ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • "ดัดแปลงสภาพรถ" แบบไหนผิด แบบไหนถูก มาดูกัน

    12 ต.ค. 59 98,800

    "ดัดแปลงสภาพรถ" แบบไหนผิด แบบไหนถูก มาดูกัน

    กลายเป็นประเด็นใหญ่ สำหรับผู้ใช้รถยนต์กระบะที่บรรทุกของและดัดแปลงสภาพช่วงล่างรถยนต์กระบะด้วยการเสริมแหนบ จนมีคลิปโด่งดังในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ค รวมถึงผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปที่ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ กับตัวรถ เช่น แร็คจักรยาน บันไดข้าง หรือ โครงหลังคาเหล็กสำหรับรถกระบะ จนถูกร้องเรียนจากการถูกจับกุมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกันมากมาย วันนี้เช็คราคา.คอม มีคำตอบมาให้ครับว่า กรณีติดตั้ง ดัดแปลง และเสริมอุปกรณ์ต่างๆ นั้น แบบไหนถูก แบบไหนผิด และต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องมาดูกันเลย

    ดัดแปลงสภาพรถแบบไหนถูก แบบไหนผิด ?

    เนื่องจากผู้ใช้รถมีความเดือดร้อนจากการถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมในข้อหาดัดแปลงสภาพรถ ทั้งการดัดแปลงช่วงล่าง โครงหลังคาในรถปิคอัพ หรือส่วนต่างๆ ของรถยนต์ และได้ร้องเรียนไปยังสื่อต่างๆ  ทางกรมการขนส่งทางบกจึงได้มีหนังสือชี้แจงไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องถึงการดัดแปลงสภาพรถยนต์ว่าอย่างไรผิด อย่างไรถูก เช่น การดัดแปลงสภาพรถยนต์ที่ต้องแจ้งต่อกรมขนส่ง โดยมีเนื้อหาสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การดัดแปลงแก้ไขสภาพรถยนต์ ที่ "ต้องแจ้ง" กับ "ไม่ต้องแจ้ง" ต่อนายทะเบียน 
    1. การแก้ไขดัดแปลงสภาพรถที่ "ต้องแจ้ง" ขออนุญาตต่อนายทะเบียน เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวรถ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ เจ้าของรถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อแก้ไขรายการในเอกสารใบคู่มือจดทะเบียนให้ถูกต้องก่อนนำรถไปใช้งาน ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนเครื่องยนต์, สีรถ, การติดตั้งโครงหลังคา หรือโครงเหล็กด้านในรถ, ฝาปิดด้านท้ายติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงยกสิ่งของ, หรือการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง รวมทั้งการแก้ไขเปลี่ยนตัวถังรถ ระบบรองรับน้ำหนัก ระบบกันสะเทือน ระบบบังคับเลี้ยว และระบบขับเคลื่อน เป็นต้น
    จากข้อความข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การดัดแปลงรถใดๆ ที่อยู่ในข้อ 1 หากไม่มีการแจ้งแก้ไขต่อกรมการขนส่งนับว่า "ผิด" 
    2. การแก้ไขดัดแปลงรถที่ "ไม่ต้องแจ้ง" ขออนุญาตนั้น ได้แก่ การติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งรถหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง เช่น แร็คหลังคา, โรลบาร์, บันไดขึ้น-ลงรถ, สปอยเลอร์, แม็กไลน์เนอร์, กันชน, อุปกรณ์ขนจักรยาน, และจุ๊บไขลาน เป็นต้น เนื่องจากเป็นการเสริมเพียงเล็กน้อยไม่ทำให้สภาพรถเปลี่ยนไป หากขนาดและตำแหน่งที่ติดตั้งเหมาะสมมีความแข็งแรงมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น การดำเนินการดังกล่าวไม่ถือเป็นการดัดแปลงสภาพรถและไม่มีความผิดแต่ประการใด
    ดังนั้นหากใครที่มีการดัดแปลงรถยนต์ในลักษณะที่เข้าข่าย "ผิด" ก็ควรดำเนินการให้ถูกต้องเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน

