ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • น้ำใจ VS มารยาท VS กติกา แบบไหนดี?

    12 ม.ค. 59 6,473

    น้ำใจ VS มารยาท VS กติกา แบบไหนดี?

    การใช้รถใช้ถนนมักมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ ในบางครั้งเราอาจเป็นได้ทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิด การขับรถบนท้องถนนต้องเคารพกฎ กติกา มารยาทต่างๆ เช่น การมีน้ำใจให้รถคัน มีมารยาทในการขับ ไม่ปาดซ้ายขวา ไม่ขับรถเอาเปรียบผู้อื่น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน ไม่เกิดอุบัติเหตุ
    ในการขับรถ เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยเจอเหตุการณ์ รถพุ่งออกมาจากซอย ขับตัดหน้า สมมติว่ามีรถคันหนึ่งวิ่งมาบนถนนหลักซึ่งเป็นทางตรง (ทางเอก) ส่วนรถคันที่สองกำลังออกจากซอย (ทางโท) กรณี้มีความเป็นไปได้ 2 แบบ คือ
    สถานการณ์ที่ 1 รถในซอยหยุดรอ แม้จะยื่นหน้าออกมาเล็กน้อย และรอให้รถทางตรงผ่านไป จนกว่าจะแน่ใจว่าปลอดภัยจึงเลี้ยวออกจากซอย แบบนี้ถูกกติกา+กฎจราจร+มารยาท
    สถานการณ์ที่ 2 รถในซอยยื่นหน้าออกมา ไม่จอดสนิท พุ่งออกจากซอย รถทางตรงต้องเบรกเพื่อให้รถในซอยไปออกก่อน แบบนี้ผิดทั้งกติกา+มารยาท แถมยังทำให้หงุดหงิดใจ และอาจเกิดการกระทบกระทั่งกันได้อีก
    อย่างกรณีดังหลายๆ เหตุการณ์ที่เราเคยได้ยินกัน น้ำใจในการใช้รถใช้ถนนเป็นเรื่องสำคัญ บางทีเราก็ควรยอมเพื่อกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งกับตัวเรา คู่กรณี และผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ แต่ในขณะเดียวกัน การมีน้ำใจของเราเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุนั้น ก็อาจกลายเป็นช่องทางของคนบางกลุ่มเอาเปรียบได้เช่นกัน การหยุดให้คนข้ามถนน, ให้รถที่เปิดไฟเลี้ยวขอทางก่อนขับเข้ามาในเลน, การเว้นช่องทางเข้า-ออกสถานที่สำคัญๆ ก็นับว่าเป็นน้ำใจที่ควรมีให้กัน แต่ในบางกรณีการมีน้ำใจก็ต้องคำนึงถึงความถูกต้องและสมเหตุสมผล เพราะอาจเป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่ขับรถเอาเปรียบคนอื่นได้ใจ ด้วยการแซงไหล่ทางและไปแทรกข้างหน้าบ้าง, การแซงขึ้นหน้าและไปเบียดตามคอสะพานบ้าง หรือขับรถพุ่งออกจากจากซอยโดยไม่สนใจรถทางตรงที่กำลังขับผ่านมา สิ่งเหล่ามักเป็นตัวก่ออุบัติเหตุและอาจเกิดการทะเลาะวิวาทใหญ่โตถึงขั้นยิงกันก็เป็นได้
    "มารยาท" เป็นจิตสำนึกที่อยู่ในแต่ละบุคคลว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควรกระทำในการขับรถ เช่น เหตุการณ์จำลองในสถานการณ์ที่หนึ่งนั้น ผู้ขับรถออกจากซอยเป็นผู้มีมารยาทดีและเคารพกฎกติกา ดังนั้นเมื่อรู้ว่าขับรถอยู่ในทางโทก็ต้องให้ทางเอกหรือทางหลักไปก่อน เว้นแต่ว่ารถทางตรง (ทางเอก) "มีน้ำใจ" หยุดให้รถในซอยออกไปก่อน (หยุดเผื่อระยะให้รถที่ตามมาปลอดภัยด้วย) นั่นแสดงว่า ทั้งสองฝ่ายต่างมีมารยาท และมีน้ำใจ เพียงเท่านี้ก็ทำให้บรรยากาศบนท้องถนนเป็นไปด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย ยิ้มแย้มให้กัน และถ้ารวมกับการเคารพกฎจราจรกับกติกาด้วยแล้วล่ะก็ "สังคมจราจร" ยิ่งมีความปลอดภัยและมีบรรยากาศที่ดีต่อกัน ลดการกระทบกระทั่งลดอุบัติเหตุและลดการทะเลาะวิวาทลงได้มากมายมหาศาล

