ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • วิธีแก้ปวดหลังขณะขับรถ

    12 ก.ย. 57 32,655

    วิธีแก้ปวดหลังขณะขับรถ

    ปัจจุบันสภาพการจราจรในประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพฯ หนาแน่นมากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการเดินทางนานขึ้น แม้จะเป็นระยะทางเพียงไม่กี่กิโลเมตร แต่อาจใช้เวลาเป็นชั่วโมงได้ หรือในบางครั้งที่เราเดินทางระยะทางไกลๆ อาจต้องนั่งขับรถในท่าเดิมเป็นเวลานาน ส่งผลให้มีอาการเจ็บหรือปวดหลัง และอาการจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการป้องกันหรือดูแลท่าทางการนั่งขับรถที่ถูกวิธี

    การนั่งขับรถต่างกับการนั่งเก้าอี้ธรรมดาอย่างไร

    ถ้ารถที่ท่านขับอยู่นิ่ง การขับรถไม่ได้ต่างจากการนั่งเก้าอี้ธรรมดา แต่ขณะที่รถมีการเคลื่อนที่จะมีแรงกระทำต่อร่างกายในหลายทิศทาง ได้แก่ ความเร่งจากการเคลื่อนที่ ความเฉื่อยจากการลดความเร็ว แรงเหวี่ยงจากการเลี้ยว และแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์และความขรุขระของถนน ซึ่งขณะขับรถจำเป็นต้องใช้เท้าเพื่อบังคับรถ ดังนั้น การใช้ขาเพื่อช่วยในการทรงท่าเหมือนการนั่งเก้าอี้ธรรมดาจึงเป็นไปได้ยากในขณะขับรถ คล้ายกับการนั่งเก้าอี้ที่สูงเท้าไม่ถึงพื้นจะรู้สึกว่าทรงตัวได้ยาก กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานตลอดเวลาแ ละมีอาการปวดหลังได้ง่ายกว่าการนั่งแบบเท้าถึงพื้น

    ขับรถนานเท่าไร เสี่ยงต่ออาการปวด

    จากการศึกษาในชายที่มีปัญหาปวดหลัง พบว่าการขับรถเป็นระยะเวลานานมีความสัมพันธ์อาการปวดหลัง ยิ่งถ้าขับรถเป็นระยะเวลานานขึ้นจะมีอาการปวดหลังมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องขับรถนานกว่า ๔ ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น จึงมักพบอาการปวดหลังได้บ่อยในพนักงานชายที่ต้องอยู่บนถนนตลอดเวลา และในคนขับรถบริการสาธารณะ

    ท่าทางในการขับรถกับความเสี่ยงของอาการปวด

    การนั่งนานเป็นสาเหตุให้ปวดหลังได้ แม้ว่าจะนั่งให้ถูกท่าทางอย่างไร เพราะส่วนโค้งของหลังส่วนเอวจะโค้งกลับทิศขณะนั่ง (Reverse Lordosis) ซ้ำร้ายการขับรถจะบังคับให้ผู้ขับขี่ให้ความสนใจและมีสมาธิกับการขับรถโดยมักไม่สนใจที่จะเปลี่ยนท่าทาง ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่างๆ อยู่ในท่าเดิมนานจนเกิดปัญหาอาการปวดของข้อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทจากการทรงท่าที่อยู่นิ่งนานเกินไป (Prolonged Static Posture) 

