ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • เช็ครถก่อนเที่ยวอุ่นใจกว่า

    19 เม.ย. 64 1,826

    เช็ครถก่อนเที่ยวอุ่นใจกว่า

    ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่หลายคนเตรียมเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือไม่ก็ท่องเที่ยงไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงนี้ สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางก็อย่าลืมเตรียมความพร้อมของรถยนต์ให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งานและเพื่อสมรรถนะที่ดีอยู่เสมอ การตรวจสอบและเช็ครถยนต์เบื้องต้นง่ายๆ ด้วยตัวเองที่ใครๆ ก็ทำได้ เพื่อหาจุดบกพร่องก่อนที่จะนำรถไปเข้ารับการบริการต่อไป มาดูพร้อมกันเลยครับ

    ระบบของเหลว

    ระบบของเหลวต่างๆ เช่น ระดับน้ำในหม้อพักของระบบหล่อเย็น (หม้อน้ำ) ควรอยู่ในระดับขีดบน (MAX) ไม่เกินไม่ขาด หากขาดควรใช้น้ำยาสำหรับอม้อน้ำหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเปล่านะครับ ระดับน้ำมันเบรกก็เช่นกัน ควรอยู่ระดับพอดีที่ขีด (MAX) ส่วนของเครื่องยนต์นั้นหลัก ๆ ให้ดูที่ก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นเมื่อดึงออกมาในครั้งแรกควรทำความสะอาดเสียก่อนและเสียบกลับไปและดึงขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ให้สังเกตุน้ำมันที่ติดขึ้นมาว่าอยู่ระดับไหน 
    โดยจะมีระบุไว้ที่ก้านวัด (แล้วแต่รุ่น) ว่าระดับปกติ (MAX) โดยรถในบางรุ่นให้วัดในขณะอุณหภูมิเย็นก่อนจะสตาร์ทเครื่องยนต์ (Cool) หรือให้วัดหลังจากติดเครื่องยนต์ให้ทำงานปกติสักพักก่อนแล้วดับเครื่องยนต์จึงดึงก้านวัดออกมาดู (HOT) 
    ส่วนน้ำมันเกียร์นั้นอาจต้องมีความชำนาญเิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย เช่น เกียร์อัตโนมัติจะมีก้านวัดสั้น ๆ อยู่เช่นกัน และการวัดระดับน้ำมันเกียร์มักจะต้องวัดขณะเครื่องยนต์ทำงานสักระยะหนึ่งแล้วดับเครื่องยนต์เพื่อดึงก้านวัดออกมาเช็ค โดยระดับน้ำมันที่ติดออกมากับก้านวัดต้องอยู่ระดับ MAX พอดี และในรถที่ใช้พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิกก็ให้ตรวจที่กระปุกน้ำมันว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่อีกเช่นกันครับ  
    นอกจากนี้ให้สังเกตุว่าใต้ท้องรถมีคราบน้ำหรือของเหลวหยดบนพื้นในช่วงที่จอดรถทิ้งไว้หรือไม่ หากมีให้สงสัยไว้ก่อนว่ามีการรั่วซึมของระบบของเหลวในเครื่องยนต์รีบนำรถเข้ารับบริการให้เร็วที่สุดครับ
    ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (ทั้งเบนซินและดีเซล) เช็คจุดรั่วซึมต่างๆ ตรวจดูว่าอายุการใช้งานของใส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงถึงกำหนดควรเปลี่ยนหรือยัง เช่น ในรถเบนซินควรเปลี่ยนทุกๆ 80,000 กิโลเมตร และอาจรวมไปถึงปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยเพื่อความ "ชัวร์" ก่อนเดินทาง

    อย่าลืมเติมน้ำฉีดกระจกด้วยนะครับ

    ล้อและยาง

    ก่อนเดินทางหรือแม้จะขับรถออกจากบ้านผู้ขับรถควรตรวจเช็คความผิดปกติของยางเบื้องต้นก่อน เช่น ยางอ่อนหรือแบน ยางมีรอยปริแตก แก้มยางมีรอยแตกลายงาหรือไม่ และตรวจสภาพของหน้ายางหรือดอกยางว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ เช่น ร่องดอกยางเริ่มตื้น ดอกยางสึกหรอจนโลน (เรียบจนไม่มีร่องรีดน้ำ) เป็นต้น 
    นอกจากนี้ให้ตรวจดูว่าอายุการใช้งานของยางนั้นปีที่ผลิตเท่าไหร่ เช่น ที่แก้มยางจะมีตัวเลขเล็กๆ 4 หลักระบุไว้ 0119 นั่นคือ ผลิตสัปดาห์ที่ 1 ปี 2019 เป็นต้น โดยทั่วไปอายุยางที่ใช้งานไม่ควรเกิน 3 - 4 ปี และหมั่นสลับยางทุกๆ 40,000 กิโลเมตรเพื่อให้หน้ายางสึกหรอเท่าๆ กันทุกล้อยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น นอกจากนี้ก็ควรเลือกให้เหมาะสมตรงกับการใช้งานต่างๆ เช่น ใช้บรรทุก ใช้งานทั่วไป ยางรถ SUV โดยเฉพาะหรือยางสำหรับรถที่มีสมรรถนะสูง ๆ และอย่าลืมตรวจสอบลมยางอะไหล่ด้วยนะครับ สำหรับรถที่ใช้ชุดเติมลมฉุกเฉินก็ตรวจเช็คว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานด้วยครับ

