ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • อาการเบรกแตกเป็นอย่างไร และวิธีปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อเบรกไม่อยู่!

    22 ก.พ. 60 42,692

    อาการเบรกแตกเป็นอย่างไร?

    อาการ "เบรกแตก" "เบรกหาย" เบรกแล้วจม! ล้วนเกิดจากระบบเบรกที่มีปัญหา เกิดการรั่วซึมจากทีละน้อยไปจนถึงรั่วมากๆ มาดูสาเหตุและวิธีการป้องกันแกไขกันดีกว่า
    ระบบเบรก
    ระบบเบรกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของรถยนต์ ทำหน้าที่ห้ามล้อ ชะลอหรือลดความเร็ว โดยมีส่วนประกอบคือ หม้อลมเบรก กระบอกลูกสูบเบรกด้านบน (ส่วนที่ต่อกับแป้นเบรกในรถ), ท่อทางเดินระบบเบรกไปยังชิ้นส่วนต่างๆ, วาล์วควบคุมแรงดันและกระจายแรงเบรก, อุปกรณ์ระบบปั๊ม ABS (ถ้ามี), แม่ปั๊มเบรกล่างหรือคาลิปเปอร์ (ดิสก์เบรก) / ลูกสูบเบรก (ดรัมเบรก), และน้ำมันเบรก เป็นต้น   

    ภาพจาก www.how-to-build-hotrods.com
    หลักการทำงาน เมื่อเหยียบแป้นเบรก ขาเบรกจะมีแกนที่ต่อไปกระบอกสูบด้านบน และเคลื่อนที่เพื่อดันน้ำมันเบรกที่อยู่ภายในให้ไหลไปตามท่อทางเดินและผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น วาล์วกระจายแรงเบรก, ระบบ ABS และไปยังแม่ปั๊มเบรกล่างทั้งคาลิปเปอร์ที่ล้อหรือกระบอกลูกสูบเบรก (ดรัม) ทั้ง 4 ล้อ เพื่อขยับหรือดันให้ผ้าเบรกไปสัมผัสกับจานเบรก/ดรัมเบรก เพื่อให้เกิดความฝืดและสามารถชะลอหรือหยุดรถได้ โดยอาศัยหน้าสัมผัสผ้าเบรกเป็นตัวช่วยสร้างความฝืดที่จาน/ดรัมเบรกนั่นเอง

    ภาพจาก echanicalgoods.blogspot.com

    ภาพจาก echanicalgoods.blogspot.com

    ภาพจาก motorist.org
    อาการของเบรกรั่ว-ซึม
    อาการเบรกรั่วซึมสังเกตได้โดย เมื่อวางเท้าบนแป้นเบรกและออกแรงกดหนักๆ หากพบว่าแป้นเบรกค่อยๆ จมลงเรื่อยๆ อย่างช้าๆ แสดงว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้น การรั่วซึมนั้น สามารถแบ่งออกเป็นรั่วซึมภายนอก เช่น เกิดการรั่วตามท่อทางเดินน้ำมันเบรก, ข้อต่อต่างๆ ระหว่างอุปกรณ์ในระบบ และแม่ปั๊มตัวบนหรือล่างเกิดรั่วซึม อาการนี้มักส่งผลให้น้ำมันเบรกในกระปุกที่ใส่เอาไว้ลดต่ำลงหรือแห้งจนเกือบหมด ทำให้ไม่มีน้ำมันเบรกในระบบ 

    ระดับน้ำมันเบรกไม่ควรลดลงบ่อยเกินไป

    ระบบเบรกรั่วอาจเกิดจากสายเบรกบริเวณคาลิปเปอร์เบรกหน้า
    การรั่วภายในระบบ เช่น เกิดช่องว่างระหว่างผิวกระบอกแม่ปั๊มเบรกด้านบนกับลูกยางที่ทำหน้าที่ผลักน้ำมันเบรก ไม่สามารถดันน้ำมันฯ ไปในทิศทางกำหนดได้ และเกิดการรั่วย้อนกลับมาอีกฝั่งของลูกสูบเบรก ส่งผลให้น้ำมันไม่สามารถส่งแรงดันไปยังล้อได้นั่นเอง 

    แม้ระดับน้ำมันไม่ ลดอาการเบรกไม่อยู่อาจเกิดขึ้นได้จากการรั่วในกระบอกแม่ปั๊มตัวบน
    อาการรั่วอีกกรณีที่เรียกกันว่า "เบรกแตก" มักเกิดจากการรั่วออกของน้ำมันเบรกในปริมาณที่มากๆ จนกระบอกเก็บน้ำมันเบรกแห้งสนิทไม่มีน้ำมันอยู่ในระบบ ทำให้ไม่สามารถเบรกได้
    วิธีปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อเบรกไม่อยู่!
    หากเกิดอาการเหยียบเบรกแล้วจมหายไปหรือเบรกไม่อยู่ไม่ต้องตกใจครับ เพียงแค่ย้ำเบรกแรงๆ และถี่ๆ พร้อมกับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ให้ต่ำลงมา หากเป็นเกียร์อัตโนมัติก็เลือกตำแหน่ง 2, L หรือเกียร์ต่ำ เพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยลดความเร็ว หรือรถยนต์เกียร์ธรรมดาให้ใช้เกียร์ต่ำค่อยๆ ลดระดับลงเรื่อยๆ ซึ่งโดยปกตินั้นการรั่วของระบบเบรกมักรั่วภายในกระบอกแม่ปั๊มเบรกด้านบน จึงไม่สามารถสังเกตการลดต่ำลงของน้ำมันเบรกในกระบอกเก็บได้ แต่ใช้วิธี "ย้ำ" เบรกถี่เพื่อกระตุ้นให้ระบบพอทำงานได้และชะลอรถได้อย่างปลอดภัย เมื่อจอดรถได้ปลอดภัยแล้วรีบติดต่อศูนย์บริการใกล้ๆ นำรถเข้ารับบริการทันทีครับ 

