ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • ซื้อรถมือสองอย่า 'โอนลอย' เสียเวลานิดหน่อย เสียงปัญหาตามมาเพียบ!

    24 พ.ค. 64 27,242

    ซื้อรถมือสองอย่า 'โอนลอย' เสียเวลานิดหน่อย เสียงปัญหาตามมาเพียบ!

    "การโอนลอย" คือ การมอบฉันทะการโอนกรรมสิทธิ์ในการซื้อขายอย่างไม่เป็นทางการ ในกรณีการซื้อขายรถยนต์ คือการที่เจ้าของรถได้ขายรถของตน และทำการลงนามในเอกสารการโอนรถและใบมอบอำนาจให้แก่ผู้ซื้อ โดยไม่ได้มีการดำเนินการทางทะเบียนที่สำนักงานขนส่งฯ ด้วยตนเอง
    ซึ่งหลายคนคิดว่าวิธีนี้สะดวก และไม่เสียเวลากันทั้งสองฝ่าย แต่ความจริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรอย่างยิ่ง!
    ผู้ที่ต้องการซื้อขายรถมือสองทั้งการซื้อต่อจากบุคคลหรือเต้นท์รถ ควรดำเนินการตามขั้นตอนโอนทางทะเบียนรถ ณ สำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนด้วยตนเอง เนื่องจากการซื้อ-ขายรถด้วยวิธีการโอนลอยโดยไม่ดำเนินการโอนทางทะเบียนให้ถูกต้องในทันที อาจก่อปัญหาให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายตามมาได้

    "โอนลอย" อาจซวยเรื่องไหนบ้าง? 

    แม้ว่าในทางกฎหมายถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้นย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน (ปพพ. มาตรา 458)
    แต่ถ้าผู้ซื้อยังไม่ไปดำเนินการโอนทางทะเบียนให้เป็นที่เรียบร้อย หากเกิดกรณีผู้ซื้อไม่ดำเนินการชำระภาษีรถประจำปี รถเกิดอุบัติเหตุ หรือนำรถไปกระทำผิดกฎหมาย ผู้ขายรถ (ซึ่งยังมีชื่อในทะเบียน) ก็ต้องไปพิสูจน์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในคดีอาญา หอบเอกสาร พยานไปแก้ต่างกัน เสียจิต เสียเวลาแน่นอนครับ
    ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดเมื่อมีการซื้อขายรถยนต์ ควรดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้เรียบร้อยด้วยตัวเอง ที่กรมขนส่งฯ นอกจากจะเป็นการป้องกันตัวเองในแง่ของคดีความแล้วแล้ว ยังเป็นการช่วยตรวจสอบรถอย่างละเอียดด้วยว่าเป็นรถที่ไม่ถูกโจรกรรม สวมซากย้อมแมวขายด้วย

    หลักฐานที่ใช้การโอนกรรมสิทธิ์รถ

    1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
    2. บัตรประจำตัวประชาชน ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
    3. สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
    4. สำเนาใบมรณะบัตรเจ้าของรถ และคำสั่งศาลหรือพินัยกรรมพร้อมสำเนา (กรณีโอนรับมรดก)
    5. แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียนร้อยแล้ว
    6. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอง กรณีผู้โอน และ/หรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง

    สถานที่ติดต่อ

    สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่ผู้โอนมีที่อยู่ปรากฎในใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือที่ขอแจ้งใช้รถไว้

    ขั้นตอนการดำเนินการ

    1. นำรถเข้ารับการตรวจสอบ ที่งานตรวจสภาพรถยนต์ (ยกเว้นกรณีโอนปิดบัญชีจากผู้ให้เช่าซื้อไปยังผู้เช่าซื้อ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียน ไม่ต้องตรวจสอบรถ)
    2. ยื่นเรื่องโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าธรรมเนียม ที่งานทะเบียนรถ
    3. รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน
    4. รับใบเสร็จรับเงิน ใบคู่มือจดทะเบียนรถ เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้าย ทะเบียนรถ

    ค่าธรรมเนียม

    1. ค่าคำขอ 5 บาท
    2. ค่าธรรมเนียมโอน 100 บาท
    3. ค่าอากรแสตมป์ 500 บาทต่อราคาประเมินรถทุก 100,000 บาท (เช่น หากประเมินราคารถยนต์ที่ 300,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ก็จะเท่ากับ 1,500 บาท)
    4. ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท (กรณีเปลี่ยน)
    5. ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท (กรณีเล่มทะเบียนขาด เก่า หรือชำรุด)
    • วโรดม อิ้วลันตา
    • วโรดม อิ้วลันตา
      Car GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)