    ทำอย่างไรจึงขับปลอดภัยและไม่ปวดหลัง

    วิธีการที่ดีที่สุดคือต้องปรับที่นั่งให้เข้ากับตัวผู้ขับขี่ แต่การปรับต้องคำนึงถึงการมองเห็นของผู้ขับขี่ด้วย ไม่ใช่ที่นั่งถูกหลักการยศาสตร์ แต่การมองเห็นไม่ดี
    การปรับที่นั่ง
    1. เริ่มด้วยการปรับที่นั่ง และพวงมาลัยให้ไปสู่จุดเริ่มต้นก่อน
    2. หลังจากนั้นจึงปรับพวงมาลัย ยกขึ้นให้สุด และดันไปด้านหน้าให้สุด
    3. ปรับที่นั่งให้ต่ำที่สุด
    4. ปรับที่นั่งให้ด้านหน้าเทลงไปให้สุด
    5. ปรับพนักพิงให้เอียงไปทางด้านหลังประมาณ ๓๐ องศาจากแนวดิ่ง
    6. ปรับส่วนรองรับหลัง (Lumbar Support) ไปทางด้านหลังให้มากที่สุด
    7. ดันที่นั่งให้ไปด้านหลังให้สุด
    ตามด้วยการปรับที่นั่งให้เข้ากับตัวผู้ขับขี่โดยมีขั้นตอนตามลำดับต่อไปนี้
    1. ยกที่นั่งขึ้นจนมองเห็นได้รอบ
      - ที่นั่งไม่ควรสูงเกินไปจนศีรษะชิดกับหลังคารถด้านใน
      - ต้องแน่ใจว่ามองเห็นได้อย่างเต็มที่
    2. เลื่อนเก้าอี้มาทางด้านหน้าจนเท้าสามารถควบคุมคันเร่ง เบรก และ คลัตช์ ได้สะดวก
      - อาจปรับความสูงที่นั่งได้อีกเล็กน้อยเพื่อให้ใช้เท้าบังคับ คันเร่ง เบรก และ คลัตช์ ได้ดีขึ้น
    3. ปรับความลาดเอียงของที่นั่งจนต้นขาสัมผัสกับที่นั่งทั้งหมด
      - ต้องระวังไม่ให้มีแรงกดที่ด้านหลังของเข่ามากไป
    4. ปรับพนักพิงให้พิงได้จนถึงระดับไหล่
      - ไม่ควรเอนเก้าอี้ไปทางด้านหลังมากเกินไป เพราะทำให้ไม่ได้พิงหลัง เพราะการมองเห็นจะมีปัญหาถ้าเอนหลังไปพิงพนัก ผู้ขับขี่มักจะอยู่ในท่าก้มคอเพื่อให้มองเห็นได้ดีขึ้น
    5. ปรับส่วนรองรับโค้งของหลังให้รู้สึกว่ามีแรงกดเท่ากันตลอดของหลังส่วนล่าง
      - ถ้าไม่มีส่วนนี้อาจใช้หมอนเล็กหนุนหลังส่วนล่างแทนได้
    6. ปรับพวงมาลัยให้เข้ามาใกล้ตัว และดันลงให้อยู่ในระยะที่จับได้สะดวก
      - ต้องมีช่องว่างให้ยกขาท่อนบนได้บ้างขณะใช้เท้าบังคับรถ และขณะลุกออกจากที่นั่ง
      - ตรวจดูว่าพวงมาลัยไม่บังหน้าปัด
    7. ปรับพนักพิงศีรษะให้สูงเท่าระดับศีรษะ
      - พนักพิงศีรษะมีจุดประสงค์หลักเพื่อไม่ให้คอสะบัดอย่างรุนแรง (Whiplash Injury) ขณะเกิดอุบัติเหตุ 
    ทำซ้ำลำดับ 1-7 อีกครั้ง ถ้ารถของท่านปรับไม่ได้  อย่างน้อยควรหาหมอนมาหนุนหลังส่วนล่าง เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง
    การพักและการบริหารร่างกาย
    ควรพักทุก 2 ชั่วโมง โดยการลุกออกจากที่นั่งมาบริหารร่างกายด้วยการยืนแอ่นหลัง 10 วินาที 2-3 ครั้ง และเดินไปมาประมาณ 5 นาที ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในที่นั่งเกิน 2 ชั่วโมง พยายามแอ่นหลังบ่อยๆ ในขณะนั่งขับรถ การขับรถใช้พลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับงานอื่นๆ  จึงควรออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งอย่างต่อเนื่องที่ทำให้เหนื่อยปานกลางอย่างน้อย 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์

    การนั่งขับรถที่ถูกวิธีนั้นอาจเป็นเพียงการช่วยให้คลายการตึงของกล้ามเนื้อบริเวณหลังและส่วนอื่นที่ใช้งานขณะนั่งขับรถเป็นเวลานานๆ เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ การจอดพักเพื่อยืดเส้นยืดสายให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย อย่าคิดว่าจะต้องขับยาวๆ ให้ถึงที่หมายเร็วที่สุด โดยไม่จอดแวะพักเพราะกลัวว่าจะถึงช้ากว่าที่กำหนด หรือบางคนอาจชอบทำเวลาในการเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ให้น้อยที่สุดเพื่อจะได้เอาไปคุยว่า "ฉันขับไปจังหวัดนั้นใช้เวลาแค่นี้เอง" แต่ผลกระทบนอกจากเรื่องการปวดเมื่อยแล้ว ร่างกายอาจเหนื่อยล้าเนื่องจากไม่ได้พักจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงตามมาได้นะครับ ด้วยความห่วงใยจาก เช็คราคา.คอม

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)