ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • โตโยต้า แถลงข่าวยอดขายปี 57 อยู่ที่ 327,027 คัน ลดลง 26.6% แต่ยังครองแชมป์อันดับหนึ่ง

    22 ม.ค. 58 2,769
    TOYOTA ยอดขายรวมปี 57 ลดลง 26.6% แต่ยังครองแชมป์อันดับหนึ่ง
    โตโยต้าคาดตลาดรวมในประเทศปี 2558 ขาย 920,000 คัน เป้าหมายการขายโตโยต้า 330,000 คัน ตลาดรถยนต์ปี 2557 ยอดขายรวม 881,832 คัน ลดลง 33.7%
    มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ปี 2557 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2558 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมโอกุระ กรุงเทพฯ   
    มร.ทานาดะ กล่าวว่า "ยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2557 มียอดขายอยู่ที่ 881,832 คัน มีอัตราการเติบโตลดลง 33.7% โดยตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มียอดขายลดลง 26.8% ตลาดรถยนต์นั่งมียอดขายลดลง 41.4% หากพิจารณาสถิติยอดขายตลาดรถยนต์จะพบว่าปีที่ผ่านมาถือเป็นปีที่มียอดขายสูงสุดเป็นอันดับ 3 ต่อจากปี 2556 และ 2555 ถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงต้นปีที่ผ่านมาจะส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง รวมถึงราคาพืชผลการเกษตรทรงตัวในระดับต่ำ ส่งผลให้ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนระมัดระวังเรื่องการลงทุนและใช้จ่าย ตลอดจนการปรับเข้าสู่สมดุลตามสภาวะปกติของตลาดรถยนต์หลังสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก"
    สถิติการขายรถยนต์ ในปี 2557
    ยอดขายปี 2557 เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2556 
    ปริมาณการขายรวม 881,832 คัน -33.7%
    รถยนต์นั่ง 369,839 คัน -41.4%
    รถเพื่อการพาณิชย์ 511,993 คัน -26.8%
    รถกระบะ 1 ตัน (รวมกระบะดัดแปลง) 420,829 คัน -28.4%
    รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 372,182 คัน -29.6%
    โดยโตโยต้ามียอดขาย 327,027 คัน ลดลง 26.6% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 151,763 คัน ลดลง 20.2% รถเพื่อการพาณิชย์ 175,264 คัน ลดลง 31.4% และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 164,849 คัน ลดลง 30.4.%
    สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2557
    ปริมาณการขายโตโยต้า 327,027 คัน ลดลง 26.6% ส่วนแบ่งการตลาด 37.1% 
    รถยนต์นั่ง 151,763 คัน ลดลง 20.2% ส่วนแบ่งการตลาด 41.0%
    รถเพื่อการพาณิชย์ 175,264 คัน ลดลง 31.4% ส่วนแบ่งการตลาด 34.2%
    รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 164,849 คัน ลดลง 30.4% ส่วนแบ่งการตลาด 39.2%
    รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมกระบะดัดแปลง) 144,693 คัน ลดลง 30.1% ส่วนแบ่งการตลาด 38.9%
    ด้านการส่งออกในปีที่ผ่านมา โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 425,730 คัน ลดลง 1.0% คิดเป็นมูลค่า 196,139 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 69,565.07 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่นำรายได้กลับสู่ประเทศไทยเป็นเงินทั้งสิ้น 265,704.07 ล้านบาท  
    สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ปี 2558 มร.ทานาดะ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2558 จะเป็นช่วงปรับฐานเพื่อกลับเข้าสู่สภาวะปกติของตลาดควบคู่ไปกับสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ดังนั้นคาดว่าจะมียอดขายรวมทั้งหมด 920,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 4.3%
    ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2558 
    ปริมาณการขายรวม 920,000 คัน

