ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที
กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

  • รถยนต์
  • รถยนต์
  • ค้นหาแบบละเอียด
  • ขับรถหน้าฝนไม่กล้ว กลัวหน้า (ยาง) เสีย...

    20 ก.ค. 64 358

    ขับรถหน้าฝนไม่กล้ว กลัวหน้า (ยาง) เสีย...

    "การขับรถหน้าฝน" หรือ "ขับรถเมื่อฝนตก" คนที่ใช้รถยนต์จำเป็นต้องรู้และระวังในการขับรถหน้าฝนเป็นปกติและนับเป็นพื้นฐานของความปลอดภัยในการขับรถอยู่แล้ว ข้อควรระวังต่าง ๆ ในการขับรถหน้าฝนอย่างเช่น ถนนลื่นขับช้า ไม่เปิดไฟฉุกเฉินเวลาฝนตกหนัก ไม่ขับเร็วลุยน้ำยางจะเหินน้ำรถเสียหลัก การเปลี่ยนใบปัดน้ำฝน เหล่านี้น่าจะมีความใส่ใจกันอยู่แล้ว 
    ในทางปฎิบัตินับว่าเข้าใจ แต่อาจลืมในเรื่องของอุปกรณ์บางอย่างที่สำคัญมากที่สุดนั่นคือ "ยางรถยนต์" หรือการตรวจสอบสภาพยางว่ายังมีคุณสมบัติใช้งานได้ดีหรือไม่ 
    ปกติแล้วยางรถยนต์มีอายุการใช้งานแบบเซฟฯ สุด ๆ ในลักษณะสภาพอากาศแบบประเทศไทยราว ๆ 2 - 3 ปี ไม่ควรเกินนี้ เพราะอากาศเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน พื้นถนนขณะโดยแดดนั้นมีอุณหภูมิสูงมาก บางทีก็เจอฝนตกหรือ "น้ำรอระบาย" อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว วนหลูบไปเรื่อย ๆ ตลอด ยังไม่ร่วมการจอดนาน การเบียด ปาดขอบถนน ตกหลุมดวงจันทร์ กระแทกฝาท่อระบายน้ำและแผ่นเหล็กปิดของการประปากับก่อสร้างรถไฟฟ้า ที่เป็นสิ่งคอยทำร้ายรถยนต์ทั้งช่วงล่าง ยาง และเงินในกระเป๋าที่ต้องควักมาจ่ายค่าซ่อม!
    เจ้าของรถจึงควรเช็คสภาพยางในละเอียดก่อนออกจากบ้านทุกครั้งว่า ลมยางอ่อนไม่เท่ากันและยางแบนหรือไม่ก่อนขับรถออกไป หรือว่าอย่างน้อย ๆ เดินวนรอบก่อนขึ้นรถ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ก็ยังดีครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ควรจะดูควบคู่กันไปด้วยคือ วันเดือนปีผลิต สภาพดอกยาง ลักษณะการใช้งาน และระยะเวลาที่ใช้งานมาแล้ว มาดูวิธีการตรวจเช็คกันเลยครับ