    "กติกา หรือ กฎหมายจราจร" นับว่าเป็นสิ่งที่ผู้ได้ใบขับขี่ทุกคนต้องผ่านการฝึกอบรมกว่าจะได้มา ดังนั้นย่อมต้องเข้าใจทั้งเรื่องการเคารพกฎ+กติกา+มารยาท+มีน้ำใจ 

    ทางเอก-ทางโทคืออะไร? ควรปฏิบัติอย่างไร?
    มาดูพรบ.จราจร กันว่าเมื่อขับรถมาเจอทางแยก ทางร่วมหรือถนนลักษณะต่างๆ เราจะดูอย่างไรว่า ทางไหนเป็น "ทางเอก" หรือ "ทางโท" และต้องปฏิบัติอย่างไร ขอยกตัวอย่างวรรคหนึ่งของ พรบ.จราจร ลักษณะที่ 6 การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียนมาให้อ่านกันครับ
    การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน
    มาตรา 71 ภายใต้บังคับมาตรา 21 และมาตรา 26 เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึงทางร่วมทางแยก ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติดังนี้
    (1) ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน
    (2) ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกันและไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนผ่านไปก่อน เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอกตัดผ่านทางเดินรถทางโท ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถ ในทางเอกมีสิทธิขับผ่านไปก่อน
    (3)(1) ถ้าสัญญาณจราจรไฟสีเขียวปรากฏข้างหน้า แต่ในทางร่วมทางแยกมีรถอื่นหยุดขวางอยู่จนไม่สามารถ ผ่านพ้นทางร่วมทางแยกไปได้ ผู้ขับขี่จะต้องหยุดรถที่หลังเส้นให้รถหยุดจนกว่าจะสามารถเคลื่อนรถผ่านพ้นทางร่วมทางแยกไปได้
    มาตรา 72(2) ทางเดินรถทางเอกได้แก่ทางเดินรถดังต่อไปนี้
    (1) ทางเดินรถที่ได้ติดตั้งเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นทางเดินรถทางเอก
    (2) ทางเดินรถที่มีป้ายหยุดหรือป้ายที่มีคำว่า ให้ทาง ติดตั้งไว้ หรือทางเดินรถที่มีคำว่าหยุดหรือเส้นหยุดซึ่งเป็น เส้นขาวทึบหรือเส้นให้ทางซึ่งเป็นเส้นขาวประบนผิวทาง ให้ทางเดินรถที่ขวางข้างหน้าเป็นทางเดินรถทางเอก
    (3) ในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายจราจรตาม (1) หรือไม่มีป้ายหรือเส้นหรือข้อความบนผิวทางตาม (2) ให้ทางเดิน รถที่มีช่องเดินรถมากกว่าเป็นทางเดินรถทางเอก
    (4) ถนนที่ตัดหรือบรรจบกับตรอกหรือซอย ให้ทางเดินรถที่เป็นถนนเป็นทางเดินรถทางเอก ทางเดินรถอื่นที่มิใช่ทางเดินรถทางเอกตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นทางเดินรถทางโท
    มาตรา 73 ในกรณีที่วงเวียนใดได้ติดตั้งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม สัญญาณ-จราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้นถ้าไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึงวงเวียน ต้องให้สิทธิแก่ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของตนขับผ่านไปก่อน ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรจะให้สัญญาณจราจรเป็นอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณ จราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้
    มาตรา 74 ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถออกจากทางส่วนบุคคลหรือทางเดินรถในบริเวณอาคาร เมื่อจะขับรถผ่านหรือเลี้ยวสู่ทางเดินรถที่ตัดผ่านต้องหยุดรถเพื่อให้รถที่กำลังผ่านทางหรือรถที่กำลังแล่นอยู่ในทางเดินรถผ่านไปก่อนเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถต่อไปได้
    มาช่วยกันทำให้ "สังคมจราจรไทย" น่าอยู่เถอะครับ ดีกว่าต้องให้ใช้มาตรการเด็ดขาดทางกฏหมายมาบังคับ เพราะเราไม่ใช่ศัตรูบนท้องถนน เราเป็นคนไทยด้วยกัน... ด้วยความปรารถนาดีจาก เช็คราคา.คอม 

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)