    เพิ่มขึ้น 4.3%
    รถยนต์นั่ง 397,200 คัน เพิ่มขึ้น 7.4%
    รถเพื่อการพาณิชย์ 522,800 คัน เพิ่มขึ้น 2.1%
    รถกระบะ 1 ตัน (รวมกระบะดัดแปลง) 427,700 คัน เพิ่มขึ้น 1.6%
    รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 379,700 คัน เพิ่มขึ้น 2.0%
    โดยโตโยต้าตั้งเป้าหมายการขายสำหรับตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ไว้ที่ 330,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 148,700 คัน ลดลง 2.0% รถเพื่อการพาณิชย์ 181,300 คัน เพิ่มขึ้น 3.4% และ รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 171,700 คัน เพิ่มขึ้น 4.1%
    ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2558
    ปริมาณการขายรวม 330,000 คัน เพิ่มขึ้น 4.3% ส่วนแบ่งการตลาด 35.9%
    รถยนต์นั่ง 148,700 คัน ลดลง 2.0% ส่วนแบ่งการตลาด 37.4% 
    รถเพื่อการพาณิชย์ 181,300 คัน เพิ่มขึ้น 3.4% ส่วนแบ่งการตลาด 34.7% 
    รถกระบะ 1 ตัน (รวมกระบะดัดแปลง) 171,700 คัน เพิ่มขึ้น 4.1% ส่วนแบ่งการตลาด 4.01% 
    รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 146,600 คัน เพิ่มขึ้น 1.3% ส่วนแบ่งการตลาด 38.6% 
    สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 390,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 183,700 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนมูลค่า 68,000 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 251,700 ล้านบาท
    มร.ทานาดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า "สำหรับแผนงานปีนี้ โตโยต้า พร้อมผลิตรถยนต์รุ่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ทั้งรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และคาดว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถกระตุ้นยอดขายตลาดรถยนต์ในประเทศไทยให้ดีขึ้น และที่สำคัญจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีนี้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จะกลายเป็นผู้นำกลุ่มธุรกิจ โตโยต้า ในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ด้วยการจัดตั้งสำนักงานเขตภูมิภาคแม่น้ำโขงเพื่อดูแลและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคนี้ เรายังคงมุ่งมั่นส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจชุมชนผ่านโครงการนวัตกรรมสังคมเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างความสุขอย่างยั่งยืน" 
    ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนธันวาคม 2557
    1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 89,504 คัน ลดลง 21.4% 
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 33,073 คัน ลดลง 19.9% ส่วนแบ่งการตลาด 37.0%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,646 คัน ลดลง 12.4% ส่วนแบ่งการตลาด 17.5%
    อันดับที่ 3 ฮอนด้า 13,369 คัน ลดลง 11.8% ส่วนแบ่งการตลาด 14.9%
    2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 36,738 คัน ลดลง 28.0%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,645 คัน ลดลง 9.0% ส่วนแบ่งการตลาด 42.6% 
    อันดับที่ 2 ฮอนด้า 9,763 คัน ลดลง 31.3% ส่วนแบ่งการตลาด 26.6%
    อันดับที่ 3 นิสสัน 2,794 คัน ลดลง 58.4% ส่วนแบ่งการตลาด 7.6%
    3. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 41,931 คัน ลดลง 23.1%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,353 คัน ลดลง 28.6% ส่วนแบ่งการตลาด 39.0%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,327 คัน ลดลง 12.9% ส่วนแบ่งการตลาด 34.2%
    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,616 คัน ลดลง 43.2% ส่วนแบ่งการตลาด 8.6%
    *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,478 คัน
    โตโยต้า 2,129 คัน - อีซูซุ 1,474 คัน - มิตซูบิชิ 641 คัน - เชฟโรเลต 228 คัน - ฟอร์ด 6 คัน 
    4. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 37,453 คัน ลดลง 19.7%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,224 คัน ลดลง 29.2% ส่วนแบ่งการตลาด 38.0%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,853 คัน ลดลง 10.3% ส่วนแบ่งการตลาด 34.3%
    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,975 คัน ลดลง 23.3% ส่วนแบ่งการตลาด 7.9%
    5. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 52,766 คัน ลดลง 16.1%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,428 คัน ลดลง 27.8% ส่วนแบ่งการตลาด 33.0%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ 15,646 คัน ลดลง 12.4% ส่วนแบ่งการตลาด 29.7%
    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,616 คัน ลดลง 43.2% ส่วนแบ่งการตลาด 6.9%
    สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม - ธันวาคม 2557
    1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 881,832 คัน ลดลง 33.7%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 327,027 คัน ลดลง 26.6% ส่วนแบ่งการตลาด 37.1%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ 160,286 คัน ลดลง 22.3% ส่วนแบ่งการตลาด 18.2%
    อันดับที่ 3 ฮอนด้า 106,482 คัน ลดลง 50.0% ส่วนแบ่งการตลาด 12.1%
    2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 369,839 คัน ลดลง 41.4%  
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 151,763 คัน ลดลง 20.2% ส่วนแบ่งการตลาด 41.0%
    อันดับที่ 2 ฮอนด้า 94,320 คัน ลดลง 51.2% ส่วนแบ่งการตลาด 25.5%
    อันดับที่ 3 นิสสัน 30,580 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งการตลาด 8.3%
    3. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 420,829 คัน ลดลง 28.4%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 164,849 คัน ลดลง 30.4% ส่วนแบ่งการตลาด 39.2%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ 146,919 คัน ลดลง 19.8% ส่วนแบ่งการตลาด 34.9%
    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 39,498 คัน ลดลง 34.4% ส่วนแบ่งการตลาด 9.4%
    4. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 372,182 คัน ลดลง 29.6%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 144,693 คัน ลดลง 30.1% ส่วนแบ่งการตลาด 38.9%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ 127,878 คัน ลดลง 28.3% ส่วนแบ่งการตลาด 34.4%
    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 33,104 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งการตลาด 8.9%
    5. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 511,993 คัน ลดลง 26.8%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า 175,264 คัน ลดลง 31.4% ส่วนแบ่งการตลาด 34.2%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ 160,286 คัน ลดลง 22.3% ส่วนแบ่งการตลาด 31.3%
    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 39,498 คัน ลดลง 34.4% ส่วนแบ่งการตลาด 7.7%

    ข่าว-โปรโมชั่นล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)