าออกทั้งหมด (ส่วนกลางที่ไม่ใช่ทางเข้าออกก็เช่น สระว่ายน้ำ ยิม ห้องสมุด เป็นต้น)
    ความปลอดภัยต่อลูกบ้านคนอื่นๆ 
    • ให้มีการระบุในข้อบังคับอาคารชุดให้กำหนดจำนวนคนเข้าพัก (เช่น ห้องละไม่เกิน 2 คน เพื่อจำกัดจำนวนคน และเสียงดัง เป็นต้น) หรือเวลาเข้าพัก (เช่น ปล่อยเช่าได้เฉพาะเดือน เมษายน หรือธันวาคม สำหรับคอนโดในเมืองตากอากาศอย่าง พัทยา หรือหัวหิน เป็นต้น)
    • เวลาผู้เช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์เข้าพัก ผู้ให้เช่าต้องบังคับให้ผู้เช่าลงทะเบียนการเข้าพักกับนิติบุคคล และส่งสำเนา Passport ให้นิติบุคคลเก็บไว้เป็น Record ทุกครั้ง
    ความวุ่นวายต่อลูกบ้านคนอื่น หรือนิติบุคคล
    • เมื่อผู้ให้เช่ามีรายได้ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง หรือความเสียหายต่อทรัพย์ส่วนกลาง หรือเจ้าของร่วมคนอื่นๆ และการมีรายได้นั้นก็เป็นการเพิ่มงานให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดด้วย (เช่น ต้องคอยนั่งลงทะเบียนแขกเข้าพักโดยเฉพาะพวกแขกต่างชาติที่เครื่องบินลงเที่ยงคืนแล้วมาเช็คอินตอนเช้ามืด) ดังนั้น ผู้ให้เช่ารายวัน หรือรายสัปดาห์ควรต้องจ่าย "ค่าส่วนกลางในอัตราพิเศษ" หรือ "ค่าธรรมเนียมการปล่อยเช่า" ทั้งนี้เพื่อเป็นค่าเสียเวลา และเป็นรายได้ให้แก่ตัวคอนโด
    บทสรุปทั้งหมดในเรื่องนี้ ต้องยอมรับว่าปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นคือ ความไม่ชัดเจนของการออกกฎเกณฑ์ และการบังคับใช้กฎหมายไทยเราในเรื่องนี้ ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าความเห็นของผู้เขียนข้างต้นนี้จะ "จุดประกาย" ให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องออกมาสร้างกฎเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติในเรื่องนี้ให้เป็นบรรทัดฐานสำหรับทุกคนเดินตามได้อย่างชัดเจน แต่ตราบใดที่ความไม่ชัดเจนยังคงมีอยู่ ผู้เขียนก็หวังว่า ข้อเสนอแบบ Win-Win ที่พูดถึงข้างต้นก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับ "คนที่อยากปล่อยเช่า" และ "คนที่ได้รับการเดือดร้อนจากการปล่อยเช่า" ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุขในตึกเดียวกัน และแฟร์ๆ กันทุกฝ่ายนะครับ
    ช่วยกันกด Like หรือ Share นะครับถ้าบทความนี้เป็นประโยชน์ หรือทุกคนมีความเห็นกันว่าอย่างไรก็คอมเมนต์กันมาได้เลยครับ :)
    • ชัช อนุวัตรอุดม
    • ชัช อนุวัตรอุดม
      PROPERTY GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    คอนโดติดรถไฟฟ้าล่าสุด

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)