    วันเดือนปีผลิต

    ก่อนอื่นเลยกลับไปเรื่องการเลือกยางสั้น ๆ กันก่อนครับ ยางรถยนต์ไม่ว่าจะผลิตปีใดขอให้เป็นยางใหม่เอาไว้ก่อน และให้นับอายุการใช้เมื่อยางแตะลงพื้นวันแรกตามการรับประกันของผู้ผลิตยางไปเลยครับ เช่น ตัวปีผลิตเลขที่ยางคือ 2420 ยางผลิตเมื่อสัปดาห์ที่ 24 ปี 2020 อายุ 1 ปี แต่เมื่อแตะลงพื้นครั้งแรกในนับเริ่มต้นใหม่ เพราะยางเก่าแต่ปีใหม่ ถ้ามีการจัดเก็บอย่างดีตามมาตรฐานผู้ผลิตแล้ว จะคงสภาพเอาไว้ได้ดี เนื้อยางนิ่มเล็บจิกแล้วจม ถือว่าใช้ได้ครับ และราคายังต่ำกว่ายางปีใหม่ ๆ ด้วยประหยัดเงินได้เยอะ และถ้าใครงบเยอะก็จัดยางปีล่าสุดไปเลยครับสบายใจหายห่วง
    ส่วนการเลือกใช้ "ยางเปอร์เซ็นต์" หรือยางเกาใช้แล้วความจริงไม่แนะนำครับหากพอจ่ายไหวไปให้ที่ยางใหม่เลย แต่กรณีที่ไม่ไหวจริง ๆ ยางก็พังต้องเปลี่ยนงบก็มีจำกัดยางเปอร์เซ็นต์นับว่าพอใช้ได้ โดยมีข้อควรระวังคือ ปีผลิตต้องไม่ลึกมาก เช่น ปีที่ทำบทความนี้ 2021 ยางเปอร์เซ็นต์ไม่ควรต่ำลงไปเกิน 1 - 2 ปี ครับ เพื่อความชัวร์ของสภาพกับโครงสร้างยาง นอกจากนี้ยังต้องดูการรักประกันจากผู้ผลิต สภาพดอกยาง แก้ม ยาง ต้องไม่มีการปะ รั่วซึมมาก่อนอีกด้วย ทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ คือ ให้หายางถอดจากรถป้ายแดงหรือยางยี่ห้อที่ราคาไม่สูงนัก ซึ่งต้องเข้าใจว่ายางมือสองหรือเปอร์เซ็นต์ ย่อมมีสภาพไม่สวยและดีเท่ายางใหม่แน่นอนครับ แต่ใช้แก้ขัดได้ดีกว่ายางเดิมที่หมดสภาพแล้ว  

    สภาพดอกยาง

    หากว่าใช้งานยางมาแล้วเกิน 2-3 ปี ในบางครั้งการดูผ่าน ๆ นั้นอาจยังเห็นว่ามียางดอกเต็ม และสึกหรอไม่มากนัก แต่ตัวเนื้อยางอาจจะแข็งหมดสภาพแล้ว หรือมีร่องรอยแตกลายงาหลบซ่อนอยู่ตามแก้มยาง ร่องดอกยาง หรือ ที่ดอกยาง ในบางจุดก็เป็นได้ เราจึงต้องตรวจละเอียดมากขึ้น เพราะถ้าเนื้อสัมผัสยางเริ่มแข็ง เมื่อเจอน้ำจะลื่นเป็นพิเศษเลย
    นอกจากนี้ยังช่วยตรวจดูว่ายางถูกตะปูตำมาหรือไม่ หรือแก้มยางหน้ายางบวมหรือไม่อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตุได้จากลมยางอ่อนต้องคอยเติมบ่อย ๆ ในเวลาขับพวงมาลัยสั่นหรือยางมีเสียงหอน และเมื่อขับผ่านเส้นแบ่งถนนมีอาการ "เลื่อย" ซึ่งเป็นผลจากสภาพยางและอาจลามไปถึงระบบช่างล่างด้วยครับ เช็คที่เดียวครบเลย