    หนังสือชี้แจงจากกรมการขนส่งทางบกเกี่ยวกับการแก้ไขดัดแปลงสภาพรถ
    และการติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งรถ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ
    สรุปการดัดแปลงที่ต้องแจ้งขออนุญาต และไม่ต้องแจ้งขออนุญาต
    1. "ต้องแจ้ง" ขออนุญาตต่อนายทะเบียนก่อน ได้แก่
    • เปลี่ยนเครื่องยนต์
    • เปลี่ยนสี
    • ติดตั้งโครงหลังคาหรือโครงเหล็กด้านข้างรถ
    • ฝาปิดด้านท้ายติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงยกสิ่งของ
    • เปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง
    • แก้ไขดัดแปลงตัวถังรถ
    • ระบบรองรับน้ำหนัก
    • ระบบกันสะเทือน
    • ระบบบังคับเลี้ยว
    • ระบบขับเคลื่อน
    2. "ไม่ต้องแจ้ง" ขออนุญาตต่อนายทะเบียน ได้แก่
    • แร็คหลังคา
    • โรลบาร์ 
    • บันไดขึ้น-ลงห้องโดยสาร 
    • สปอยเลอร์ 
    • แม็กไลน์เนอร์ 
    • กันชน 
    • อุปกรณ์ขนจักรยาน จุ๊บไขลาน
    ในกรณีที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียน หลักฐานในการแจ้งมีอะไรบ้าง?
    ในกรณีที่ต้องแจ้งดัดแปลงสภาพรถต่อนายทะเบียนต้องใช้เอกสารต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
    • คู่มือจดทะเบียนรถยนต์
    • ใบมอบอำนาจพร้อมบัตรประชาชนตัวจริง กรณีไม่มายื่นด้วยตนเอง
    • กรณีเปลี่ยนสีต้องมีหลักฐาน เช่น ใบเสร็จค่าจ้าง หรือใบยืนยันทำสีด้วยตนเอง
    • กรณีเปลี่ยนเครื่องยนต์ต้องมีหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์ หนังสือแจ้งจำหน่าย ใบเสร็จ หนังสือซื้อขายหรือหลักฐานการยกเครื่องยนต์ให้ เป็นต้น

    การติดตั้งโครงหลังเหล็ก จำเป็นต้องแจ้งหรือไม่?

    ในส่วนของการต่อเติมโครงหลังเหล็กสำหรับรถยนต์กระบะ นับเป็นการดัดแปลงที่เข้าข่ายต้องแจ้งขออนุญาตต่อนายทะเบียนก่อน หากไม่ดำเนินการแจ้งเอาไว้จะมีความผิด ถูกปรับถึง 2,000 บาท ซึ่งจากบันทึกข้อความกรมการขนส่งทางบกได้ชี้แจ้งไว้ดังนี้
    การนำรถกระบะบรรทุก (ไม่มีหลังคา) ไปติดตั้งหลังคาหรือโครงเหล็กมีฝาปิดด้านข้างและท้าย หรือเสริมกระบะข้าง หรือแก้ไขดัดแปลงเป็นรถตู้บรรทุกโดยมิได้แจ้งต่อนายทะเบียน ถือเป็นความผิดฐานดัดแปลงสภาพรถให้ผิดไปจากลักษณะของรถที่จดทะเบีนนไว้ ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เจ้าของรถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อแก้ไขลักษณะรถในเอกสารคู่มือจดทะเบียนให้ถูกต้องก่อน จึงนำไปใช้งานได้ โดยนำรถไปตรวจสภาพพร้อมแนบหลักฐานดังต่อไปนี้
    • คู่มือจดทะเบียน 
    • หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองการจดทะเบียน (กรณีนิติบุคคล)
    • หลักฐานการได้มาของอุปกรณ์ที่ดัดแปลงรถ (ใบเสร็จ)
    • หนังสือมอบอำนาจ หากไม่มาด้วยตัวเอง 
    สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งหรืออุปกณ์อำนวยความสะดวก แร็คหลังคา โรลบาร์ บันไดขึ้น-ลงห้องโดยสาร สปอยเลอร์ แม็กซ์ไลน์เนอร์ หรือกันชน เป็นต้น เป็นการเสริมอุปกรณ์เพียงเล็กน้อย  ไม่ทำให้สภาพของรถเปลี่ยนแปลงไป หากการติดตั้งมีความมั่นคงแข็งปลอดภัยในการใช้งานและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่ายกายและจิดใจของผู้อื่น การดำเนินการดังกล่าวไม่ถือเป็นการดัดแปลงสภาพรถและไม่มีความผิดตามกฏหมายแต่ประการได้
    การดัดแปลงสภาพรถยนต์นั้น มีทั้งที่ต้องแจ้ง และไม่ต้องแจ้ง ผู้ใช้รถยนต์ควรศึกษาให้ดีและครบถ้วน เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช่รถใช้ถนนด้วยกัน และไม่ต้องกังวลเรื่องจะถูกจับอีกด้วย
    • กองบรรณาธิการ เช็คราคา.คอม
    • กองบรรณาธิการ เช็คราคา.คอม
      Car GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)