ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • Auto Brake Hold ใช้งานอย่างไร?

    28 มิ.ย. 60 40,514

    Auto Brake Hold ใช้งานอย่างไร?

    รถยนต์ในปัจจุบันมีระบบต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือหรือเสริมให้การขับขี่สะดวกสบายและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นหลายแบบ ซึ่งระยะหลังเราจะเริ่มเห็นหรือได้ยินระบบ "Auto Brake Hold หรือระบบเบรกชั่วคราว" กันมากขึ้น จากผู้ผลิตรถยนต์หลายยี่ห้อซึ่งเริ่มติดตั้งกันมาจนเกือบจะกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานไปแล้วสำหรับรถบางรุ่น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับระบบ Auto Brake Hold กันครับ
    Auto Brake Hold คืออะไร?
    อธิบายง่ายๆ ก็คือ ระบบเบรกมือแบบทำงานโดยอัตโนมัติด้วยไฟฟ้า เช่น หากเปิดระบบใช้งานเอาไว้ เมื่อต้องการจอดรถชั่วคราวหรือจอดขณะติดสัญญาณไฟแดง ผู้ขับขี่เพียงแค่หยุดรถให้สนิทหลังจากนั้นระบบเบรกนี้ (Auto Brake Hold) ก็จะทำงานโดยการเบรกให้โดยที่ผู้ขับไม่ต้องค้างเท้าเอาไว้ที่แป้นเบรก แม้จะเข้าเกียร์ในตำแหน่งเดินหน้าหรือไม่ก็ตาม เปรียบเสมือน "การดึงเบรกมือ" เวลาจอดกันรถไหลเอาไว้นั่นเอง และเมื่อต้องการเคลื่อนที่ไปก็เพียงเหยียบคันเร่งเท่านั้น ระบบก็จะปล่อยเบรกทันที

    สัญลักษณ์ P หรือ "Parking" คือ เบรกมือสำหรับจอดนานๆ ส่วน Auto Brake Hold คือ จอดชั่วคราวนะครับ
    การใช้งาน Auto Brake Hold
    การใช้งานนั้นง่ายมากๆ เพียงแค่กดสวิตช์เปิดใช้งาน ไฟแสดงสถานะบนสวิตช์และบนหน้าปัดจะติดขึ้น เป็นอันเสร็จระบบก็พร้อมทำงาน 
    เมื่อขับรถมาเรื่อยๆ และต้องการหยุดรถหรือจอดรอสัญญาณไฟ ระบบนี้ก็จะเริ่มทำงานเมื่อรถจอดสนิท จะสังเกตว่าเมื่อปล่อยเบรก รถจะถูกเบรกค้างเอาไว้โดยอัตโนมัติแม้ปล่อยเบรก หากต้องการเคลื่อนที่หรือออกรถก็เพียงเหยียบคันเร่ง รถก็จะเดินหน้าและระบบจะปลดเบรกให้ทันที
    ระบบนี้จะทำงานตลอดแม้ว่าผู้ขับขี่จะเข้าตำแหน่งเกียร์ว่าง (N) นั่นคือ หากเข้าตำแหน่ง D เอาไว้ แม้จะจอดพื้นที่ต่างระดับรถก็จะไม่ไหล และเมื่อเข้าตำแหน่งเกียร์เดินหน้า ก็ไม่จำเป็นต้องเหยียบเบรก เพียงแค่เหยียบคันเร่งเช่นกัน และระบบจะตัดการทำงานก็ต่อเมื่อกดสวิตช์ปิดระบบหรือเมื่อดับเครื่องยนต์และสตาร์ตใหม่

    รุ่นนี้ระบบ Auto Brake Hold ใช้สัญลักษณ์ "A"
    ข้อควรระวังในการใช้งานระบบ Auto Brake Hold 
    ข้อควรระวังในการใช้ระบบนี้คือ เมื่อจอดรถสนิทและระบบเปิดใช้งานอยู่ ควรระมัดระวังอย่าเผลอเร่งเครื่องยนต์หรือเหยียบคันเร่งโดยไม่ตั้งใจ เพราะรถจะพุ่งตัวไปทันที ต้องดูให้แน่ใจว่าไฟแสดงการทำงานระบบ Auto Brake Hold นี้ติดอยู่หรือไม่
    เมื่อใช้งานระบบ Auto Brake Hold นี้ หากเจอการจราจรแบบไหลๆ หยุดๆ อาจส่งผลให้เกิดการขับขี่ที่กระชากและไม่นุ่มนวลนัก เพราะโดยปกติระบบเกียร์อัตโนมัติต้องเหยียบเบรกก่อนเข้าเกียร์เดินหน้าและปล่อยเบรก รถจะค่อยๆ เคลื่อนที่ออกไป แต่ถ้าใช้งานระบบ Auto Brake Hold อยู่นั้นรถจะไม่ไหล ผู้ขับขี่ต้องเหยียบคันเร่งเพื่อให้รถเคลื่อนที่ไปตามจังหวะการจราจร ซึ่งอาจเกิดความรำคาญหรืออาจเกิดความไม่สะดวกในการขับขี่ลักษณะแบบนี้    
    ระบบ Auto Brake Hold แตกต่างกับเบรกมือไฟฟ้าอย่างไร?
    ในรถยนต์ที่ติดตัังระบบ Auto Brake Hold นั้น ส่วนมากมักมีระบบเบรกมือไฟฟ้ามาด้วย เพราะใช้อุปกรณ์การทำงานชุดเดียวกัน การทำงานคล้ายกันแตกต่างเพียงแค่ระบบเบรกมือไฟฟ้านั้น เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อเราถึงที่หมาย จอดรถเป็นเวลานานๆ และเมื่อต้องการขับต่อไปจะต้องปลดระบบนี้ออกด้วย ไม่เช่นนั้นระบบเบรกจะเสียหายได้
    วิธีการใช้งานง่ายๆ ของระบบ Auto Brake Hold หรือระบบเบรกชั่วคราว ที่ติดตั้งในรถรุ่นใหม่บางรุ่น แม้จะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือการขับขี่ให้สะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็จำเป็นต้องศึกษาหลักการทำงานให้ถูกต้องด้วยครับ   
    • สินธนุ จำปีศรี
    • สินธนุ จำปีศรี
      Car GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)