    ช่วงล่าง-เบรก

    ระบบช่วงล่วงนับว่าสำคัญไม่แพ้เครื่องยนต์กับยาง เพราะถ้าหากช่วงล่างหลวม การควบคุมรถก็แย่ลง ตรวจสอบง่ายๆ ก่อนโดยสังเกตุจากการ "ฟังเสียง" เช่น เมื่อเลี้ยวสุดมีเสียงดัก "ก๊อกๆๆ" นั่นอาจหมายถึงลูกปืนเพลาล้อหน้าแตก หรือ เมื่อตกหลุดมีเสียง กึกๆ กักๆ เสียงอาจเกิดจากโช้ครั่วซึมแกนโช้คมีปัญหา หรือระบบบังคับเลี้ยวต่างๆ หลวม เช่น ลูกหมากคันชัก-คันส่ง และในส่วนของจุดยึดต่างๆ เช่น บูชปีกนก เหล็กกันโคลง เป็นต้น  
    อาการ "ช่วงล่างหลวม" อาจสังเกตุได้จากการขับรถผ่านเส้นแบ่งเลนและรถมีอาการ "เลื้อย" แปลกๆ ก็อาจเกิดจากชุดช่วงล่างหลวมได้เช่นกัน 
    ส่วนโช้คอัพนั้ให้สังเกตุในขณะขึ้น-ลง สะพานหรือเนินต่างๆ ตัวรถจะมีระยะยวบหรือยุบลงมากผิดปกติ และบางครั้งอาจมีการกระเด้งขึ้น-ลงต่อเนื่องอีกหลายๆ ครั้ง นั่นอสดงว่าโช้คเริ่มเสียแล้ว   
    ระบบเบรกตรวจง่ายๆ เพียงเหยียบค้างไว้และออกแรงเพิ่มดูว่าแป้นเหยียบคงที่หรือมีการขยับค่อยๆ ลงต่ำเรื่อยๆ หรือไม่ ระบบเบรกที่ปกติจะต้องไม่มีเหยียบแล้วจมลง แต่ถ้าแป้นเบรกจมลงเรื่อยๆ หรือ "เบรกหาย" แสดงว่าเกิดการรั่วซึมในระบบเบรกรีบนำรถเข้าตรวจเช็คก่อน แต่ถ้าเหยียบเบรกแล้วไม่มีน้ำหนักใดๆ เลยให้โทรเรียกช่างหรือรถยกด่วน!!! ไม่ควรขับไปเพราะนั่นคืออาการ "เบรกแตก"  
    ในส่วนของผ้าเบรกหากวิ่งมาเกิน 50,000 กิโลเมตรขึ้นไปให้ตรวจเช็คอย่างละเอียดว่า "ผ้าเบรก" นั้นเหลือความหนาต่ำกว่า 5 มิลลิเมตรหรือไม่ โดยอาจดูด้วยตาเปล่า (ถ้าล้อแม็กแบบมีช่องว่าง) หรืออาจเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ค

    ระบบไฟฟ้า

    ระบบไฟฟ้าในรถยนต์เริ่มตั้งแต่ส่วนเครื่องยนต์เบนซินที่ใช้ไฟในการจุดระเบิดของเครื่องยนต์เบนซิน เช่น หัวเทียน คอยล์จุดระเบิด เป็นต้น โดยอาการเบื้องต้นของระบบไฟเครื่องยนต์มีปัญหาคือ เครื่องสะดุด จอดรอบเดินเบาแล้วเครื่องสะอึก เร่งไม่ขึ้น กินน้ำมัน อาการเหล่านี้เกิดจากระบบไฟและอาจมากจากระบบน้ำมันเชื้อเพลิงที่อุดตันก็เป็นได้ 
    ในส่วนของเครื่องยนต์ดีเซลให้ตรวจเช็คสายไฟตามจุดสำคัญต่างๆ เช่น ปลั๊คของปั้มแรงดันสูง (หรือรถรุ่นเก่าก็ปลั๊คปั้มดีเซล) ปลั๊คหัวฉีด, ขั่วแบตเตอรี่ เป็นต้น   
    นอกจากนี้ก็ให้ตรวจเช็คการทำงานของระบบ "พัดลม" ระบายความร้อนด้วยว่าทำงานปกติอยู่หรือไม่ เพราะหากทุกอย่างดีหมดและพัดลมเสียก็อาจทำให้เครื่องยนต์ "ฮีต" ได้นะครับ
    ระบบไฟส่องสว่างต้องติดครบ! ทั้งไฟหน้าต่ำ-สูง ไฟท้าย ไฟเบรก ไฟเลี้ยว ต้องติดครบทุกดวง หากตรวจเช็คแล้วไม่ครบรีบเปลี่ยนก่อนเดินทาง เพื่อความปลอดภัยครับ 

    เตรียมคนขับ

    สิ่งสุดท้ายหากรถยนต์มีสุขภาพที่ดีแล้ว คนขับรถก็ต้องมีร่างกายที่สมบูรณ์พร้อมที่จะควบคุมรถให้เดินทางไปยังจุดหมายได้อย่างปลอดภัย และอย่าลืมท่องไว้เลย! 
    "ไม่ประมาท เมาไม่ขับ เคารพกฏจราจร ไม่ย้อนศร ไม่ขับหวาดเสียว ง่วงไม่ขับ และเปิดไฟเลี้ยวเมื่อเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวนะครับ"
    เพราะมีทั้งครอบครัวและคนที่คุณรักรออยู่ 
    • สินธนุ จำปีศรี
    • สินธนุ จำปีศรี
      Car GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)