    เบรกย้ำบ่อยๆ จนรู้สึกว่าแป้นเบรกเริ่มแข็งสู้เท้าขึ้นมา

    หากเกียร์เป็นโหมดบวก-ลบให้ใช้ตำแหน่ง "ลบ" ให้เกียร์ต่ำลง

    แป้นเกียร์แบบนี้ใส่ตำแหน่ง "M"

    เกียร์ธรรมดาให้เปลี่ยนตำแหน่งจังหวะต่ำลงมาตามความเร็วที่เหมาะสม
    เบรกรั่วซ่อมได้
    เมื่อตรวจสอบให้แน่ใจแล้วว่า สาเหตุเกิดจากอะไร สามารถซ่อมแซมได้ไม่ยากนัก และงบประมาณไม่สูง หากนำรถเข้าศูนย์บริการอาจคิดค่าบริการรายชั่วโมงเพิ่มเติมขึ้นมาบ้าง แต่นับว่าให้ความน่าเชื่อถือและมั่นใจในอะไหล่แท้ๆ ได้ ส่วนผู้ที่ซ่อมนอกศูนย์ แนะนำว่าควรเลือกร้านที่มีประสบการณ์ด้านระบบเบรกโดยตรงหรือมีความชำนาญสูง เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย 

    ภาพจาก seller.gasgoo.com
    ลักษณะการซ่อมระบบเบรก หากเกิดจากการรั่วภายในกระบอกแม่ปั๊มด้านบน สามารถซื้อชุดซ่อมมาเปลี่ยนได้ ประกอบด้วย ลูกยาง, สปริง, โอริง เป็นต้น ในกรณีที่ผิวของกระบอกเบรกด้านในยังมีสภาพดี ไม่มี "ตามด" หรือพื้นผิวที่ขรุขระ สามารถเปลี่ยนชุดซ่อมได้เลย แต่ถ้าหากผิวกระบอกเบรกด้านในมีร่องรอยมาก ควรเปลี่ยนทั้งกระบอกเพื่อให้ใช้งานได้ในระยะยาว โดยราคาชุดซ่อมนั้นขึ้นกับรุ่นรถและร้านจำหน่าย โดยมีราคาเฉลี่ยราวๆ 600 - 1,000 บาทขึ้นไป ส่วนอะไหล่กระบอกเบรกทั้งชุดอยู่ที่ราวๆ 3,000 บาทขึ้นไป (ศูนย์บริการมาตรฐานของค่ายรถยนต์มีค่าแรงเป็นรายชั่วโมงรวมเข้าไปด้วย) 

    ภาพจาก www.eurotruck-importers.com
    การดูแลรักษา
    การดูแลรักษาระบบเบรกรถยนต์นั้นทำได้ง่ายๆ เพียงหมั่นตรวจเช็คระดับน้ำมันเบรกที่อยู่ในกระบอกเก็บว่าลดระดับลงมากน้อยเพียงใด และระยะเวลาในการลดสั้นหรือยาว เช่น ตรวจเช็คทุกๆ 2 เดือนระดับไม่ลด นับว่าปกติ แต่ถ้าตรวจเช็คทุกเดือนระดับน้ำมันเบรกในกระบอกเก็บลดลงต่ำบ่อยๆ อาจเกิดการรั่วซึมได้
    การดูระดับน้ำมันเบรกที่ลดระดับลงในบางกรณีนั้นอาจเกิดจากการใช้งานของผ้าเบรกที่สึกหรอและบางลงไปเรื่อยๆ น้ำมันเบรกจะถูกไหลเข้าไปแทนที่เนื้อผ้าเบรกที่บางลงไป จึงทำให้ระดับน้ำมันเบรกลดลงตามไปแทนที่กัน
    ดังนั้น เพื่อความแน่ใจให้ใช้วิธีเหยียบแป้นเบรกเต็มแรงค้างเอาไว้ และสังเกตดูว่าแป้นเบรกต้องไม่ขยับต่ำลง หากพบว่าขยับต่ำลงเรื่อยๆ และค่อยๆ จมจนติดพื้น แสดงว่าเกิดการรั่วและนำรถเข้าตรวจเช็คต่อไป ขั้นตอนนี้ควรติดเครื่องยนต์เอาไว้ด้วยนะครับ
    อาการผิดปกติต่างๆ เกี่ยวกับเบรก เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์มีโอกาสต้องพบในรถคันเก่งของคุณเมื่อใช้งานมาเป็นเวลานาน ซึ่งบางครั้งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าระบบเบรกจะรั่วเมื่อไหร่ แต่อย่างน้อยก็พอที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัย และที่สำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด "ต้องมีสติและไม่ตื่นตระหนก" นะครับ
    • สินธนุ จำปีศรี
    • สินธนุ จำปีศรี
      Car GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)