    ลักษณะการใช้งานในชีวิตประจำวัน

    การใช้งานในแต่ละวัน วิ่งวันละกี่กิโลเมตร? สภาพถนนที่ใช้ดีหรือแย่ระดับไหน? ทางเรียบทางลูกรังหรือผสมกันไป และในการขับขี่แต่ละวันนั้นได้ผ่านหลุดบ่อ ฝาท่อ มากแค่ไหน? ทั้งหมดนี้เป็นการประเมินสภาพยางได้อย่างดี รวมถึงขนาดความสูงแก้มยาง ขนาดล้ออัลลอยที่ใช้อยู่ด้วยครับ หากใช้ยางแก้มเตี้ยและต้องขับขี่ผ่านสภาพถนนแย่มาก ๆ ตกหลุดบ่อยหรือทับฝาท่อแรง ๆ หรือปีกฟุตบาท ย่อมมีโอกาสทำให้โครงสร้างของยางเสื่อมสภาพเร็วขึ้นด้วยครับ
    และในบางคันอย่างรถกระบะหรือรถ SUV ที่ใช้ยาง Off-road นั้น บางครั้งตัวดอกยางขนาดใหญ่และอาจไม่มีการสึกหรอเลย แถมเวลาวิ่งมีเสียงหอนดังเป็นปกติ ความจริงแล้วหากผ่านอายุและการใช้งานมานาน ๆ ก็อาจมีจุดที่เสื่อมสภาพอยู่โดยดูที่ร่องดอกยางขอบหรือแก้มยาง และที่รอบ ๆ ฐานของตัวดอกยางแต่ละบังว่ามีรอยแตกร้าวหรือลายงาหรือไม่ด้วยครับ แม้ว่าดอกจะเหลือเยอะ แต่ถ้าผ่านอายุใช้งานมานานแล้วก็มีโอกาสเสื่อมสภาพดอกยางแข็งและอาจลื่นไม่เกาะถนนทั้งทางแห้งและเปียกนับว่าอัตรายมากเวลาต้องเบรกอย่างกระทันหันครับ  

    ระยเวลาที่ผ่านการใช้งาน

    อย่างข้อความข้างต้น อายุยางมีส่วนสำคัญเมื่อยางแตะลงพื้นเป็นหลัก เพื่อให้นับอายุได้อย่างง่ายขึ้นครับ เพราะไม่ว่ายางจะผลิตปีเก่าหรือใหม่แค่ไหน (เก่าย้อนไปไม่เกิน 2 ปี) และถูกเก็บรักษาอย่างถูกวิธี ยางนั้นยังคงสภาพเดิมได้ตลอด จึงให้นับในวันที่เริ่มลงพื้นใช้งานทีเดียวเลยครับ
    ส่วนกรณีที่จอดมากกว่าขับให้นับอายุตามที่ยางลงพื้น ดูวันผลิต และระยะเวลาที่ใช้งานมาประกอบกัน พร้อมกับตรวจสภาพยางให้ละเอียดเพื่อหาจุดเสื่อมสภาพไปด้วย

    สรุป

    ยางที่ใช้งานหากมีอายุเกินกว่า 2 - 3 ปีควรเริ่มเช็คสภาพอย่างละเอียดมากขึ้น บางคันใช้งานหนักวิ่งแค่ปีกว่าดอกสึกหรอหมดก็มี หรืออาจเจอยางต่ำกว่ามาตรฐานมีการบวมหรือฉีดของเนื้อยาง "จึงไม่สำคัญว่าใช้นานแค่ไหน แต่สำคัญที่ใช้หนักแค่ไหน"
    เลือกยางใหม่เป็นหลักก่อน การเลือกปีผลิตเก่าลงมาไม่เกิน 2 ปี ใช้งานได้ปกติ ถ้ามีงบถึงเลือกปีใหม่เอาไว้ก่อน ส่วนยางใหม่ปีเก่ามาก ๆ หากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงครับ
    สำหรับผู้ที่งบน้อยมากจริง ๆ ให้เลือกดูยางเก่าใช้แล้ว ยางเปอร์เซ็นต์หรือมือสอง ต้องแน่ใจว่าสภาพสมบูรณ์ แค่ถอดออกเพื่อขาย ไม่เคยแตก ตำ ปะ บวมหรือแตกลายงา เนื้อยางต้องมีความนุ่มอยู่ ดอกยางไม่สึกจนต่ำกว่าสะพานยาง (ตัวบอกความสึกดอกยางในร่องยาง) หรือควรเหลือเกิน 5 มม. ขึ้นไป ยิ่งเป็นยาถอดรถป้ายแดงสภาพดียิ่งน่าใช้ และปีต้องไม่เก่าเกินไปครับ     
    สุดท้ายเลือกให้ตรงกับการใช้งาน ตรงกับลักษณะรถ และหมั่นตรวจตรวจลมยางสม่ำเสมอ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยครับ  

    แท็กที่เกี่ยวข้อง :

    • สินธนุ จำปีศรี
    • สินธนุ จำปีศรี
      Car GURU Thailand

    บทความล่าสุดอื่นๆ

    สนใจทดลองขับ

เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)