ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • โตโยต้า เดินหน้าสาทร โมเดล ต้นแบบเร่งแก้ปัญหาจราจร

    21 เม.ย. 60 2,312
    โตโยต้า เดินหน้าสาทร โมเดล ต้นแบบเร่งแก้ปัญหาจราจร
    โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย โดยคุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการและประธานร่วมคณะกรรมการโครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0 กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย พลตำรวจโทอำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พลตำรวจโท วิทยา ประยงค์พันธ์ุ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายชิน อาโอยามะ เจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี ร่วมแถลงข่าว "โครงการสาทรโมเดลขยายสู่กรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    "โครงการสาทรโมเดลขยายสู่กรุงเทพมหานคร" นับเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ โดยเริ่มก่อตั้งในเดือนมิถุนายน 2557 โดยสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือกันหลายฝ่ายทั้งจากกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน เพื่อบรรเทาการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพฯ โดยเริ่มต้นแบบจากถนนสาทร ซึ่งนับเป็นหนึ่งในย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ 
    โมเดลนี้ เริ่มจัดการโดยใช้มาตรการแก้ไขปัญหาจราจรอย่างเป็นระบบบนถนนสาทรและบริเวณโดยรอบ เช่น การริเริ่มรถบัสรับส่ง (Shuttle Bus) ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย รวมถึงมาตรการจอดแล้วจร (Park & Ride) พื้นที่จอดรถที่เชื่อมระบบขนส่งสาธารณะ และมาตรการควบคุมจัดการจราจร (Traffic Flow Management) บนถนนสาทร โดยได้รับเสียงตอบรับเชิงบวกจากผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการวางพื้นฐานบริการคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้สัญจรบนท้องถนน   
    ต่อมาในเดือนเมษายน 2558 มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี ได้สนับสนุนเงินทุนจำนวนประมาณ 110 ล้านบาทให้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินโครงการสาทรโมเดลให้มีขอบเขตการทำงานที่มากขึ้น โดยมุ่งยกระดับการดำเนินการทดลอง รวมถึงเชิญชวนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ด้วยกันในโครงการนี้ เป็นครั้งแรกที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาจราจรแบบบูรณาการ ทำให้โครงการมีความคืบหน้าไปเป็นอย่างมาก โดยมีการกำหนดมาตรการในบริเวณถนนสาทร ดังนี้
    มาตรการจอดแล้วจร : เพื่่อเพิ่ม ทางเลือกในการเดินทางสู่ถนนสาทร
    โครงการจอดแล้วจร (Park & Ride) มาตรการเพิ่มทางเลือกสำหรับการเดินทางของประชาชนเข้าสู่พื้นที่ถนนสาทร จากความร่วมมือของสมาคมค้าปลีกไทย, สมาคมห้างสรรพสินค้าไทยและบริษัท นิปปอน ปาร์คกิ้ง ดีเวลลอบเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แบ่งปันพื้นที่จอดรถ รวมถึงได้พัฒนาพื้นที่จอดรถขึ้นมาใหม่ ในทำเลที่เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก ซึ่งในปัจจุบันมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการนี้ 504 คน โดยเฉพาะจำนวนของผู้ใช้จุดจอดแล้วจรกรุงธนบุรีเฉลี่ย 280 คน ต่อวัน ในอนาคตเสนอให้ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดทำจุดจอดแล้วจรในบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าที่จะเปิดในอนาคต ให้มีจุดจอดเพียงพอ โดยดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจอื่นในบริเวณเดียวกันด้วยอีกด้วย
    มาตรการรถรับส่ง : เพื่อลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลบริเวณถนนสาทร 
    พัฒนาการให้บริการรถโรงเรียน (School Bus) ที่มีความปลอดภัยสูงในรูปแบบสถานีถึงโรงเรียน (Station to School) ทั้ง 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โดยผู้ปกครองมาส่งบุตรหลานตามจุดจอดที่กำหนดไว้ แล้วเดินทางต่อสู่โรงเรียนด้วยรถรับส่งที่โครงการจัดไว้ เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรหน้าโรงเรียน ประหยัดเวลาในการรับส่งบุตรหลาน โครงการใช้รถร่วมกัน (ทางเดียวกันมาด้วยกัน) หรือ ACP Car Sharing สนับสนุนให้ผู้ปกครองเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ร่วมกันเดินทางมาโรงเรียน โดยโครงการได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ปกครองและคณะผู้บริหารโรงเรียน โดยได้มีการสำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัย จัดกลุ่มนักเรียนที่อาศัยอยู่ใกล้กันหรือในแนวเส้นทางเดียวกัน โดยสามารถช่วยลดปริมาณรถสะสมเวลาเร่งด่วนได้    
    มาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน : เพื่อกระจายปริมาณรถยนต์ในช่วงเวลาเร่งด่วน
    มาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน (Flexible Working Time) เพื่อกระจายปริมาณรถยนต์ที่เข้าสู่พื้นที่ถนนสาทรในชั่วโมงเร่งด่วน ด้วยความร่วมมือของบริษัทเอกชนที่มีสำนักงานในบริเวณถนนสาทร และสีลม โดยใช้ข้อมูลการเดินทางของพนักงานที่ได้จาก Linkflow Application เพื่อใช้ออกแบบวางแนวทางการใช้มาตรการเหลื่อมเวลาทำงานในแต่ละบริษัทที่เข้าร่วม ซึ่งส่งผลดีโดยตรงต่อพนักงานคือ สามารถวางแผนการเดินทางเพื่อเข้าทำงานหรือเลิกงานได้เหมาะสม มีส่วนช่วยลดความแออัดบนท้องถนนลงได้ โดยมีพนักงานที่เข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 4,300 คน จาก 12 บริษัท  
    มาตรการบริหารจัดการจราจร
    1. การจัดช่องจราจรพิเศษ (Reversible Lane) ในช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้า โดยให้รถขาเข้าจากสะพานตากสิน และจากถนนเจริญราษฎร์สามารถเข้าสู่ถนนสาทรเหนือโดยใช้ช่องทางพิเศษได้ 1 ช่องทางบนถนนสาทรใต้ทำให้สามารถระบายปริมาณรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2. การจัดการจราจรบริเวณหน้าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ด้วยการหยุดรับส่งนักเรียนแล้วรีบเคลื่อนรถออกไป (Kiss & Go) โดยกำหนดจุดรับส่งอย่างเป็นระเบียบ พร้อมทั้งการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่จากกองบัญชาการตำรวจนครบาล ทำให้ปัญหารถชะลอตัว เนื่องจากการเปลี่ยนช่องทางเพื่อรับส่งนักเรียนเบาบางลงการจราจรช่วงก่อนถึงหน้าโรงเรียนคล่องตัวขึ้น 
    3. การบริหารควบคุมสัญญาณไฟจราจรที่สี่แยกสาทร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สามารถรับทราบข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการกำหนดสัญญาณไฟจราจร ด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยคำนวณจากปริมาณจราจรในแต่ละช่วงเวลาแบบเรียลไทม์ และระยะแถวคอยในแต่ละทิศทาง ช่วยให้สามารถกำหนดสัญญาณไฟจราจรได้อย่างเหมาะสมกับสภาพจราจรและมีประสิทธิภาพสูงสุด 
    ผลการดำเนินโครงการ "สาทรโมเดล"
    สภาพการจราจรบนถนนสาทรเหนือขาเข้าจากบริเวณสี่แยกสาทร ถึงสี่แยกวิทยุในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเช้าคล่องตัวมากขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยปริมาณการระบายรถเพื่มขึ้น 422 คันต่อชั่วโมง หรือ 12% การติดสะสมลดลง 
    แผนที่นำทาง (Roadmap) จากโครงการ สาทรโมเดล
    1. สนับสนุนให้มีการทำแผนแม่บทการจอดแล้วจรและนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับการขยายแนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะในอนาคต เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากพื้น ที่ซึ่งมีศักยภาพเป็นจุดจอดรถ การลดอุปสรรคด้านข้อกฎหมายในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่รวมถึงการสร้างรูปแบบทางธุรกิจที่เหมาะสมจากการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐฯและเอกชน เพื่อให้ผู้เดินทางเปลี่ยนมาใช้การจอดแล้วจรอย่างมากขึ้น และแพร่หลาย  
    2. ปริมาณการจราจรที่มากช่วงเวลาเร่งด่วนส่วนหนึ่ง มาจากผู้ปกครองใช้รถยนต์ส่วนตัวรับส่งบุตรหลาน สภาพปัญหาการจราจรหน้าโรงเรียนจึงแตกต่างกันไปตามลักษณะการเดินทางของเด็กนักเรียน จึงจำเป็นต้องวางแนวทางที่เหมาะสมแต่ละโรงเรียน โดยเริ่มจากการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางเพื่อเสนอทางเลือก เช่น โครงการรถรับส่ง หรือโครงการใช้รถร่วมกัน  
    3. ส่งเสริมให้มีการจัดทำข้อตกลงโดยสมัครใจร่วมกันระหว่างภาครัฐฯและองค์กรหรือสมาคมธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้บริษัทสมาชิกแต่ละบริษัท นำมาตรการเหลื่อมเวลาทำงานไปประยุกต์ใช้กับพนักงานอย่างทั่วถึง รวมถึงการเพิ่มทางเลือกใหม่ในการเดินทางแก่พนักงาน 
    4. แนวทางสำหรับการบริหารจัดการจราจร ได้แก่
    4.1 ขยายมาตรการต่างๆ เพื่อลดคอขวดบนท้องถนน ไปยังถนนสายหลักอื่นๆ พระรามสี่ เจริญกรุง สุขุมวิท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และอื่นๆ
    4.2 สนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปรับปรุงการบริหารสัญญาณไฟจราจร ด้วยมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่ง ได้จากการรวบรวมองค์ความรู้และเทคนิควิธีการที่เหมาะสม
    4.3 การผสานความร่วมมือภาครัฐฯ-เอกชน (PPP) ในการวางแผนและใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดปริมาณจราจร (เซ็นเซอร์)
    4.4 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมวิศวกรรมจราจร เพื่อสนับสนุนงานแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร 
    โครงการนี้นับเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้เกี่ยวข้องหลายส่วนช่วยกันผลักดันให้เกิดประโยนช์สูงสุดแก่ประชาชน ในการแก้ไขปัญหารถติด แม้จะย่างเข้าเพียงปีที่ 3 แต่นับว่ามีแนวโน้วดีขึ้นเรื่อยๆ 
    การแก้ปัญจราจรที่สะสมมานานนับสิบปี ไม่อาจแก้ไขได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ต้องอาศัยหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐและประชาชน ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนจึงมีส่วนร่วมในโครงนี้อย่างเต็มตัว

    ข่าว-โปรโมชั่นล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)